SHARE

คัดลอกแล้ว

ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้วที่ทีมข่าวจัดทำสารคดีเชิงข่าวด้านสิทธิมนุษยชน ของสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ช่อง 23 ได้รับการคัดเลือกเข้าชิงรางวัลในเวที รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยปี 2562 ผลงานสารคดีข่าวชุด SLAPPs ฟ้องปิดปาก ปิดเสียง ได้รับรางวัลดีเด่น

วันนี้ (22 ม.ค.2563) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ประกาศผลการจัดการประกวดผลงานข่าว “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2562 โดยรางวัลนี้มอบให้สื่อมวลชนที่ทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริงสู่สังคม และทำหน้าที่ในการปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนทุกชนชั้น ควบคู่ภายใต้ความยุติธรรมเพื่อทุกคน เพื่อทุกสิทธิ

และในปี 2562 ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้รับรางวัลดีเด่น “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2562 (Media Awards 2019) ประเภทข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที) คือ สารคดีเชิงข่าว ชุด “SLAPPs ฟ้องปิดปาก ปิดเสียง” ออกอากาศในระหว่างวันที่ 26 – 30 ส.ค. 2562 ซึ่งในประเภทนี้ มีผลงานร่วมส่งประกวดทั้งหมด 14 ผลงาน 8 สถานีโทรทัศน์ โดยผลงานทั้งหมดทั้ง 4 ประเภทผลงาน มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 64 ผลงาน

สำหรับสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ เป็นสถานีเดียวที่ได้จัดทำสารคดีเกี่ยวกับการฟ้องปิดปาก โดยสารคดีข่าวชุด SLAPPs ฟ้องปิดปาก ปิดเสียง จัดทำโดย น.ส.พรทิพย์ โม่งใหญ่ และทีมงาน มีจุดประสงค์นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ทางกฎหมายของกลุ่มคน 4 กลุ่มคน ใน 4 จังหวัด โดยนำเสนอในแง่มุมของนักต่อสู้และแรงบันดาลใจ รวมถึงปัญหาอุปสรรค และข้อกฎหมายในการแก้ไขและป้องกันการฟ้อง SLAPPs

โดยปีนี้เป็นปีที่ 3 ที่ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน

นายสมศักดิ์ ชื่นจิตร หนึ่งในบุคคลที่เป็นข่าวจากสารคดีชุดนี้ ซึ่งเป็นนักต่อสู้และเรียกร้องสิทธิมนุษยชนด้านการซ้อมทรมาน ให้สัมภาษณ์ว่า ในฐานะเป็นหนึ่งในแหล่งข่าวของคดี SLAPPs หลังจากที่ได้ชมสารคดีชุดนี้ ได้มีกำลังใจมากขึ้นที่ได้เห็นสื่อมวลชนทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อเท็จจริง ซึ่งทำให้สังคมได้รู้ว่าคนที่ตกเป็นเหยื่อของคดี SLAPPs นั้นได้เกิดความทุกข์ทรมาน ที่เปรียบเสมือนพลัดตกเหว ไม่มีสิ้นสุด

ด้าน น.ส.ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย ระบุว่าสถานการณ์ SLAAPs ในประเทศไทยนั้นค่อนข้างน่ากังวลในระดับที่มีผลต่อชีวิตของผู้ถูกฟ้อง ทำในบุคคลธรรมดาเกิดความกลัวและไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และขณะนี้มีการฟ้องปิดปากสื่อมวลชนในข้อหาหมิ่นประมาทด้วย ทั้งนี้มีข้อเสนอให้รัฐมีมาตรการปกป้องสิทธิชุมชนและสิทธิเสรีภาพการทำงานของสื่อมวลชน

สำหรับผลงานสารคดีข่าว รางวัลชมเชย ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์คือ ผลงานเรื่อง Friendly Design เมืองไม่พิกล คนไม่พิการ จากนิตยสารสารคดี โดยปีนี้ไม่มีรางวัลดีเด่น

ผลงานข่าวและสารคดีข่าว รางวัลดีเด่น ประเภทสื่อออนไลน์คือ ผลงานเรื่อง แรงงานไทยที่ถูกลืมในอิสราเอล จากเว็บไซต์บีบีซีไทย และผลงานเรื่อง ประเทศไร้ใบหน้า ผู้คนไร้แผ่นดิน ตามหาความเป็นมนุษย์ในคำว่าชาติ จากเว็บไซต์ 101.world

ส่วนสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว รางวัลดีเด่น ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 60 นาที) คือ ผลงานเรื่อง ดีเอ็นเอ-ซิมการ์ด ปฏิบัติการสองแพร่ง รายการเปิดปม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และผลงานเรื่อง การกลับมาของบิลลี่ รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี

 

