Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นร้อนในฝรั่งเศสที่คุกรุ่นมากว่าหนึ่งเดือน มีท่าทีจะสงบลงหลังนายเอมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประกาศถอยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ได้สรุปสถานการณ์ตั้งแต่ต้นจนล่าสุดให้เห็นภาพรวมกันอีกรอบ

-นโยบายสิ่งแวดล้อม เป็นจุดยืนของประธานาธิบดีมาครงมานาน ตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้ง
-ตอนประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐฯ จะประกาศออกจากข้อตกลงปารีส นายมาครงเพิ่งได้รับตำแหน่งปธน.หมาด ๆ ก็ประกาศตอกหน้าว่าฝรั่งเศสจะ “ทำให้โลกเรายิ่งใหญ่อีกครั้ง – Make our planet great again” ล้อนโยบายของนายทรัมป์ที่พูดว่า “Make America great again”
-หลังจากนั้นก็แต่งตั้งให้นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชื่อ นิโกลา อูโล เป็นรัฐมนตรีนิเวศวิทยา ปั้นแผนให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศปลอดคาร์บอนภายในปี 2050 ขึ้นมา (กลางปีที่ผ่านมา รมว.คนนี้เพิ่งลาออก เพราะรู้สึกว่ารัฐบาลไม่เอาจริงเอาจังเรื่องนี้พอ ทำให้นายมาครงต้องดำเนินการตามแผนที่ปั้นกันมาอย่างเคร่งครัดไปอีก เพื่อเรียกความเชื่อมั่นว่าเอาจริงเรื่องสิ่งแวดล้อม)

– นโยบายนี้มีหลายมาตรการ ทั้งวางแผนจะห้ามขายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกที่ก่อนปี 2035
– แต่มาตรการที่เป็นประเด็นที่สุดคือ จะขึ้นภาษีที่เรียกว่า Carbon Tax โดยเก็บกับคนที่ใช้น้ำมันดีเซลที่กระทบคนทั้งประเทศ ทั้งคนใช้รถและเกษตรกรที่เครื่องไม้เครื่องมือต้องใช้น้ำมัน

ที่มา:
http://www.leparisien.fr/politique/gilets-jaunes-transition-ecologique-les-annonces-d-emmanuel-macron-27-11-2018-7954863.php

– เสียงต่อต้านดังขึ้นครั้งแรกกลางเดือนตุลาคม โดยแม่บ้านฝรั่งเศสวัย 51 ปี ถ่ายวีดีโอลงเฟซบุ๊ก บ่นเรื่องการขึ้นภาษีรถยนต์ นอกจากนี้ยังประณามปธน.มาครง ที่สนใจแต่คนรวย
– กลายเป็นว่าคลิปนี้กลายเป็นไวรัล และมีคนดูกว่า 6 ล้านวิว
– ต่อมาก็มีการชักชวนให้ใส่เสื้อกั๊กสีเหลืองอัดคลิปในลักษณะเดียวกัน ทำให้เทรนนี้ยิ่งแพร่กระจายเร็ว มีการตั้งกรุ๊ปเฟซบุ๊ก “ฝรั่งเศสเกรี้ยวกราด (France en colère)” และใช้กรุ๊ปดังกล่าวนัดกันปฏิบัติการบนท้องถนน

ดูคลิปต้นทางได้ที่ https://www.facebook.com/jacline.H/videos/vb.1217500576/10218147874947841/?type=2&video_source=user_video_tab

– กฎหมายการใช้รถใช้ถนนของฝรั่่งเศส บังคับให้ทุกคนมีเสือกั๊กเหลืองติดรถไว้ เผื่อเกิดอุบัติเหตุก็เอามาใส่ก่อนลงจากรถ จะได้ไม่ถูกชน
– เสื้อกั๊กเหลืองจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ดีในการสื่อถึงคนขับรถที่เป็นผู้ประท้วงแรกเริ่่ม สื่อถึงภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไข
– ที่สำคัญทุกคนมีติดตัวอยู่แล้ว ก็เลยคว้าออกจากบ้านได้เลย ไม่ต้องซื้อหาจากไหนเพิ่มเติม

