Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวเมียนมาเกือบครึ่งหมื่นต้องอพยพหนีตายจากการสู้รบรอบใหม่ระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มกบฏชนกลุ่มน้อยคะฉิ่น ทางตอนเหนือของประเทศ

องค์การสหประชาชน (ยูเอ็น) รายงานว่า นับตั้งแต่ต้นเมษายน มีชาวเมียนมาต้องอพยพออกจากพื้นที่ในรัฐคะฉิ่น ทางตอนเหนือของเมียนมามากกว่า 4,000 คน เนื่องจากกองทัพเมียนมาเปิดฉากโจมตีรอบใหม่ ด้วยการทิ้งระเบิดทางอากาศ ใช้ปืนใหญ่ยิงตอบโต้ องค์กรอิสรภาพคะฉิ่น (เคไอโอ) หรือกบฏคะฉิ่น

คาดว่าจะมีประชาชนติดอยู่ในพื้นที่สู้รับ บริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศจีนอีกจำนวนมาก หน่วยงานช่วยเหลือต่างๆ เรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้พวกเขาเข้าไปในพื้นที่ เพื่อทำการช่วยเหลือ

มาร์ค คัตส์ หัวหน้าสำนักงานเพื่อประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (โอซีเอสเอ) กล่าวกับเอเอฟพีว่า “สิ่งที่พวกเราเป็นห่วงที่สุดคือความปลอดภัยของพลเรือน รวมถึงสตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และคนพิการ พวกเราต้องมั่นใจว่าพวกเขาได้รับความคุ้มครอง”

นอกจากวิกฤตโรฮีนจาทางตะวันตกของเมียนมาแล้ว ทางตอนเหนือยังมีการปะทะกันระหว่างกองทัพเมียนมากับชนกลุ่มน้อย หนึ่งในนั้นคือชาวคะฉิ่น ที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริตส์ ได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชการปกครอง ตั้งแต่ปี 2504 นับตั้งแต่นั้นมาประชาชนต้องอพยพออกมาจากรัฐคะฉิ่นกละรัฐฉานแล้วกว่า 120,000 คน

ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่า ตลอดเวลา 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาได้ดำเนินการตามข้อตกลงสันติภาพกับกบฏชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ แต่ก็ยังมีการสู้รบเรื่อยมา ซึ่งรายงานระบุว่ากบฏคะฉิ่นเป็นกลุ่มประท้วงที่มีอำนาจมากที่สุด

กลุ่มนักเคลื่อนไหวสิทธิอ้างว่า กองทัพเพิ่มระดับความรุนแรงในการสู้รบขึ้น ระหว่างที่ทั่วโลกกำลังมุ่งประเด็นไปที่ปัญหาวิกฤตโรฮีนจา ซึ่งมีประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ในรัฐยะไข่เข้าสู่บังกลาเทศกว่า 700,000 คน

นางออง ซาน ซูจี ผู้นำเมียนมา ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติ เนื่องจากความล้มเหลวในการยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการจำกัดการเข้าช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์จากความรุนแรง

ในขณะเดียวกัน สถานทูตสหรัฐฯ ในย่างกุ้งแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการสู้รบอย่างดุเดือดในภูมิภาคนี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาปกป้องพลเมือง ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

 

อ้างอิง Myanmar violence: Thousands flee fresh fighting in Kachin state

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า