Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (21ส.ค.61) ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในสถานกรณ์วิกฤติ สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ว่า ช่วงวันที่ 21-23 ส.ค. 61 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลง ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนวันที่ 24-26 ส.ค. 61 ตอนเหนือของประเทศไทยจะมีร่องมรสุมพาดผ่านประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นทำให้มีฝนมากขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ขณะที่ แม่น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีระดับน้ำน้อย ภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำเพชรบุรีที่ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำที่ล้นอาคารระบายน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยมตอนล่างบริเวณสุโขทัย ที่ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง ระดับน้ำสูงขึ้นจากฝนตกหนักในลาวและแนวโน้มระดับน้ำสูงเพิ่มขึ้น โดยล้นตลิ่งที่ จ.หนองคาย และต้องเฝ้าระวังบริเวณ จ.นครพนม และจ.อุบลราชธานี

สถานการณ์ฝน

  • 21 ส.ค. 61 ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ภาคตะวันออก จันทบุรี ตราด ภาคใต้ ระนอง กระบี่ ตรัง และ สตูล
  • 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (05.00 น.) ประเทศไทยยังคงมีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ (น่าน 50.5 มม.) ภาคกลาง (นครสวรรค์ 93.5 มม. สระบุรี 62.5 มม. กำแพงเพชร 41.2 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี 63.0 มม.) ภาคตะวันตก (ประจวบคีรีขันธ์ 66.5 มม.) ภาคตะวันออก (จันทบุรี 0 มม. นครนายก 50.8 มม. สระแก้ว 36.6 มม. ปราจีนบุรี 35.6 มม.) และ ภาคใต้ (สงขลา 51.0 มม. สตูล 39.8 มม.)

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 5 แห่ง ดังนี้

  1. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 777 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 776) คิดเป็น 109% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 1.44 ม. (เมื่อวาน 1.41) ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 25.61 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 30.64) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ24.36 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 22.46) ปริมาณการระบายน้ำยังคงสูงแต่มีแนวโน้มทรงตัว

สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี (06.00 น.) บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ล้นตลิ่ง 0.22 ม. และที่ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 0.05 ม. ทำให้พื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำในบริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

การบริหารจัดการน้ำ ต้องเร่งระบายน้ำผ่านระบบชลประทานและแม่น้ำเพชรบุรี โดยประสานจังหวัดและพื้นที่เพื่อแจ้งเตือน

การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ศูนย์ฯ ได้ออกประกาศฉบับที่ 7/2561 (19 ส.ค.61) ให้เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำตั้งแต่ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง และอ.บ้านลาด แนวโน้มน้ำจะล้นตลิ่งที่อำเภอเมืองเพชรบุรีในวันนี้

  1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 527 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 528) คิดเป็น 101% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 4.37 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 3.55) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 5.23 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 5.28)

สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

การบริหารจัดการน้ำ ต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่

การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ และนครพนม

  1. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./20ส.ค.61/กฟผ.) มีปริมาณน้ำ 8,014 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7,984) คิดเป็น 90% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 72.18 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 86.84) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 42.00 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 42.10)

สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ กระทบพื้นที่รีสอร์ทที่สร้างอยู่ในแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี แต่ยังไม่ล้นตลิ่ง

การบริหารจัดการน้ำ 23-27 ส.ค. 61 มีแผนการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 53 ล้าน ลบ.ม.

การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ

  1. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 194 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 194) คิดเป็น 86% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 7.37 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7.59) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 7.46 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 6.65) น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 0.60 ม. (เมื่อวาน 0.63 ม.)

การบริหารจัดการน้ำ ต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่

  1. เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 335 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 330) คิดเป็น 86%  ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 16.35 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 22.94) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 10.78 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 10.78)

การบริหารจัดการน้ำ มีแผนระบายลงแม่น้ำปราณบุรีเพิ่มขึ้น คาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีจะมีระดับสูงขึ้น ทั้งนี้จะค่อยๆเพิ่มอัตราการระบาย โดยติดตามดูผลกระทบท้ายน้ำเป็นระยะ

 

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่/กลางที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 3 แห่ง คือ

  1. เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี
  • สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./20ส.ค.61/กฟผ.) ปริมาณน้ำ 4,913 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4,903) คิดเป็น 87% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 35.67 (เมื่อวาน 36.87) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 25.15 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 19.68)
  • การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำเป็นวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่ 18 ส.ค. 61
  • การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ เพื่อปรับแผนการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด
  1. อ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี
  • สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (12.00 น./20ส.ค.61/พพ.) ปริมาณน้ำ 77 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101%  ปริมาณน้ำที่ระบาย 0.94 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำอยู่ที่ 205.10 ม.รทก.
  • การบริหารจัดการน้ำ เร่งระบายน้ำ
  • การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อการปรับเพิ่ม/ลดการระบาย
  1. เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
  • สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./20ส.ค.61/กฟผ.) ปริมาณน้ำ 15,752 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 15,709) คิดเป็น 89% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 68.04 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 85.42) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 24.31 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 21.90)
  • การบริหารจัดการน้ำ ระบายน้ำวันละ 22 ล้าน ลบ.ม. มีแนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้น อยู่ในช่วงเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อม หากระดับน้ำสูงถึงเกณฑ์ควบคุม จำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำโดยเปิด spillway ที่เขื่อนท่าทุ่งนา
  • การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำ

