Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์ไทยรักษาผู้มีบุตรยากทำรายได้ปี 62 กว่า 4,500 ล้านบาท เร่งเดินหน้าพัฒนาสถานพยาบาล 102 แห่งด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

วันที่ 8 ธ.ค.2563 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์อัตราการเจริญพันธุ์หรือค่าเฉลี่ยการมีบุตรของผู้หญิงลดลง พบว่าสถิติทางสาธารณสุขของอัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate – TFR) ของประเทศไทยลดลง เหลือเพียง 1.5 และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้ในอนาคตประเทศไทยจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้คู่สมรสหลายคู่ต้องหันมาพึ่งพิงเทคโนโลยีทางการแพทย์

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)

จากผลการสำรวจเชิงสถิติในปี พ.ศ.2562 การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท ภายใต้การดำเนินงานตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 โดย สบส.ก็ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาศักยภาพสถานพยาบาลที่ให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากอย่างต่อเนื่อง

นพ.ธเรศ กล่าวว่าไทยมีสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการให้บริการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์รวม 102 แห่ง มีอัตราความสำเร็จในการให้บริการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 46 มีการให้บริการทำเด็กหลอดแก้วกว่า 20,000 รอบการรักษา การผสมเทียมกว่า 12,000 รอบการรักษา และอนุญาตให้ตั้งครรภ์แทน หรือที่เรียกกันว่าอุ้มบุญแล้วกว่า 400 ราย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นหลักฐานของความสำเร็จ และยืนยันให้เกิดความเชื่อมั่นแก่คู่สมรสว่าการรับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จากสถานพยาบาลไทยจะช่วยให้คู่สมรสสามารถมีบุตรได้ตามที่หวัง ช่วยลดปัญหาอัตราเกิดที่ลดลงรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต

ขณะที่ ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส.กล่าวต่อว่า นอกจาก ความก้าวหน้าของวิทยาการแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์ของประเทศไทย ได้รับความเชื่อมั่นจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ ก็คือการมีกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ควบคุม กำกับการใช้เทคโนโลยีฯ ให้มีความถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐาน มีการกำหนดสิทธิ์ และคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีฯ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานการบริการให้ดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากมีการกระทำผิด ก็จะมีบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน อาทิ หากผู้ใดรับจ้างอุ้มบุญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ซื้อ-ขายอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นนายหน้าชี้ช่องทางให้มีการรับตั้งครรภ์แทน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯลฯ ซึ่งกรม สบส.อยู่ระหว่างทบทวนปรับแก้กฎหมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำรายได้เข้าสู่ประเทศไปไทย และเพิ่มการเข้าถึงบริการในการรักษาผู้มีบุตรยากต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า