Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หากพูดถึง ‘เมกะโปรเจกต์’ ของไทยเวลานี้ คงเป็นเรื่องยากที่จะละสายตาจาก “แลนด์บริดจ์” หรือโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (ชุมพร-ระนอง) ที่รัฐบาลไทยคาดหวังให้เป็น ‘ฮับ’ โลจิสติกส์กระจายสินค้าทั้งไทยและเทศออกจากด้ามขวานของประเทศอันจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ตามแนวคิดของรัฐบาล

ด้วยความโอฬารของโครงการ ตามมาด้วยงบประมาณมหาศาลที่ทุ่มสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งท่าเรือขนาดใหญ่ ถนน และระบบรางรถไฟ แลนด์บริดจ์จึงถูกตั้งคำถามทั้งจากประชาชน นักวิชาการ และนักการเมืองถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งข้อครหาความไม่ชัดเจนของข้อมูลโครงการจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แกนหลักในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าว ก็นำมาสู่การคัดค้านจากหลายภาคส่วน

รศ.ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์พิเศษ หลักสูตรสหสาขาวิชาการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดคุยในรายการ TODAY LIVE เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 เกี่ยวกับ ‘มายาคติ’ ในเมกะโปรเจกต์ ‘แลนด์บริดจ์’ ทั้งแสดงทัศนะต่อโครงการในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ไว้อย่างน่าสนใจ

เริ่มต้นพูดคุยเรื่อง ‘ฮับโลจิสติกส์’ กับความสำเร็จทางเศรษฐกิจ รศ.ดร.สมพงษ์ ระบุว่า สิ่งสำคัญของการเป็นฮับโลจิสติกส์คือเป้าหมายทางเศรษฐกิจ การจะทำฮับให้เกิดประโยชน์จำเป็นต้องคิดเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าควบคู่ไปกับการเป็นศูนย์กลาง เพราะหากมองเพียงความจริงสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถเป็นฮับโลจิสติกส์ได้ ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจนอกเหนือจากการเป็นศูนย์กลางนำเข้า-ส่งออก คือการพัฒนา ‘คน’ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าการมีท่าเรือ

เขาได้ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าหลากหลายประเภท โดยมองว่าสิงคโปร์มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าหลายประเภท โดยมีฮับโลจิสติกส์ เช่น ท่าเรือสินค้า เป็นองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น

นอกจากการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า การเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์และด้านการขนส่ง (Logistics Connectivity) ซึ่งเป็นฟังก์ชันหนึ่งของอภิมหาโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ รศ.ดร.สมพงษ์ ยังชี้ว่า เป็นอีกมายาคติ และเป็นดาบสองคม เนื่องจากการสร้างการเชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆ เพื่อนำเข้า-ส่งออกสินค้าด้านหนึ่งก็เป็นการเปิดให้สินค้านอกประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าภายในประเทศ จึงตั้งคำถามถึงสินค้าไทยว่ามีความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากสินค้าของต่างประเทศมีประสิทธิภาพในการแข่งขันทางการตลาดมากกว่าไทย สินค้าไทยก็อาจถูกเบียดขับในตลาด เช่น ตลาดอาเซียน

รศ.ดร.สมพงษ์ ชี้ว่า รัฐบาลไม่ควรเพียงผลประโยชน์จากการเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ควรมองต้นทุนที่จะต้องเสียด้วย เช่น ต้นทุนราคาตู้สินค้า ราคาขนส่ง การมองรายละเอียดเชิงบวกโดยเมินรายละเอียดเชิงลบก็เป็นอีกหนึ่งมายาคติในโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ เช่นเดียวกัน

ยกตัวอย่าง การเชื่อมต่อเส้นทางการค้าของจีนตามแนวรถไฟเชื่อประเทศลาว-จีน ซึ่งอาจส่งผลผลิตทางการเกษตรจากลาวมีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับไทยมากขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรของจีนในการเพาะปลูกพืชตามแนวรถไฟ โดยรัฐบาลไทยก็ยังไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน

แม้จะเป็นโปรเจกต์ขนาดใหญ่ของรัฐบาล แต่ ‘แลนด์บริดจ์’ ในสายตาของ รศ.ดร.สมพงษ์ ยังคงมีรายละเอียดชัดเจนเพียงระบบโครงสร้างพื้นฐาน และยังขาดรายละเอียดการพัฒนาอื่นๆ เพื่อให้แลนด์บริดจ์สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ที่สำคัญคือขาดรายละเอียดการพัฒนา ‘คน’ ในโครงการ

เขายังชี้ว่า การขยายการค้าในไทยยังคง “ติดหล่ม” และชะงักอยู่แค่การมีโรงงานผลิตภายในประเทศและทำการส่งออก ขณะที่ต่างประเทศมีการส่งออกฐานการผลิต ทั้งยังส่งออกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าไปคุมตลาดในต่างประเทศ ซึ่งไทยเองยังไม่มีกระบวนการนี้

สำหรับคำแนะนำถึงแลนด์บริดจ์ รศ.ดร.สมพงษ์ ระบุว่า หากจะให้โครงการสำเร็จจะต้องมีความครบเครื่องด้านนโยบาย มีขั้นตอนการพัฒนาขีดความสามารถโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาความสามารถด้านการค้า และมีการพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมไปด้วย อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยยังคงติดกับดักความคิด เห็นได้ชัดจากรายงานการศึกษาแลนด์บริดจ์ที่ไม่ลงรายละเอียดระดับขั้นของการพัฒนา รวมถึงขาดรายละเอียดการนำแลนด์บริดจ์ไปใช้ เช่น แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจอย่างไร สินค้าอะไรจะมาใช้ ที่สำคัญตามคือจะช่วยพัฒนาคนไทยอย่างไร ซึ่งขณะนี้รัฐบาลไทยยังคงพุ่งเป้าที่โครงสร้างพื้นฐาน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า