Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สทนช.จับมือหน่วยเกี่ยวข้องฝ่าวิกฤติน้ำท่วมช่วงฤดูฝนปี 61 ย้ำปีนี้มีการเตรียมการ พร้อมบูรณาการข้อมูลการพยากรณ์ เฝ้าระวัง และแผนเตือนภัยระดับพื้นที่ล่วงหน้ามากขึ้น มั่นใจไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เช่นปี’54 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (10 ส.ค.61) นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน, นายวันชัย  ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา, นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมแถลงข่าวการบริหารจัดการแบบบูรณาการแก้วิกฤติน้ำท่วมในห้วงฤดูฝน ปี 2561  ณ ห้องแถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยถึงภาพรวมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน ปี 2561 ว่า ในปีนี้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการป้องกันน้ำท่วมช่วงฤดูฝนมีความชัดเจนในทางปฏิบัติมากขึ้น ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก็ลดลงด้วยการทำงานประสานกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักด้วยกัน คือ

  1. การเตรียมการล่วงหน้าก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ให้มีการบูรณาการข้อมูลหน่วยงานด้านน้ำของประเทศที่มีอยู่กว่า 38 หน่วยงานให้เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมสร้างการรับรู้ประชาชนถึงการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ปี 2561 หลังจากเข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยสทนช.ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 4 มิ.ย.61 และลงพื้นที่สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำหลากรายภาค รวมถึงแผนป้องกัน เฝ้าระวัง และเผชิญเหตุของหน่วยงานรับผิดชอบไปสู่ประชาชนให้ ครอบคลุมทั่วประเทศให้สอดคล้องตามช่วงเวลาของสถานการณ์ฝนของแต่ละพื้นที่ ซึ่งครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่ภาคใต้ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา
  2. การบูรณาการข้อมูลการพยากรณ์อากาศ การติดตามสภาพฝนและสถานการณ์น้ำ เพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการตามช่วงเวลารองรับทุกระดับของความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบให้ชัดเจน ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และเขื่อนขนาดกลางทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง พบว่าหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ต่อปริมาณน้ำในเขื่อน ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนได้

สทนช.ได้มีการตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา ตามข้อสั่งการของพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงป้องกัน และไม่ให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากน้ำให้เป็นเอกภาพในการอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.

นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำปัจจุบันขณะนี้มี 8 เขื่อนขนาดใหญ่ ที่มีระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนน้ำพุง เขื่อนลำปาว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนปราณบุรี โดยมี 2 เขื่อน ที่ปริมาณน้ำเกินกว่า 100% ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน 103% และเขื่อนแก่งกระจาน 103 % ซึ่งสทนช.ได้กำกับ ติดตาม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำให้อยู่ให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม รวมถึงเตรียมการช่วยเหลือพื้นที่ท้ายน้ำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางบูรณาการทุกหน่วยงานแจ้งเตือนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่

ขณะที่สถานการณ์แม่น้ำโขงที่เพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว จากปริมาณฝนตกหนักที่ประเทศลาว ส่งผลให้ระดับน้ำที่แม่น้ำโขงตั้งแต่ จ.อุบลราชธานี จ.นครพนม จ.มุกดาหาร สูงกว่าตลิ่งตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา แต่จากการติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขงปัจจุบันพบว่าระดับน้ำโขงเริ่มลดลงตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.61 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ระดับน้ำแม่น้ำแม่น้ำเพชรบุรีที่ อ.เมือง มีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 69 ซม. เนื่องจากมีการตัดยอดน้ำเข้าระบบชลประทานมากขึ้น ประกอบกับมีน้ำที่ไหลจากเขื่อนแก่งกระจานผ่านทางระบายน้ำล้นแนวโน้มลดลง ขณะนี้สูงประมาณ 54 ซม.จากเมื่อวานนี้ 60 ซม.

ส่วนสภาพน้ำในอ่าง เขื่อนแก่งกระจานแนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างลดลง แต่จากการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ อาจมีฝนตกมากขึ้นส่งผลให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า สทนช.เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์รวมถึงเร่งระบายน้ำต่อเนื่องให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมด้วย

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่เกิน 150 มม. มีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่งและดินโคลนถล่มเป็นพิเศษ 8 จังหวัด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สกลนคร มุกดาหาร

ภาคตะวันออก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด

ภาคใต้ ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี

ซึ่งสทนช.เตรียมออกประกาศแจ้งเตือนพื้นที่ดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำแผนป้องกันและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงโดยเร็วต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า