Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการการเลือกตั้งเชิญ อดีตกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ หารือสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อวันนี้ ก่อนชี้แจงให้ต่อสาธารณะสัปดาห์นี้

วันนี้ (3 เม.ย. 62) เวลา 09.30 น. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เชิญนายประพันธ์ นัยโกวิท อดีตกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (อดีตกรธ.) และนายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกกรธ. มาให้ความเห็นวิธีคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ที่ถูกต้อง

รวมถึง สอบถามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 การคํานวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง และมาตรา 128 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (พ.ร.ป. ส.ส.) โดยเฉพาะ (5) (6) (7) เช่นกรณีพรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ในระบบเขตเลือกตั้งมากกว่าจำนวนส.ส.ที่พึ่งได้ หรือ โอเวอร์แฮงค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับกกต. ในการคำนวณ ส.ส.ก่อนประกาศผลรับรองอย่างเป็นทางการ ภายในวันที่ 9 พ.ค.นี้

(อุดม รัฐอมฤต อดีตกรธ.)

นายอุดม รัฐอมฤต ให้สัมภาษณ์ รายการเจาะลึกทั่วไทย ในช่วงเช้าวันนี้ (3 เม.ย. 62) ว่า ในการยกร่าง พ.ร.ป. ส.ส. ให้นำคะแนนของทุกพรรคแม้ได้ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยมาคำนวณเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ตามหลัก “ทุกคะแนนเสียงต้องไม่ตกน้ำ” ทำให้บางพรรคที่ได้คะแนนต่ำกว่า 71,000 คะแนนก็จะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ด้วย

ก่อนหน้านี้ นายอุดม ได้ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวไทย วันที่ 29 มี.ค. 62 ว่า “ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้นำที่นั่ง 150 ของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไปจัดสรรให้กับพรรคที่ยังได้ ส.ส.ไม่มากกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ซึ่งตามหลักการในการร่างกฎหมาย กรธ.และกกต. เห็นตรงกันว่า ต้องนำตัวเลขของทุกพรรคที่ยังได้ ส.ส.ไม่ถึงตัวเลขที่พึงได้มารวมคำนวณหาสัดส่วนใน 150 ที่นั่งด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว จากตัวเลขแถลงอย่างไม่เป็นทางการของ กกต.ได้ 175 ที่นั่ง

ดังนั้น จึงต้องนำจำนวนที่แต่ละพรรคพึงได้รับคูณกับ 150 ซึ่งคือจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้วหารด้วย 175 จะเป็นจำนวนที่แต่ละพรรคพึงได้ ทั้งนี้ตัวเลขที่คูณหารออกมา มีทั้งจำนวนเต็มและจุดทศนิยม พรรคที่ได้จะเริ่มจากจำนวนเต็มก่อน แล้วจึงไปพิจารณาจุดทศนิยม และในกรณีที่เมื่อคำนวณแล้วยังมีที่นั่งไม่ครบ 150 ต้องไปไล่ลำดับเรื่อยๆ จากมากไปน้อย ตามจุดทศนิยมจนครบ

ซึ่งคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ โดยนำคะแนนบัตรดีของการเลือกตั้งครั้งนี้  35,532,645 ใบ หารกับ 500 ซึ่ง คือ “จำนวน ส.ส.ทั้งหมด” ทำให้ได้ค่าเฉลี่ยของเสียงต่อ ส.ส. 1 ที่นั่ง หรือ 71,065.294 คะแนน จากนั้นนำมาหารคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ จะได้ที่นั่ง ส.ส. ที่พึงได้รับ ซึ่งผลออกมาทำให้บางพรรค คือ พรรคเพื่อไทยที่ได้จำนวน ส.ส.เขตไปแล้วมากกว่าจำนวน ส.ส.ที่พึงได้รับ จึงไม่ได้รับจัดสรรให้มี ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่ม”

ข่าวก่อนหน้านี้

กกต.คาดจะยืนยันสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ในสัปดาห์นี้

เปิดวิธีคิด 2 สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ทำไมได้ผลลัพธ์ต่างกัน?

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า