แม่น้ำสายสำคัญ

  • ภาคเหนือ มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก เกิดฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำน่าน แม่น้ำลาว และแม่น้ำยม
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีระดับน้ำน้อยถึงปานกลาง ไม่มีน้ำล้นตลิ่ง
  • ภาคตะวันตก มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
  • ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ไม่มีน้ำล้นตลิ่ง
  • ภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำตาปี จ.สุราษฏร์ธานี

แม่น้ำระหว่างประเทศ : แม่น้ำโขง ฝั่งประเทศไทยมีระดับน้ำสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำโขงในประเทศลาวเพิ่มขึ้นจากฝนตกหนัก และคาดการณ์ฝนในช่วงสัปดาห์นี้ จะมีปริมาณฝนตกสะสมทั้งในประเทศลาวและบริเวณจังหวัดชายแดนของประเทศไทยในปริมาณมาก ส่งผลให้ลำน้ำสาขาของไทยในบริเวณดังกล่าวกระทบต่อการไหลลงแม่น้ำโขง ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณ จ.หนองคาย และต้องเฝ้าระวัง จ.นครพนม และ จ.อุบลราชธานี

การติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่

  • อ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง : ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 51,393 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 72 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,010 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 58 รับน้ำได้อีก 22,047 ล้าน ลบ. ม.
  • น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม ( 14 – 20 ส.ค. 61) มีน้ำไหลเข้าอ่างฯขนาดใหญ่ รวมทั้งประเทศ 3,243.22 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น ภาคเหนือ 878.38 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 285.45 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 66.98 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 1,235.22 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 136.21 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 640.98 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนน้ำอูน (101% เท่าเดิม) เขื่อนแก่งกระจาน(109% เมื่อวาน 108%) ขนาดกลาง 13 แห่ง (เพิ่มขึ้น 2 แห่ง) ซึ่งอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) และภาคตะวันออก 4 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคใต้ 2 แห่ง
  • อ่างเฝ้าระวัง (80-100%) ขนาดใหญ่ 5 แห่ง เขื่อนศรีนครินทร์ (89% เมื่อวาน 88%) เขื่อนวชิราลงกรณ (90% เท่าเดิม)
  • เขื่อนรัชชประภา (87% เท่าเดิม) เขื่อนขุนด่านปราการชล (86% เท่าเดิม) เขื่อนปราณบุรี (86% เมื่อวาน 84%) ขนาดกลาง 62 แห่ง (ลดลง 4 แห่ง) แยกเป็น ภาคเหนือ 6 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคตะวันออก 7  แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคกลาง 2 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) และภาคใต้ 3 แห่ง (ลดลง 2 แห่ง)
  • พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม : แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี     ลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำอูน แม่น้ำแควน้อย เนื่องจากจะมีการระบายน้ำเพิ่มจากเขื่อนวชิราลงกรณและน้ำจากลำน้ำสาขามาสมทบเพิ่มขึ้น รวมทั้งแม่น้ำนครนายก ด้านท้ายเขื่อนขุนด่านปราการชล อ.เมือง จ.นครนายก
  • พื้นที่เฝ้าระวังจากการเร่งระบายน้ำ : อ่างขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนรัชชประภา เขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนน้ำอูน รวมถึงอ่างขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปริมาณน้ำเต็มความจุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน/อ่างได้ ต้องประสานแจ้งจังหวัด และหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ให้ทราบ
  • ประกาศศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ รวม 7 ฉบับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ส.ค.61     
  • ฉบับที่ 7 สถานการณ์น้ำเนื่องจากผลกระทบพายุเบบินคา แม่น้ำโขง มีระดับน้ำสูงขึ้น ตั้งแต่จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี ส่งผลให้ลำน้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขงมีระดับน้ำเอ่อล้นท่วมที่ลุ่มต่ำริมตลิ่ง แม่น้ำยม มีระดับน้ำสูงขึ้น ตั้งแต่จังหวัดแพร่และสุโขทัย อาจเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งต้องเฝ้าระวัง สำหรับเขื่อนที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนวชิรลงกรณ จะมีการปรับเพิ่มการระบายน้ำ และ เขื่อนแก่งกระจาน ปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้น มีน้ำไหลล้นทางระบายน้ำมากขึ้น อาจส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่งในด้านท้ายน้ำมากขึ้น

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า