ตอนที่ 1 “ฟ้องหมิ่น! รองผอ.หลังร้องเรียนตรวจสอบงบอาหารกลางวัน”  การต่อสู้ในหน้าที่ของรองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลเมืองตะพานหินวิทยาคาร จ.พิจิตร เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐและลูกศิษย์กับการลุกขึ้นมาเผยแพร่ข้อมูลการทุจริตการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารกลางวันนักเรียน  แต่กลับถูกฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท และถูกคำสั่งย้ายและถูกตรวจสอบ การทำงาน  แทนที่หน่วยงานต้นสังกัดจะตรวจสอบการทุจริต

 

ตอนที่ 2 “ฟ้อง SLAPPs ปิดปากครอบครัวชื่นจิตร ร้องตร.ซ้อมทรมาน” การต่อสู้ร้องความเป็นธรรมของครอบครัวชื่นจิตร จ.ปราจีนบุรี บนเส้นทางการต่อสู้คดีซ้อมทรมานยาวนาน 10 ปี ในขณะที่คดีฟ้องเจ้าพนักงานอยู่ระหว่างถึงศาลฎีกา แต่เจ้าพนักงานกลับฟ้องกลับนายฤทธิ์รงค์ ชื่นจิตร ให้การเท็จ ซึ่งต้องต่อสู้คดีแทรก และศาลมีคำพิพากษาเชื่อว่านายฤทธิรงค์ให้การเท็จ และมีโทษสั่งปรับ 100,000 บาท จากเหยื่อซ้อมทรมานกลายเป็นจำเลย ขณะที่เจ้าพนักงานอยู่ระหว่างรอลงอาญา

 

ตอนที่ 3 “น้ำตาชาวซับหวาย เมื่อลุกป้องสิทธิ์ผืนทำกิน”  การต่อสู้ปกป้องสิทธิ์ที่ดินทำกินของชาวบ้านซับหวาย จ.ชัยภูมิ ชาวบ้าน 13 คน ต้องถูกจำคุกในข้อหาบุกรุกป่า ทั้งที่การพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินยังไม่แล้วเสร็จ การบังคับให้ชาวบ้านย้ายที่ทำกินออก เพื่อผลงานขอคืนพื้นที่ป่า ทำให้ชาวบ้านที่มีที่ดินทับซ้อนในเขตอุทยานและป่าสงวนได้รับผลกระทบ หมู่บ้านซับหวายจะกลายเป็นโมเดลการจัดการที่หน่วยงานรัฐฟ้องประชาชนทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง เพื่อกดทับ ปิดเสียง ปิดช่องทางการต่อสู้ในสิทธิที่ดิน

 

ตอนที่ 4 “ภาพจำ 2 ปีของชาวเทพ ในวันที่เข้มแข็งกว่า” การต่อสู้เพื่อขอให้มีส่วนร่วมโครงการรัฐ จากกลุ่ม “เทใจให้เทพา” แกนนำชาวบ้าน 17 คนถูกจับในปี 2557 ข้อหาชุมนุมโดยไม่ขออนุญาติและตั้งข้อหาร้ายแรง เช่นการพกพาอาวุธให้กับแกนนำ เป็นการสร้างเงื่อนไขการประกันตัวให้ยากขึ้น ขณะที่ภายหลังศาลยกฟ้อง 15 คน แต่จนถึงขณะนี้การต่อสู้ยังไม่แล้วเสร็จ ชาวบ้านยังคงส่งเสียงตัวเองเพียงเพื่อให้มีส่วนร่วมในการทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

ตอนที่ 5 “ทางออก ทางแก้ ทางตัน คดีฟ้อง SLAPPs ในไทย” เป็นการนำเสนอช่องว่างของกฎหมายที่เอื้อให้มีการฟ้องปิดปาก และนำเสนอแนวทางการแก้ไขทางกฎหมาย เพื่อเสนอแนะสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อลดการฟ้องปิดปาก

อย่างไรก็ตาม สารคดีชุด “SLAPPs ฟ้องปิดปาก ปิดเสียง” ผู้ผลิตต้องการสะท้อนให้เห็น 4 กลุ่มคน 4 เรื่องราว แม้จะอยู่คนละสถานที่ แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ เส้นทางการต่อสู้คดีของประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจมากกว่า ความไม่หวาดหวั่นกับความยากลำบากและผลกระทบต่อความยุ่งยากในคดี โดยในหน้าที่สื่อมวลชนคือการถ่ายทอดเรื่องราวข้อเท็จจริง ทัศนคติ และข้อเสนอแนะ เพื่อหวังว่าอาจจะสร้างกำลังใจให้บุคคลที่กำลังอยู่ในขั้นตอนฟ้อง SLAPPs ได้มีกำลังใจและขณะเดียวกันได้พบทางออก ดังนั้นในตอนที่ 5 ได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ทางออก ทางแก้ ถึงแนวทางการป้องกันการฟ้อง SLAPPs

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า