– ก่อนหน้านี้ ชาวฝรั่งเศสชั้นรากหญ้าไม่ค่อยชอบนายมาครงอยู่แล้ว แต่เนื่องจากผลเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกเสียงกระจัดกระจาย ทำให้นายมาครงที่ได้คะแนนแค่ 24% ได้เข้าชิงประธานาธิบดีรอบสองกับนางมารีน เลอ เปน ที่ได้คะแนน 21.3%
– ในการเลือกตั้งรอบสองนี้ ประชาชนรากหญ้าฝรั่งเศสไม่มีทางเลือก จำใจเลือกนายมาครงที่มีฐานคะแนนเป็นนักธุรกิจและชนชั้นกลาง เพื่อไม่ให้เลอ เปน ที่เป็นชาตินิยมหัวรุนแรงได้เป็นประธานาธิบดี
 นายมาครงเป็นหน้าใหม่ทางการเมือง เติบโตมาจากการเป็นนายธนาคาร ไม่เคยทำงานปกครองของรัฐ ได้คะแนนเสียงจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจฝรั่งเศสและเพิ่มงาน แต่พอเอาเข้าจริง ๆ กลับกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดภาษีบริษัทใหญ่และภาษีที่เก็บตามทรัพย์สินที่ถือครองจาก 33% เหลือ 25% ซึ่งประชาชนเห็นว่านี่คือการเอาใจคนรวยแท้ ๆ ถึงกับตั้งชื่อนายมาครงว่า เป็น Le President des riches (ประธานาธิบดีของคนรวย)
– ก่อนหน้านี้ก็มีหลายรอบที่ปธน.มาครงทำไม่ถูกใจประชาชน รับตำแหน่งใหม่ก็เปลี่ยนถ้วยชามทั้งทำเนียบเป็นเครื่องเคลือบราคาแพง จ้างกองกำลังอารักขาส่วนตัว บอกคนตกงานที่เข้าพบว่าข้ามถนนไปก็หางานได้แล้ว ที่หางานไม่ได้เป็นเพราะไม่พยายามมากกว่า
– ไป ๆ มา ๆ แล้ว การประท้วงนี้ ไม่ใช่แค่ต้องการต่อต้านภาษีน้ำมัน แต่กลับเป็นการต่อต้านตัวประธานาธิบดีโดยตรงด้วย

– การประท้วงช่วงแรกเป็นแบบป่าล้อมเมือง
– ผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ ออกมาปิดถนนในพื้นที่ของตัวเอง
– ต่อมาก็มีการนัดให้ปิดถนนใหญ่พร้อมกันในวันที่ 17 พ.ย. มีผู้เข้าร่วมครั้งนี้ 3 แสนคน ปิดถนนใน 200 จุดทั่วประเทศ
– บรรยากาศส่วนใหญ่ดำเนินไปอย่างเงียบสงบ แต่ก็มีบางจุดปะทะกัน เนื่องจากผู้ใช้รถใช้ถนนต้องการเดินทางผ่านจุดที่ปิดถนน
หนังสือพิมพ์ Le Figaro ทำแบบสำรวจ พบว่า ประชาชน 77% ของประเทศเห็นด้วยกับการประท้วงครั้งนี้ ต่อมามีการนัดเข้าปารีสทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. เป็นต้นมา ปิดถนนบริเวณฌองป์-เซลีเซ และเส้นใกล้เคียง

– การประท้วงครั้งที่ 2 มีคนเข้าร่วมแค่ 23,000 คน แต่เริ่มรุนแรงขึ้น มีการใช้แก๊สน้ำตาและกระบองในการสลายการชุมนุม

– รมว.มหาดไทย บอกว่านี่เป็นฝีมือชาตินิยมหัวรุนแรงที่ยึดโยงกับมารีน เลอ เปน ที่เป็นพรรคคู่แข่ง อีกฝ่ายจึงออกมาทวีตตอบโต้เป็นพัลวัล

