Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปานเทพ สมาชิกวุฒิสภา คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.144 และ 185 อ้างอดีตที่เคยดำรงตำแหน่ง ประธาน ป.ป.ช. หวั่นอาจเกิดการทุจริตและแทรกแซงการใช้จ่ายงบประมาณ

วันที่ 24 มิ.ย. 2564 นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวในการประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 13 ฉบับเป็นวันที่ 2 โดยอ้างถึงตำแหน่งในอดีตที่เคยเป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 144 และ 185 เพราะจากการที่เคยทำงานด้านการปราบปรามการทุจริตมาก่อน มองว่าทุกประเทศเห็นตรงกันว่าการคอร์รัปชันเป็นปัญหาอาชญากรรมระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของชาติ สาเหตุสำคัญมาจากเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐในทางที่มิชอบ โดยใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมและก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมาก

นายปานเทพ ได้ยกแนวทางมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยยึดหลักการจากการเป็นสมาชิกสหประชาชาติมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่กล่าวต่อที่ประชุม โดยมีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ

1. ต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์สาธารณะมีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือนโยบายบริหารอยู่เสมอ
2. ไม่เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหรือบุคคลใดโดยไม่สมควร
3. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 60 ได้บัญญัติในหมวด 8 เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มาตรา 184-187 โดยเฉพาะใน มาตรา 185 ให้ ส.ส. หรือ ส.ว. ต้องไม่ใช้สถานะ ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใดใดอันมีลักษณะเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองของผู้อื่นและของพรรคการเมือง รวมถึงยังได้บัญญัติห้ามไว้ใน มาตรา 144 วรรค 2 ไม่ให้สมาชิกรัฐสภาเสนอแปรญัตติหรือกระการใดใดที่มีผลให้ตนเองมีส่วนใช้งบประมาณรายจ่ายทั้งโดยทางตรงและมางอ้อมซึ่งข้อบัญญัตินี้ตรงกับลักษณะกันแห่งผลประโยชน์ประการหนึ่งคือการนำโครงการสาธารณะลงในพื้นที่เลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

“โดยสรุปแล้วการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ,185 เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาบางคนบางส่วนสามารถเข้ามาก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องรวมทั้งพรรคการเมืองได้ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 มาตรานี้ ขัดต่อบทบัญญัติในอนุสัญญาสหประชาชาติ ซึ่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศด้านการต่อต้านคอร์รัปชันให้ด้อยลงในสายตาของมิตรประเทศตลอดจนทำให้ขาดความเชื่อถือศรัทธาในการดำเนินงาน การค้าระหว่างประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงยังไม่เห็นด้วยกับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 144 , 185” นายปานเทพ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า