Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

https://youtube.com/watch?v=OBRayHV4wY4

ภารกิจนำทีมหมูป่าอะคาเดมี่ 13 คน ออกจากถ้ำ มีกลุ่มผู้เข้าช่วยเหลือทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศมากมาย พวกเขาต่างถูกขนานนามว่าเป็นวีรบุรุษที่คนทั้งประเทศไทยให้การยอมรับ 

ย้อนรอย 17 วัน ในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือทีมหมูป่า

23 มิถุนายน 2561  นักฟุตบอลเยาวชนกับผู้ช่วยโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมี่ติดในถ้ำหลวง–ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยภารกิจค้นหา 13 ชีวิต เริ่มขึ้นเมื่อผู้ปกครอง 1 ใน 13 คน ได้ร้องขอความช่วยเหลือไปยัง หน่วยเรือรักษาความสงบตามลำแม่น้ำโขง หลังเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงรายประเมินแล้วว่าไม่สามารถฝ่ากระแสน้ำเข้าค้นหาได้

นาวาเอก อนันท์ สุราวรรณ์

24 มิถุนายน 2561 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ นสร. นำโดยนาวาเอก อนันท์ สุราวรรณ์ ผบ.กรมรบพิเศษที่ 1 หัวหน้าทีมซีล พร้อมนักทำลายใต้น้ำจู่โจม 17 นาย เดินทางมาถึงถ้ำหลวงเมื่อเวลา 02.45 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน 2561 และเริ่มปฏิบัติการในถ้ำตั้งแต่เวลา 04.00 น. กับมิสเตอร์เวิร์น อันสเวิร์ธ นักสำรวจถ้ำหลวง แต่ภารกิจครั้งนี้ไม่ง่าย เพราะต้องเดินขึ้นลงเขาในถ้ำท่ามกลางความมืดมิด

นอกจากนั้นความยากยังเพิ่มขึ้น เมื่อระดับน้ำจากดอยผาหมีเริ่มไหลมาสมทบ ทำให้น้ำในถ้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ช่องลอดที่ มิสเตอร์เวิร์น อันสเวิร์ธยืนยันว่ามี กลับถูกตะกอนทรายปิด  โดยความพยายามค้นหายาวนานตั้งแต่ 05.00-16.30 น.

ในวันแรกสามารถส่งหน่วยซีล 3 ชุด ผ่านสามแยกไปได้ 200 เมตร แต่ด้วยข้อจำกัด เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานยาวนานต่อเนื่องถึง12 ชม. จึงเริ่มเหนื่อยล้า และเสี่ยงน้ำท่วมปิดทางเข้าออก จึงจำเป็นต้องถอนกำลังเพื่อวางแผนใหม่

26 มิถุนายน  น้ำท่วมปิดทาง 3 แยก หน่วยซีลไม่สามาถปฎิบัติงานต่อได้ จึงได้ร้องขอให้ ศอร.ทำการสูบน้ำ

27 มิถุนายน  เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แต่น้ำป่าไหลซัดเข้าถ้ำจนเสียงสะเทือนไปทั้งถ้ำ

28 มิถุนายน ต้องสละฐานสั่งการที่โถง3 เพราะน้ำเอ่อท่วมเข้ามาทางปากถ้ำ

จากนั้นปฎิบัติการค้นหาโพรงและปล่องด้านบนถ้ำเริ่มขึ้นเมื่อทุกฝ่ายประเมินแล้วว่าไม่สามารถดำน้ำฝ่ากระแสมวลน้ำมหาศาลเข้าไปได้

https://youtube.com/watch?v=152hsy0Y6Ag

เมื่อชุดลาดตระเวน ชุดโรยตัวหาโพรงกว่า 100 จุด แต่ไม่มีทางเข้าถ้ำหลวงได้ แผนเข้าออกปากถ้ำจึงถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561

พลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ปรับแผนมาใช้วิธี “มนุษย์น้ำ” โดยจากปากถ้ำไปโถง 3 หน่วยซีลต้องดำน้ำฝ่าความมืดและน้ำขุ่นจนมองไม่เห็นฝ่ามือตัวเอง และต้องดำน้ำไกลกว่า 1.5 กม.

2 กรกฎาคม  องค์กรดาร์บีเชอร์ เคฟ เรสคิว ชมรมนักประดำน้ำอาสาช่วยเหลือผู้ที่ติดถ้ำจากอังกฤษ ส่งนายจอห์น โวลันเธน และนายริชาร์ด สแตนตัน ผ่านการแนะนำจาก เวิร์น อันสเวิร์ธ ซึ่งมีอุปกรณ์นำทางในถ้ำที่ทันสมัย ต่อมา เวลา 21.38 น. นักดำน้ำชาวอังกฤษเลยจุดพัทยาบีชไป จนพบทีมหมูป่า 13 คนที่เนินนมสาว

https://youtube.com/watch?v=KY2wK4ZafZk

แผนนำตัวเด็กดำน้ำออกมามีความเสี่ยง หากเด็กมีอาการตกใจ อาจทำให้ full face mask หลุด จึงส่งซีล 3 คน มี พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุนเข้าไปอยู่กับเด็กจนกว่าจะออก,k เดิมมีแผนอยู่จนกว่าน้ำลดในระดับปลอดภัย แต่ก็ต้องปรับแผนอีกครั้ง เมื่อเครื่องมือตรวจวัดระดับออกซิเจนของกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ พบว่าปริมาณออกซิเจนในถ้ำ ลดลงเหลือ 15 เปอร์เซนต์ ซึ่งหากอยู่ระดับ 13 เปอร์เซนต์ โอกาสเสียชีวิตทั้งหมด 17 คน มีสูง เช่นเดียวกัน ระดับออกซิเจนในโถง 3 ลดลง เนื่องจากมีผู้ปฎิบัติงานมากขึ้น ขณะที่ต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลาและกระแสน้ำ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ สนับสนุนต่อท่อออกซิเจนและจัดหาขวดอากาศ และเคมี คอลล์ไลท์ 4,200 แท่ง เพื่ออำนวยความสะดวกซีลในการปฏิบัติงาน

ภารกิจวางขวดอากาศผูกติดเคมีคอลล์ไลท์ตาม 3 จุดคือ สวนสนุก สามแยกและโถงสามเริ่มในวันที่ 4 กรกฎาคม ซีล 1 คนต้องแบกขวดอากาศ  6 ขวดลอดผ่านช่องแคบโขดหิน ด้วยความยากและต้องดำน้ำนาน 10 ชม.จนทำให้ นาวาตรีสมาน กุนัน เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้านี้วันที่ 5 กรกฎาคม

8 กรกฎาคม ทีมนักดำน้ำต่างชาติ 12 คน นำโดยนักดำน้ำชาวอังกฤษเป็นหัวหน้า วางจุดส่งต่อลำเลียงทีมหมูป่าตั้งแต่เนินนมสาวถึงสามแยก มีซีลและนักดำน้ำที่เหลือคอยสนับสนุน

วิธีให้เด็กสวม full face mask มีเพียง 4 อันที่ผ่านการทดสอบ แล้วให้ยาเพื่อให้เด็กอยู่ในอาการสงบ จากนั้นนักดำน้ำ 1 คนประกบเด็ก1 คนดำน้ำลอดมาส่งต่อจุดลำเลียง ซึ่งบางช่วงที่ต้องเดินเท้า เด็กจะอยู่ในเปล ก่อนส่งต่อให้ซีลที่โถง 3  จากความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ทำให้ทีมหมูป่าทุกคนออกหมดถ้ำในวันที่ 11 กรกฎาคม 2561

 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า