Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เราต่างทราบดีว่าการ ‘สูบบุหรี่’ ไม่ส่งผลดีต่อปอด ยิ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คนสูบบุหรี่มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป ผลร้ายที่เกิดแก่ร่างกายจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงกว่าเก่า เพราะผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงอาการทรุดหนัก หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ง่ายกว่าคนที่ไม่สูบนอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ผลการวิจัยที่เปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังพบว่า กลุ่มคนที่สูบบุหรี่มีระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน ‘ต่ำกว่า’ คนที่ไม่สูบถึง 40%

“โดยปกติคนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับปอด หัวใจ หรือมะเร็งมากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว เวลาป่วยจึงมักป่วยหนัก หรือต่อให้ไม่ป่วยก็มักมีภูมิคุ้มกันไม่ดี ทำให้สามารถรับเชื้อได้ง่าย ข้อมูลจากงานวิจัยในเดือน ก.พ. 64 ซึ่งรวบรวมจาก 109 การศึกษา รวมคนไข้จากทั่วโลก 517,020 ราย พบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่สูบบุหรี่จะป่วยรุนแรงเพิ่มขึ้น 1.55 เท่า ต้องนอนไอซียูเพิ่ม 1.73 เท่า และเสียชีวิตเพิ่ม 1.58 เท่า” ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าว

“ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่อาจเกิดหลังการฉัดวัคซีน งานวิจัยจากประเทศอิตาลีที่เปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันร่างกายต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนชนิดเดียวกันครบ 2 เข็ม จำนวน 86 คน พบว่า คนที่ไม่สูบบุหรี่มีระดับภูมิคุ้มกันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,921 U/ml ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนที่สูบบุหรี่อยู่ที่ 1,099 U/ml นับกว่าน้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่สูบอยู่ถึง 40%”

หากต้องการที่จะฉีดวัคซีนโดยคาดหวังประสิทธิภาพสูงสุด ดร.พญ.เริงฤดีแนะว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังเลิกบุหรี่ได้เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน ดังนั้น หากผู้ที่สูบบุหรี่วางแผนจะฉีดวัคซีน ก็ควรพิจารณาฉีดหลังงดสูบบุหรี่เป็นเวลาหนึ่งเดือนเสียก่อน

ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 เผยว่า คนไทยสูบบุหรี่ลดลงเหลือร้อยละ 17.4 จากร้อยละ 19.1 ในปี 2560 แม้จะดูเหมือนเป็นแนวโน้มที่ดี แต่เมื่อมองดูที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ในปี 2562 ที่องค์การอนามัยโลกประมาณการไว้ว่าคนไทยเสียชีวิตเพราะบุหรี่มากถึง 70,952 คน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนทางการต่อสู้และรณรงค์เพื่อลดภาระจากการเจ็บป่วยของยาสูบยังคงเป็นเส้นทางยาวไกลที่ต้องเดินต่อ

รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. เผยว่า นอกจากพันธกิจที่ต้องการช่วยเหลือให้คนไทยลดภาระการเจ็บป่วยของยาสูบ สสส. ยังต้องการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการบำบัดรักษาผู้ที่เจ็บป่วยจากบุหรี่ ซึ่งนับเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงถึงร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศทั้งหมด ยิ่งในสภาวะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ สสส. จึงมองว่าการเข้ามาส่งเสริมด้านการเลิกบุหรี่ จะเป็นอีกเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาความสาหัสของปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ

“สสส. เราพยายามที่จะทำงานรอบด้าน ไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสาร รณรงค์ แต่ยังสนับสนุนให้เกิดศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เพื่อผลิตองค์ความรู้ รวมถึงหาทางออกที่เหมาะสมแก่คนไทยในการเลิกบุหรี่ สสส​. ร่วมงานกับหลายภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโรงเรียน เครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง เครือข่ายทางด้านหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ ขณะเดียวกันก็สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ว่าการเลิกบุหรี่ต้องใช้เวลา ผู้สูบบุหรี่เองก็ต้องการกำลังใจ เพื่อให้สามารถอดทน ลด ละ เลิกบุหรี่ และกลับมามีสุขภาพที่ดีได้ ตรงนี้ล่ะ ที่สสส.สนับสนุนให้มีการให้กำลังใจคนที่กำลังอยากเลิกสูบบุหรี่ จนกระทั่งเกิดเป็นสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ที่เราอยากจะเชิญชวนทุกคนที่สนใจจะเลิกบุหรี่ลองโทรมา”

สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 เป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ ทั่วถึง ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่สามารถโทรเข้ามาขอคำปรึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

“สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุก เชิงรับ คือ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับสาย คนที่ต้องการเลิกบุหรี่จะเป็นคนโทรเข้ามา เราก็มีหน้าที่ประเมินเบื้องต้นว่าเขามีความพร้อมที่จะเข้ารับบริการจริงหรือไม่ เพราะหลายครั้งคนที่โทรมาไม่ได้มีความพร้อมจริง ๆ การให้บริการที่เต็มไปด้วยความไม่เต็มใจ ย่อมไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ดังนั้น เราจึงต้องคัดกรองก่อนจะส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการให้คำปรึกษาต่อ” รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (สายเลิกบุหรี่ 1600) กล่าว

การจะประเมินว่าผู้เข้ารับบริการสามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร จะวัดจากการที่ภายใน 6 เดือน ผู้เข้ารับบริการไม่กลับไปสูบบุหรี่ซ้ำอีก รศ.ดร.จินตนา อธิบายว่า การให้บริการในลักษณะนี้ไม่ใช่การโทรคุยครั้งเดียวแล้วจบ แต่เป็นการให้คำปรึกษา ติดตามผล และให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะจากสถิติแล้วช่วงเวลาอันตรายที่ผู้เข้ารับบริการจะกลับไปสูบบุหรี่ใหม่ จะอยู่ในวันที่ 3 วันที่ 5 และวันที่ 14 เพื่อข้ามผ่านในระยะอันตรายนี้ สายด่วน 1600 จึงมีบริการ เชิงรุก หรือ การโทรออก เพื่อให้คำปรึกษาและติดตามผล รวมทั้งสิ้น 6 ครั้งในระยะเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูบซ้ำขึ้นอีก

“ช่วงวิกฤตโควิด-19 มีประชาชนขอรับคำปรึกษาเลิกบุหรี่กับสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 จำนวนมาก ที่น่าสนใจคือจากเดิมที่เหตุผลของการโทร คือ เลิกเพื่อสุขภาพ เลิกเพื่อคนรอบข้าง ตอนนี้หลายคนให้เหตุผลว่า ‘กลัวติดเชื้อโควิด-19’ การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนว่าประชาชนให้ความสำคัญต่อการระบาดของโควิด-19 เพียงใด”

ขณะนี้สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ได้ปรับแผนการทำงานเพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น โดยเพิ่มเวลาให้บริการตั้งแต่ 09.00 – 23.00 น. เนื่องจากพบว่าช่วงเวลาบ่ายและค่ำ เป็นช่วงที่มีการโทรเข้ามาขอคำปรึกษาจำนวนมาก นอกเหนือจากช่วงเวลาดังกล่าว ผู้รับบริการสามารถฝากข้อความผ่านระบบอัตโนมัติเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง

นอกจากนี้ สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ยังได้เพิ่มช่องทางการติดต่อทางแอปพลิเคชันไลน์ เฟชบุ๊กแฟนเพจ เว็บไซต์ และศูนย์บริการเลิกบุหรี่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการอย่างเต็มที่ นอกจากให้ความรู้เรื่องยาสูบแล้ว ยังสามารถให้คำปรึกษาการสูบบุหรี่ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ด้วย โดยประชาชนสามารถโทรศัพท์ขอรับคำปรึกษาเลิกบุหรี่ได้ฟรีทุกเครือข่าย

“ในช่วงเข้าพรรษา สสส. จัดกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา เราก็อยากชวนทุกคนมางดบุหรี่ด้วย เพราะทั้งสามารถลดค่าใช้จ่าย และลดภาระให้บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนเรื่องวัคซีนที่กำลังจะได้ฉีด ก็อยากให้คนไทยเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้หลังจากฉีดเราจะได้มีภูมิคุ้มกันที่มากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส ค่อยๆ ลด ละ เลิกบุหรี่ดีกว่า อย่าทำให้มันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของคุณเลย เริ่มต้นถอนสาเหตุที่อาจส่งผลเสียกับคุณ ด้วยการลองโทร 1600 เถอะค่ะ” รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า