Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงเกษตรฯ ไม่เห็นด้วยกับการนำสารเคมีมีพิษมาใช้ทำเกษตรกรรมเร่งวางแผนดำเนินมาตรการจำกัดการใช้ภายใน 2 ปี รายงานประชาชนทุก 3 เดือน

วันที่ 18 ก.พ.2562 นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ สรุปแนวทางดำเนินการจำกัดการใช้สารเคมีหลังจากที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเห็นชอบมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตราย ทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จากการประชุมล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562

“กระทรวงเกษตรฯ ขอเรียนว่าทางกระทรวงฯไม่มีอำนาจในการให้ใช้หรือไม่ให้ใช้วัตถุอันตรายดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้เจ้าของเรื่องได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีมติเห็นชอบมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตรายดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2561 โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรไปจัดทำแผนให้ชัดเจนภายใน 3 ปี แต่ทางกระทรวงฯ ขอร่นระยะเวลาลงให้เหลือเพียง 2 ปี โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้

1. ให้สำรวจจำนวนสต๊อกสารเคมีที่มีอยู่ทั้งหมด รวมทั้งชื่อผู้ครอบครอง วัน เดือน ปี ที่ได้รับอนุญาตกำหนดสำรวจแล้วเสร็จภายในเดือนนี้ (กุมภาพันธ์ 2562)

2. การอนุญาตครั้งต่อไปต้องชัดเจนโดยเฉพาะต้องกำหนดช่วงเวลาของการลดการนำเข้า

3. เกษตรกรต้องผ่านการอบรมการใช้สารเคมีจากกรมวิชาการเกษตรอย่างถูกต้องก่อนการใช้

4. พื้นที่ที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายหรือครอบครอง

5. กรมวิชาการเกษตรร่วมกับภาควิชาการและภาคประชาชนเร่งศึกษาวิธีการหรือสิ่งอื่นมาทดแทนสารเคมีทั้ง 3 ชนิดให้ได้

6. จัดทำแผนปฏิบัติการเร่งรัดขยายพื้นที่ทำการเกษตรยั่งยืนเกษตรอินทรีย์(Organic) ให้ครบทั้ง 149 ล้านไร่ ภายใน 2 ปี และจะต้องรายงานความคืบหน้าต่อประชาชนทุก 3 เดือน ระหว่างที่กระทรวงเกษตรฯ กำลังดำเนินมาตรการที่จะใช้สารธรรมชาติมาทดแทนสารเคมีดังกล่าว รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนได้เข้าใจถึงมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีในครั้งนี้ โดยเฉพาะประชาชนที่ใช้วิธีการเผาถางวัชชพืชแทนการใช้สารเคมี ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่แพ้กัน

ข้อถกเถียงเรื่องพิษพาราควอต 

สำนักบีบีซีไทย รายงานว่าสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ระบุว่า พาราควอตมีพิษสูง แค่การกินเพียงจิบเดียวก็ถึงแก่ชีวิตได้ โดยไม่มียาถอนพิษ เมื่อปี 2009 องค์การอนามัยโลกจัดให้พาราควอตเป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง แต่มีข้อสังเกตในรายงานว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหากถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายและเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากรับประทาน หรือสัมผัสกับผิวหนังในบริเวณกว้าง

ด้านศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รายงานสถิติผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษพาราควอต ช่วงปี 2553-2559 ว่ามีจำนวน 4,223 ราย มีผู้เสียชีวิตคิดเป็น 46.18% สาเหตุหลักเกิดจากการนำไปใช้ฆ่าตัวตาย 56.60% สถิติที่น่าในใจอีกอย่างหนึ่งคือ มีผู้เสียชีวิตด้วยพาราควอตจากการประกอบอาชีพ 8.19% คิดเป็นจำนวน 171 ราย

สำหรับพาราควอต เป็นชื่อของสารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรนิยมใช้ในพืชไร่ เป็นยาเผาไหม้ออกฤทธิ์เร็ว ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่มีฤทธิ์ทำลายระบบรากของพืชประธาน ใช้ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง และสวนยางพารา

ปี 2560 ไทยนำเข้าสารพาราควอต 44,501 ตัน มูลค่า 3,816 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาในไทย ตามด้วยสารไกลโฟเซต ที่ไทยนำเข้า 59,852 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,283 ล้านบาท

ภาพประกอบจาก ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า