Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงการคลัง เตรียมโอนเงินให้ผู้ผ่านเกณฑ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 1.5 ล้านคน สัปดาห์หน้า พร้อมเร่งส่งผู้พิทักษ์สิทธิ์ลงพื้นที่ทบทวนสิทธิ์เยียวยา 5,000 บาท คาดเสร็จเรียบร้อยประมาณต้นเดือนพฤษภาคม

จากกรณีมาตรการเยียวยาลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ นอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จะได้รับเงินสนับสนุนรายละ 5,000 บาทต่อเดือน โดยต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ซึ่งได้ปิดการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ไปแล้ว แต่ยังเปิดเว็บให้ตรวจสอบสถานะ ยกเลิกการลงทะเบียน, ยื่นทบทวนสิทธิ์, เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน และยื่นข้อมูลเพิ่มเติมได้

 

เมื่อวันที่ 25 เม.ย.63 นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า โดยในสัปดาห์หน้าวันที่ 27-28 เม.ย.63 จะมียอดจ่ายเงินเยียวยารวม 1.5 ล้านคน ซึ่งกลุ่มที่จ่ายเงินรอบนี้นั้น ได้ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วจากกลุ่มที่ขอข้อมูลเพิ่มเติมและกลุ่มที่ขอทบทวนสิทธิ์ หลังจากช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้จ่ายเงินเยียวยาไปแล้วประมาณ 4.9 ล้านราย

 

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมาตรการจ่ายเงินเยียวยา 5000 บาทว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ส่งผู้พิทักษ์สิทธิ์ลงพื้นที่ตรวจสอบประชาชนที่ยื่นทบทวนสิทธิ์ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับรายงานจากผู้ปฏิบัติงานว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบการทบทวนสิทธิ์แต่ละจังหวัดเรียบร้อยดี พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ที่ยื่นทบทวนสิทธิ์ได้เตรียมเอกสารหลักฐานไว้พร้อมทำให้การตรวจสอบรวดเร็ว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยล่าสุดมีประชาชนยื่นขอทบทวนสิทธิ์มาแล้วจำนวนเกือบ 3 ล้านคน จากผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองจำนวน 10.6 ล้านคน

 

นายธนกร กล่าวอีกว่า ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่มาทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในภาวะวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจากรายงาน เจ้าหน้าที่พิทักษ์สิทธิ์กับผู้ขอทบทวนสิทธิ์ต่างปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เว้นระยะห่างทางสังคม ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า จะเร่งเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยทุกอย่างจะเสร็จเรียบร้อยประมาณต้นเดือนพฤษภาคมนี้ นอกจากนั้น นายอุตตมยังสั่งการให้ผู้บริหารธนาคารของรัฐลงพื้นที่ติดตามการทบทวนสิทธิ์อีกด้วย

ขณะที่ นายผยง ศรีวณิช  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย พร้อมผู้บริหารและพนักงานผู้ทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ลงพื้นที่จังหวัดอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี เพื่อยืนยันตัวตนและขอข้อมูลหลักฐานการประกอบอาชีพให้กับผู้ขอทบทวนสิทธิ์ที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19  โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563

ด้านเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ผู้พิทักษ์สิทธิ์โดยออกไปพบผู้ขอทบทวนสิทธิ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ตามนโยบายกระทรวงการคลังในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  อาทิ สุโขทัย ตาก  กาฬสินธิ์ ปทุมธานี ระยอง

ส่วนผู้อำนวยการสำนักงาน ธกส.ภูเก็ต  ร่วมกับทีมผู้พิทักษ์สิทธิ์กระทรวงการคลัง ตรวจสอบข้อมูลผู้ขอทบทวนสิทธิ์ พื้นที่ตำบลวิชิต อ.เมืองภูเก็ต  และพนักงานผู้พิทักษ์สิทธิ์ ธนาคารออมสินสาขาในเขตพัทลุง ลงพื้นที่ทบทวนสิทธิ์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า