Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์แม่น้ำโขงปลอดภัย ตรวจยึดเคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยาเสพติดจำนวน 1,178 ตัน ขณะที่เลขา ป.ป.ส. ระบุว่า กลุ่มผู้ค้ายาเสพติดปรับเปลี่ยนวิธีการลักลอบขนยาเสพติดใหม่ๆ เจ้าหน้าที่ต้องตามให้ทัน ล่าสุดคือใช้รถพยาบาลฉุกเฉินในการขนยาซึ่งขณะนี้กำลังเร่งขยายผลและจับกุมกลุ่มขบวนการ

วันที่ 13 ก.ย. 2561 นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. กล่าวถึงการจับกุมรถพยาบาลฉุกเฉิน 2 คัน ดัดแปลงซุกยาไอซ์ 398 กิโลกรัม และ เคตามีน 75 กิโลกรัม ที่ถูกเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ร่วมกับตำรวจและทหาร ยึดได้จากผู้ต้องหาค้ายาเสพติด 3 คน บริเวณด่านตรวจแม่ต๋ำ อำเภอเมืองพะเยา เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมาว่า ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่สืบทราบว่าเครือข่ายผู้ค้ายาได้ดัดแปลงรถตู้ เป็นรถพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อใช้ลำเลียงยาเสพติดจากพื้นที่ภาคเหนือ เข้าสู่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร จึงติดตามพฤติกรรม พบว่ามีการเดินทางไปรับยาเสพติดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มุ่งหน้าเข้าภาคกลาง เจ้าหน้าที่สกัดจับได้ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งขณะจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาพยายามหลบหนีและทิ้งยาเสพติดตามข้างทาง ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เพิ่มความเข้มงวดป้องกันปราบปรามต่อเนื่องเพราะผู้ค้ายามีการปรับเปลี่ยนวิธีขนยาเสพติดใหม่ๆอยู่เสมอ ซึ่งต้องตามให้ทัน

สำหรับยาเสพติดที่เจ้าหน้าที่ยึดได้ในช่วงหลายวันที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคเหนือ เชื่อว่าเป็นของกลุ่มว้า ซึ่งมีอิทธิพลตรงข้ามอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยยาเสพติดถูกลำเลียงมาพักไว้ตามชายแดนตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา ก่อนทยอยลักลอบนำเข้าประเทศไทย

หากย้อนไปเมื่อต้นปี 2561 ตำรวจยึดยาบ้า 7 แสนเม็ด ไอซ์ 560 กิโลกรัม บรรจุในกล่องผลไม้แช่อิ่ม ขณะเตรียมส่งบริษัทขนส่งเอกชน จากนั้นกลางปีตรวจยึดไอซ์ 860 กิโลกรัมได้ในรถห้องเย็น ขณะส่งต่อเข้ากรุงเทพมหานคร และชายแดนภาคใต้ และไม่กี่วัน ก่อนจับรถพยาบาล ตำรวจจังหวัดพะเยา ยึดยาบ้า 7 ล้าน 7 แสนเม็ด ไอซ์ 500 กิโลกรัม ได้จากรถบรรทุก 10 ล้อ

“การขนยาเสพติดจำนวนมากที่ผ่านมามักจะใช้วิธีขนปนมากับพืชผลทางการเกษตรโดยรถบรรทุกสิบล้อ ส่วนรถพยาบาลพบเป็นครั้งแรก ส่วนจำนวนน้อยๆ ยังคงใช้วิธีขนแบบกองทัพมด แต่คนขนจะเป็นหน้าใหม่นอกพื้นที่ เนื่องจากเครือข่ายยาเสพติดเดิมมีรายชื่อในฐานข้อมูล” นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าว

ดร.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขณะที่ ดร.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า สามเหลี่ยมทองคำยังคงเป็นภูมิศาสตร์ยาเสพติดที่เหมาะทั้งการปลูก และผลิต รวมทั้งมีช่องการในการลำเลียงสารตั้งต้น เข้าหลายช่องทาง ดังนั้นขบวนการต้องทำทุกวิถีทางทาง เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ในการขนย้ายยาเสพติด แต่ที่น่าสนใจ คือ พบว่ามีนักลงทุนรายใหม่เพิ่มขึ้น

และมีรายงานศูนย์แม่น้ำโขงปลอดภัย ซึ่งเกิดจากความร่วมมือ 6 ประเทศในภูมิภาค ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน ยึดเคมีภัณท์ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด 1,178 ตัน ซึ่งสามารถผลิตยาบ้าได้ 600 ล้านเม็ด หรือไอซ์ 9.6 ตัน หรือ เฮโรอิน 6.5 ตัน นอกจากนี้ยังสามารถยึดยาบ้าจำนวน 454 ล้านเม็ด , ไอซ์ 17 ตัน, เฮโรอีน 6 ตัน, และกัญชา 34 ตัน รวมทั้งยาเสพติดชนิดใหม่คือ คีตามีน จำนวน 456 กิโลกรัม ขณะเดียวกันยังพบว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนในสามเหลี่ยมทองคำ จ้างนักเคมีจากประเทศจีนและไต้หวัน มาผลิตสารเคมีให้ในพื้นที่ โดยไม่มีขีดจำกัด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า