Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เริ่มกู้ซากเรือฟินิกซ์ กรมเจ้าท่าดำเนินการเอง หลังเจ้าของเรือบ่ายเบี่ยง คาดนำขึ้นฝั่งได้ปลายสัปดาห์นี้ หากไม่มีปัญหาสภาพคลื่นลมแปรปรวน เตรียมฟ้องเรียกค่าดำเนินการกว่า 10 ล.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (5 ส.ค. 61) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมคณะได้ลงพื้นที่กลางทะเลภูเก็ต บริเวณที่เรือฟินิกซ์อับปาง ระหว่างเกาะเฮกับเกาะราชา อ.เมืองภูเก็ต เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 61 ที่ผ่านมา ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเสียชีวิตจำนวน 47 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

เพื่อติดตามความคืบหน้าปฏิบัติการกู้ซากเรือฟินิกซ์ดังกล่าว มาทำการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการอับปาง หลังจากทางเจ้าของบริษัทไม่ดำเนินการ โดยมีผู้บริหาร บริษัท สปิทศ์เทค จำกัด ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างให้เป็นผู้กู้เรือครั้งนี้คอยให้ข้อมูลและขั้นตอนการทำงาน พบว่ามีเรือดำน้ำพร้อมด้วยนักดำน้ำเชี่ยวชาญน้ำลึกได้นำอุปกรณ์เป็น สายพานเชือกขนาดใหญ่ลงไปติดตั้งบริเวณตัวเรือ และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้สำหรับการดึงเรือขึ้นมา ตามแผนงานจะนำเรือดังกล่าวขึ้นจากน้ำภายในวันที่ 12 ส.ค. นี้

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวถึงแผนการกู้เรือฟินิกซ์ว่า หลังจากกรมเจ้าท่าได้ออกคำสั่งให้เจ้าของเรือฟินิกซ์ เป็นผู้จัดการกู้เรือลำดังกล่าวขึ้นภายในระยะเวลา 20 วันตามกฎหมายกำหนด ซึ่งได้มีการรับทราบคำสั่งตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยทางเจ้าของบริษัทฯ ได้แต่งตั้งผู้แทนให้มาชี้แจงกับกรมเจ้าท่าว่า ไม่สามารถที่จะกู้เรือขึ้นมาได้ โดยให้เหตุผลว่า บริเวณที่จมนั้นระดับน้ำลึกและไม่กีดขวางการเดินเรือ แต่จากการพิจารณาของกรมเจ้าท่ามองว่าจำเป็นจะต้องกู้เรือขึ้นมา เพราะเกรงว่าจะไปกีดขวางการเดินเรือในอนาคต และอาจจะเกิดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรใต้ทะเล เนื่องจากจุดที่เรือจมนั้นห่างจากแนวปะการังไปเพียง 100 เมตร ทำให้กรมเจ้าท่าต้องดำเนินการกู้ซากเรือดังกล่าวเอง โดยคาดว่าใช้งบประมาณในการดำเนินการจำนวน 10 ล้านบาท  และจะไปฟ้องร้องเรียกค่าดำเนินการกับทางบริษัทฯ ต่อไป

โดยการกู้ซากเรือดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา มีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ และนักประดาน้ำลึกที่มีความเชี่ยวชาญและมืออาชีพซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในงานนี้ จำนวน 20 คน เนื่องจากเรือจมอยู่ในน้ำลึกถึง 45 เมตร และหากน้ำทะเลขึ้นสูงสุดถึง 52 เมตร ซึ่งในการทำงานต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องคำนึกถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานด้วย การทำงานที่ผ่านมา ช่วงที่ยากที่สุดคือ การทำงานใต้น้ำ ทั้งการนำสายพานไปติดตั้งรอบลำเรือ การนำเหล็กไปดาม การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับชักรอก ซึ่งส่วนนี้มีความคืบหน้าไปแล้ว 80 – 90% ซึ่งจากการลงไปปฏิบัติงานใต้น้ำพบว่ามีทรายเข้าไปอยู่ในลำเรือถึง 10%

