Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาเตือนภัยพิบัติฯ ยืนยัน ไทยไม่มีทุ่นสึนามิที่ใช้งานได้ เผยทุ่นตัวแรกหยุดส่งสัญญาณเมื่อ ต.ค. 2564 ยังไม่สามารถใช้งานได้ และล่าสุดทุ่นตัวที่ 2 หลุดออกจากรัศมีที่ติดตั้งขาดการส่งสัญญาณกับดาวเทียมไปเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา

วันนี้ (9 มิ.ย. 2565) นายนพดล มากทอง โฆษกมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยืนยันกับทีมข่าว workpointTODAY ว่า ขณะนี้ทะเลอันดามันของไทยไม่มีทุ่นสึนามิสำหรับเตือนภัยพิบัติหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังได้รับรายงานว่าทุ่นสึนามิ ที่สถานี 23461 ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางตะวันตกประมาณ 340 กม. หยุดการส่งสัญญาณกับดาวเทียม ตั้งแต่เวลา 13:00 น. ของวันที่ 7 มิ.ย. 2565 อยู่ระหว่างประสานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เข้าตรวจสอบ

นายนพดล กล่าวว่า ในทะเลอันดามันไทยมีทุ่นสึนามิ 2 ตัว คือ ทุ่นตัวแรกอยู่ที่สถานี 23461 ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางตะวันตกประมาณ 340 กม. เคยเกิดเหตุหลุดออกจากรัศมีการส่งข้อมูลเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2565 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานว่าองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติได้เข้าตรวจสอบ กระทั่งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิสามารถทำงานและส่งข้อมูลการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำได้เป็นปกติ และหยุดส่งสัญญาณในครั้งนี้

ทุ่นตัวที่ 2 อยู่ที่สถานี 23401 ห่างจากจังหวัดภูเก็ต 965 กม. หลุดออกจากรัศมีการติดตั้งและหยุดส่งสัญญาณไปเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2564 ขณะนี้เก็บกู้ทุ่นคืนได้แล้ว และอยู่ระหว่างการติดตั้งทุ่นทดแทนของเดิมที่หลุดไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2565 ทำให้ตอนนี้ทะเลอันดามัน ไม่มีทุ่นส่งสัญญาณแจงเตือนสึนามิที่ใช้การได้เลย

โฆษกมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ระบบการเตือนภัย จะไม่การันตีความปลอดภัยได้ 100 % แต่ระบบเตือนภัยก็คือส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและอุ่นใจ แน่นอนว่าทุ่นสึนามิที่ลอยอยู่กลางทะเล อยู่ท่ามกลางคลื่นลม ย่อมมีโอกาสหลุดออกจากตำแหน่ง หรือชำรุดทรุดโทรมได้ และการออกไปเก็บกู้แต่ละครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่ทำได้โดยทันที คือ ผู้มีหน้าที่ต้องรีบชี้แจงกับประชาชน สังคมอย่างเร่งด่วน เพราะการรับรู้ข้อมูลผ่านโซเชียล ย่อมไม่เป็นผลดีต่อองค์กรนั้นๆ จึงอยากจะเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ออกมาชี้แจงรายละเอียดให้ประชาชนคลายความกังวลใจอย่างเร่งด่วน

⚫️ ปภ. ยืนยันไม่กระทบการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสึนามิ

ล่าสุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ตรวจสอบการทำงานของทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน สถานี 23461 พบว่า ทุ่นแสดงสถานะไม่ส่งข้อมูล และจากการตรวจสอบระบบระบุตำแหน่ง (Global Positioning System : GPS) อย่างต่อเนื่อง ในวันนี้พบว่า ทุ่นได้หลุดลอยออกจากตำแหน่งรัศมีการติดตั้ง จากจุดติดตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 38 กิโลเมตร (23.6 ไมล์ทะเล) ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 315 กิโลเมตร สามารถติดตามตำแหน่งของทุ่นฯ ได้จากระบบ GPS ที่ติดตั้งกับทุ่นฯ โดยระบบจะส่งข้อมูลตำแหน่งทุกๆ 12 ชั่วโมง

ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานการเก็บกู้และสาเหตุการหลุดออกจากตำแหน่งติดตั้ง ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้วางแผนกำหนดติดตั้งทุ่นทดแทนของเดิมที่หลุดในเดือน พ.ย. 2565

ปภ.ยืนยัน ไม่ส่งผลกระทบต่อการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสึนามิของประเทศไทยแต่อย่างใด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังคงปฏิบัติภารกิจการติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนสึนามิตามระเบียบปฏิบัติประจำ (Standard Operating Procedure : SOP) ด้านการแจ้งเตือนภัยสึนามิฝั่งอันดามัน โดยนำข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลและการเกิดคลื่นสึนามิในแถบมหาสมุทรอินเดียจากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และแจ้งเตือนการเกิดสึนามิ

พร้อมติดตามข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลของประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย และสถานีเกาะเมียง จังหวัดพังงา ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถานีเกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลและแจ้งเตือนภัยสึนามิแก่ประชาชนตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมอพยพหนีภัยสึนามิได้อย่างทันท่วงที

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า