โดยให้สัมภาษณ์ผ่านช่อง BFMTV
ส่วนนี่คือทวีตของมารีน เลอ เปนที่ออกมาตอบโต้

– ตอบได้ยาก เพราะในการประท้วงปรากฏสัญลักษณ์หลายกลุ่มมาก มีทั้งธงคอมมิวนิสต์แบบเหมาอิส สัญลักษณ์อนาธิปไตย กิโยติน ธงของกลุ่มกษัตริย์นิยม
– BBC World Podcast ตอนหนึ่งสัมภาษณ์ผู้ร่วมชุมนุมประท้วง ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งกล่าวว่าการประท้วงครั้งนี้ ทำให้ประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างกันรวมกันได้ และนี่คือสิ่งที่รัฐบาลมาครงกลัว
– เป็นที่ถกเถียงกันว่าความรุนแรงในการประท้วงมาจากฝั่งไหน รัฐบาลประณามกลุ่มคลั่งการเมืองหัวรุนแรง แต่ฝั่งผู้ประท้วงหลายคนก็บอกว่า รัฐเองนั่นแหละที่ส่งเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาสร้างสถานการณ์
– แต่ยังไม่มีใครตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง
– ปธน.มาครง บอกว่า “สิ่งที่ผมคิดได้จากการประท้วงสองสามวันนี้ ก็คือเราไม่ควรกลับหลังเพราะนี่คือทางที่ถูกต้องและจำเป็น ยิ่งรอไปสถานการณ์โลกร้อนก็จะยิ่งแย่”

ที่มา:
https://www.france24.com/en/20181127-france-climate-yellow-vests-macron-fuel-tax-protests-nuclear-melenchon-pen-faure
http://www.leparisien.fr/politique/gilets-jaunes-transition-ecologique-les-annonces-d-emmanuel-macron-27-11-2018-7954863.php

– พอรัฐบาลยังไม่ตอบอะไร การประท้วงครั้งที่ 3 เลยมาตามนัด สถานทูตไทยในฝรั่งเศสประกาศเตือนนักท่องเที่ยว แล้วครั้งนี้รุนแรงกว่าที่เคยอย่างที่คิดจริง ๆ มีการทำลายปูนปั้นที่ประดับประตูชัยที่เป็นความภาคภูมิใจของฝรั่งเศส บางคนพ่นสีใส่ฐานประตูชัย รถยนต์ถูกเผา ร้านค้าสินค้าแบรนด์เนมบริเวณนั้นก็ถูกปล้นสะดม เจ้าหน้าที่จับกุมคนได้กว่า 400 คน สื่อเรียกการประท้วงครั้งนี้ว่ารุนแรงที่สุดในรอบสิบกว่าปี

ที่มา:
https://www.bfmtv.com/mediaplayer/video/une-marianne-defiguree-des-oeuvres-saccagees-les-casseurs-s-en-sont-pris-a-des-symboles-dans-l-arc-de-triomphe-1122078.html

– เริ่มมีคนไม่เห็นด้วยกับการประท้วงที่รุนแรงแล้ว เพราะชาวฝรั่งเศสระดับกลางเริ่มรู้สึกกังวลว่าจะไม่มีใครมาท่องเที่ยว
– แต่หนังสือพิมพ์ Figaro ทำโพลอีกครั้ง พบว่าการประท้วงจะไม่มีทีท่าว่าจะหยุด แต่คน 68% ของฝรั่งเศสเชื่อว่ากลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองกำลังทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ 56% ก็กังวลกับพฤติกรรมรุนแรงอยู่เหมือนกัน

ที่มา:
https://fr.reuters.com/article/topNews/idFRKBN1O60FS-OFRTP
http://www.lefigaro.fr/flash-actu/2018/12/07/97001-20181207FILWWW00294-gilets-jaunes-le-soutien-des-francais-stable-a-68.php

– นายมาครงโพสต์เฟซบุ๊กประณามคนที่ก่อความรุนแรง แถมยังโพสต์ภาพขอบคุณตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่สลายม็อบ
– คงจะเห็นท่าไม่ดี วันต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสจึงประกาศระงับขึ้นภาษีน้ำมันไว้ก่อน เอดวร์ด ฟีลีปป์ นายกรัฐมนตรีบอกว่าจะจัดหารือเพื่อหาข้อยุติภายใน 6 เดือน แต่ความนิยมในตัวรัฐบาลก็ลดฮวบแล้ว
– มีประชาชนแค่ 23% ของประเทศที่ให้คะแนน ปธน.มาครง สอบผ่าน
– ม็อบเสื้อกั๊กเหลืองเริ่มเสียงแตก บางคนพอใจแล้วที่หยุดภาษีน้ำมันได้ แต่ส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลลาออกทั้งคณะ เพราะไม่เชื่อลมปากอีกแล้ว

– ในการประท้วงครั้งล่าสุดวันที่ 9 ธันวาคม ผู้เข้าร่วมจำนวน 136,000 คน ไม่ต่างจากครั้งที่ผ่านมานัก แต่ตัวเลขผู้จับกุมกลับสูงถึง 1,220 คน ทั้งที่ความรุนแรงลดลง