ขั้นตอนจากนี้จะมีการนำอุปกรณ์ลอยน้ำ ทั้งเครนขนาดใหญ่ซึ่งรองรับน้ำหนักได้ 200 ตัน ในการช่วยพยุงตัวเรือ, บอลลูนขนาดความจุประมาณ 10,000 ลิตร จำนวน 4 ลูกเอาลงไปในน้ำและเป่าลมเข้าไปเพื่อให้ดันตัวเรือขึ้นมา และใช้ตัวกว้านหรือรอกไฟฟ้าช่วยดึงเรือขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดจะต้องไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งไว้ใต้น้ำรอบลำเรือ เพื่อทำการดึงเรือขึ้นมา โดยจะต้องตั้งเรือให้ตรงก่อนจึงจะค่อยๆ ดึงเรือขึ้น คาดว่าสุดสัปดาห์นี้จะทำได้สำเร็จ และจะนำเรือไปขึ้นคานไว้ที่คานเรือรัตนชัย เพื่อตรวจสอบว่าเรือมีความสมบูรณ์ หรือไม่อย่างไร โดยจะขึ้นคานไว้ 30 วัน เพื่อตรวจสอบร่วมกันระหว่างกรมเจ้าท่า ตำรวจเจ้าของคดี และผู้เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ นายจิรุตม์ ยอมรับว่า สภาพอากาศถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในปฏิบัติการใต้น้ำครั้งนี้ โดยอาจจะเห็นว่าคลื่นผิวน้ำมีความแรงประมาณ 2-3 เมตร แต่ใต้น้ำจะมีความแรงมากกว่า และในช่วงวันแรกของการปฏิบัติงานมีนักประดาน้ำหลุดออกจากเชือกในจุดปฏิบัติงาน ลอยไปไกลประมาณ 1 ไมล์ทะเล แต่หากสภาพอากาศไม่เลวร้ายไปกว่านี้ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้ เพราะนักประดาน้ำจะทำงานได้รอบละ 20 – 25 นาที และทำงานได้วันละ 2 ครั้ง เพราะจะต้องมีการพักน้ำเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อนักดำน้ำ

อย่างไรก็ตาม นายจิรุตม์ กล่าวด้วยว่า ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ทั้งเรื่องสภาพอากาศในวันเกิดเหตุ การเดินเรือออกจากฝั่ง เส้นทางการเดินเรือ สภาพลม สอบปากคำลูกเรือและผู้ที่รอดชีวิต ทราบว่าคลื่นลมค่อนข้างแรง คลื่นสูง 4 – 5 เมตร ประกอบกับระยะนี้ทะเลอันดามันเป็นลมตะวันตก ในขณะที่เรือมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือทำให้คลื่นและลมเข้าทางด้านข้างตัวเรือ จึงเป็นสาเหตุให้เรืออับปางได้

ในส่วนของการตรวจสอบเรือในจังหวัดภูเก็ตที่มีประมาณ 400 ลำ ขณะนี้ทางกรมเจ้าท่าได้ร่วมกับตำรวจท่องเที่ยว ตรวจสอบเรือขนาดใหญ่ ไปแล้วกว่า 100 ลำ ไม่ว่าจะเป็นเรือไดร์วิ่งและเรือบรรทุกผู้โดยสารขนาด 100 คน โดยพบข้อบกพร่องของเรือ 2 ลำ และได้สั่งให้หยุดเดินเรือเพื่อปรับปรุงโครงสร้างแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบเรือขนาดเล็ก จากเดิมปกติจะมีการตรวจสอบเรือปีละ 1 ครั้ง แต่หากเจ้าของเรือไม่บำรุงดูแลรักษาให้ดี จำเป็นที่จะต้องมีการตรวจในช่วงระหว่างปีด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งจะมีการนำแนวทางการบริหารจัดการท่าเรือของ จ.ภูเก็ต เป็นต้นแบบนำร่อง เป็นภูเก็ตโมเดลให้กับจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า