Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สุทิน’ ชี้ประชาชนทุกข์หลายด้าน แนะรัฐบาลยอมรับความจริง นายกฯ ลาออก-ยุบสภา

วันที่ 19 ก.พ. 2565 นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายเน้น “ทุกข์” ปากท้องเศรษฐกิจ มาถึงจุดแพงทั้งแผ่นดิน จนทั้งแผ่นดิน ค่าครองชีพสูงขึ้นทุกตัว โดยอาหารแพงขึ้น 30 % การเดินทางขึ้น 30-40 % ขึ้นแล้วทำให้ทำมากินหายากโดยทำให้รายได้ตกซึ่งก็คือปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ย เช่น ปุ๋ยยูเรีย และอาหารสัตว์ ที่ดึงให้รายได้ตก ชาวนาที่แม้ว่าจะมีน้ำแต่ไม่อยากทำนา เพราะปุ๋ยแพง ยาฆ่าแมลงแพง ขณะที่ราคาตกสวนทางส่งผลให้ต้นทุนการทำนา ต้นทุนเพิ่มไร่ละกว่า 1,000 บาท

นายสุทิน กล่าวว่า ค่าแรงที่ไม่ได้ปรับมาหลายปี รวมถึงโรงงานปิดและคนตกงาน คนงานหลุดจากมาตรา 32 หลุดออกจากระบบ 600,000 คน และต้องกลับบ้านซึ่งไม่มีสวัสดิการเพราะตกงาน รวมตกงานจากภาคการเกษตรตัวเลขรวมน่าตกใจมาก ซึ่งทำให้รายได้ขาดหาย ผู้ค้ารายย่อยและเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบหนัก สรุปขณะนี้ คือ ค่าครองชีพสูงแต่รายได้ต่ำ

ขณะที่หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยจะอยู่ที่เกือบ 90 % ของจีดีพี และหนี้สาธารณะก็เพิ่มสูงขึ้นจนจะชนเพดาน 60 % และ จะมีการขยับเพดานเงินกู้ไปซึ่งมีการขยับเพดานไปที่ 70 % แล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้มีการเตือนมาแล้ว ซึ่งหลังจากพูดไปแล้วรัฐบาลแจ้งว่า เป็นทั้งโลก เนื่องจากปัญหาโควิดเกิดขึ้นทั้งโลก ซึ่งแท้จริงนั้นสถานการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนโควิด

นายกฯ บอกว่าจากสถานการณ์โควิด-19 เลยทำให้เศรษฐกิจเป็นทั้งโลก แต่ความจริงแม้เจอภัยเดียวกันทั่วโลก แต่ไทยหนักกว่า ส่วนที่บอกว่าเพราะเงินเฟ้อ ซึ่งน่ากลัวว่าเป็นการวินิจฉัยผิด ทั้งที่ความเป็นจริงในต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตอนนี้เงินเฟ้อเพราะเขามีเงินในระบบเยอะ แต่ของเราภาวะจริงๆ คือ “ฝืด” ของเขาเงินเฟ้อแต่เราเงินฝืด เพราะเรายังขยายตัวในแดนลบ ยังไม่พ้นจากเหว เพราะฉะนั้นจะไปบอกว่าเงินเฟ้อ ชาวบ้านเข้าใจว่ามีเงินเยอะ ซึ่งจริงๆ วันนี้สินค้าราคาสูงขึ้น มันเฟ้อเพราะต้นทุนขึ้น แต่รายได้ต่ำ มันเป็นราคาเฟ้อ แล้วเงินฝืด มันแย่มากๆ ไม่มีใครปรารถนาอยากให้มีอย่างนี้ ถ้าแพงตอนนี้เงินไม่ว่ากัน แต่นี่แพงตอนไม่มีเงิน ต้องแก้คนละแบบไม่ใช่แก้เป็นเงินเฟ้อ

“โควิดโดนทั้งโลกแต่เราหนักกว่าเขา เขาโดนแค่เซ แต่เราโดนหัวคะมำ ซึ่งเศรษฐกิจประเทศไทยเปรียบเทียบคือเคยอยู่ระดับพื้นดินพอโควิดมาก็ไปอยู่ใต้เหวเลย”

พร้อมมีข้อเสนอแนะ อันดับแรกยอมรับความจริง รับฟังคนอื่นมากขึ้น อยากให้เปิดใจว่าเศรษฐกิจของเรา ไม่ใช่เพราะเงินเฟ้อ อย่าไปคิดว่าเป็นทั่วโลก เขาเป็นเราเป็น เขาหายเดี๋ยวเราหายด้วย อยากให้แก้ปัญหาในเชิงรุกไม่ใช่วิ่งตามปัญหา เช่น น้ำมันแพง ซึ่งกว่าจะลดกว่าถั่วจะสุกหาก็ไหม้แล้ว รวมทั้งการแข่งขันกีฬาที่ไม่ได้ร้องเพลงชาติ เพราะแก้กฎหมายช้า นอกจากนี้ อยากให้ทบทวนการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ “แจก” ต่อไป แต่ให้ “แจกให้ลงทุน” ไม่ใช่ “แจกให้กิน” รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างกันชนเศรษฐกิจ มีกองทุนที่เมื่อมีปัญหาทางเศรษฐกิจจะไม่ชนชาวบ้านโดยตรง นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลหารายได้ ไม่เช่นนั้นไม่มีทางแก้หนี้ได้

นอกจากนี้ นายสุทิน ยังได้บอกว่า ได้คุยกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาฯ ซึ่งได้เล่าว่า เมื่อปี 2526 ตอนนั้นรัฐบาลคุมสภาไม่ได้ สถานการณ์เหมือนตอนนี้ นายกฯ ตอนนั้น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ คุยกับท่านอุทัย ซึ่งท่านอุทัยได้แนะนำให้ยุบสภา ยุบนี่ท่านก็ไปผมก็ไปไม่มีใครได้ประโยชน์ แต่ประเทศได้ประโยชน์

“ข่าวที่มีคนคิดจะไม่ให้เรามีสภาก่อนจะถึงวันนั้นท่านายกฯครับขอเถอะมีสภาไว้ให้ชาวบ้าน ท่านก็ไปพวกผมก็ไปได้ ไปพร้อมกันยุบสภาเลย คำว่ายุบสภาคือไปด้วยกันไม่ได้ไล่ท่านอย่างเดียว ถ้าบอกว่าพวกผมไล่ท่านอย่างเดียวไม่เอาทางนั้นก็ได้ ก็ยุบสิสภา กฎหมายลูกทำทัน ถ้าจะทำให้ทันซะอย่างทัน ก็เข้าสัปดาห์หน้าวาระหนึ่งผ่านสิ มีนาวาระแปรญัตติก็ซัดกันเต็มที่ เมษาก็วาระ2 วาระ3 จบ ไปพร้อมกันจะได้เป็นธรรมไม่ต้องมาน้อยใจว่าพวกผมไล่ท่าน” นายสุทิน กล่าว

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า