ที่มา:
http://www.leparisien.fr/faits-divers/bilan-de-l-acte-4-des-gilets-jaunes-1-723-interpellations-1-220-gardes-a-vue-09-12-2018-7963890.php

– เมื่อวันจันทร์ นายมาครงออกมาแถลงข่าวออกสื่อ และเสนอมาตรการ
– เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอีก 100 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 3 พันบาท) โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้ประกอบการ
– ยกเว้นภาษีในกลุ่มผู้รับเงินบำนาญและผู้มีรายได้ต่ำ
– ไม่เก็บภาษีจากเงิน OT
– ผลักดันให้ทุกคนได้โบนัส และไม่เก็บภาษีจากโบนัสด้วย
– และจะจัดการพูดคุยให้ทุกภาคส่วนพอใจอย่างเร่งด่วน แต่ก็ยังจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจต่อไป และจะไม่เก็บภาษีคนรวยในอัตราเดิม
หลังจากแข็งกร้าวมาตลอด ท่าทางของนายมาครงคราวนี้อ่อนโยนมาก ยอมรับว่าตัวเองมีส่วนผิดด้วย แต่ไม่วายโพสต์เฟซบุ๊ก ”ผมรู้ว่าที่ผ่านมาได้ทำร้ายพวกคุณโดยไม่ตั้งใจ แต่อยากให้รู้ไว้ว่าการที่ผมพยายามปรับนู่นปรับนี่ เพราะผมกำลังช่วยชาติที่ผมรัก”https://www.facebook.com/EmmanuelMacron/
https://www.france24.com/en/20181210-live-macron-france-yellow-vests-protests-paris

– กลุ่มผู้ชุมนุมบอกว่าจะเข้าร่วมพูดคุย แต่ระหว่างนี้ก็จะประท้วงไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน เพราะไม่เชื่อว่าจะทำที่พูดได้จริง

ที่มา:
https://www.france24.com/en/20181211-yellow-vest-protesters-react-macron-concessions-address-france-crumbs

– การประท้วงนี้ ส่งแรงกระเพื่อมถึงประเทศอื่น ๆ ด้วย
– ที่เบลเยียมเริ่มมีคนใส่เสื้อกั๊กเหลืองออกมาเดินบนท้องถนนประท้วงมาตรการภาษี
– ฮอลแลนด์ประท้วงค่าครองชีพ
– ส.ส.เซอร์เบีย ใส่เสื้อกั๊กเหลืองประท้วงน้ำมันแพงในสภา
– ที่อิหร่านก็ใส่เสื้อกั๊กเหลืองประท้วงปัญหาคนตกงานเยอ
– รัฐบาลอียิปต์กำลังเร่งเก็บเสื้อกั๊กเหลืองตามท้องตลาด เพราะกลัวประชาชนเลียนแบบ

– ขณะที่ชาวเสื้อกั๊กเหลืองประท้วงไล่นายมาครง นักเรียนมัธยมฝรั่งเศสก็ออกมาประท้วงขนานใหญ่ด้วยเหมือนกัน เพราะต้องการต่อต้านการปฏิรูปการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่จะเปลี่ยนจากให้เลือกสอบกว้าง ๆ ในสายสังคม, สายวิทย์ และสายภาษา มาเป็นการเลือกละเอียดกว่าเดิม โดยเด็กมัธยมกว่า 300 โรงเรียนลุกขึ้นมาปิดถนน ทำลายข้าวของและเผาเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดเด็กบางส่วนเข้าร่วมกับกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองเรียบร้อยแล้ว แต่เด็กบางกลุ่มก็ยืนยันว่าเจตนาของพวกเขาต่างกัน
– ตัวเลขคนเข้าร่วมล่าสุดชี้ให้เห็นว่าม็อบกั๊กเหลืองกำลังเริ่มอ่อนกำลังลง แต่ก็มีแรงหนุนจากฝ่ายนักเรียน น่าสนใจว่าการรวมตัวครั้งต่อไปจะเป็นอย่างไร

ที่มา:
https://www.lemonde.fr/societe/article/2018/12/12/lyceens-et-etudiants-rejoignent-les-gilets-jaunes-dans-le-rejet-de-la-macronie_5396135_3224.html

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า