Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ราวหนึ่งสัปดาห์จากการเสียชีวิตของ ‘แตงโม นิดา’ คดีนี้ยังคงครองพื้นที่ข่าวของโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์หลายแห่ง ท่ามกลางปริศนามากมายที่โซเซียลมีเดียเกาะติดและสืบเสาะกันอย่างใกล้ชิด การนำเสนอข่าวคดีการเสียชีวิตของ ‘แตงโม นิดา’ ของสื่อมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลากหลายแง่มุม

“สังคมกำลังร่วมเขียนนิยายนักสืบกัน โดยมีสื่อมวลชนเป็นเวที เป็นแพลตฟอร์มในการที่จะให้คนมานั่งเขียนนิยายนักสืบ” รศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นผ่านรายการ ‘นั่งคุยLIVE’ ทางช่อง ‘UnPuwanart อั๋น ภูวนาท’

รศ.ดร. ยุกติ มองว่า ตอนนี้ทั้งสังคมไทยได้สร้างห้องสนทนา (Chat Room) ขนาดใหญ่ และปัจจุบันไม่มีพรมแดนระหว่างสื่อโซเชียลมีเดียและสื่อกระแสหลัก ซึ่งหายไประหว่างช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยเช่นกัน

หนึ่งในรายการข่าวที่เกาะติดเรื่องนี้คือ ‘โหนกระแส’ ทางช่อง 3 ซึ่งได้รับความนิยมและเปิดประเด็นปริศนาใหม่อยู่บ่อยครั้ง จนแฮชแท็กชื่อรายการติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในทุกรอบที่ออนแอร์ อย่างไรก็ตามบทบาทการทำงานของ หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย พิธีกรข่าวถูกวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการสัมภาษณ์ ซึ่งบางประโยคดูราวกับเป็นการ “สั่งสอน” แหล่งข่าว

ระหว่างไลฟ์พูดคุยในหัวข้อ ‘Mirror Mirror! สะท้อน #แตงโม ผ่านมายาคติของสังคมไทย’ หนุ่ม-กรรชัย ได้เข้ามาชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าว และร่วมแสดงความคิดเห็นถึงบทบาทของสื่อมวลชนด้วย

“บางท่านอาจจะมองว่าสื่อไปชี้นำหรือเปล่าว่ามันเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น อย่างนู้น แต่ทีนี้อีกมุมหนึ่งผมเองก็มองว่าสื่อเองก็พยายามแก้ปมของสังคมเหมือนกันว่าสังคมสงสัยอะไร สื่อไปตามให้ เพราะว่าสุดท้ายแล้วมันก็ยังไม่มีความชัดเจน” หนุ่ม กรรชัย แสดงความคิดเห็น ก่อนระบุว่าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์และออกมาแถลงได้เร็วเท่าไหร่ เรื่องก็จะจบเร็วเท่านั้น

รศ.ดร. ยุกติ ตั้งคำถามว่าสื่อกระแสหลักจะสามารถดึงให้สังคมเติบโตมากขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่ นอกจากการเขียนนิยายนักสืบกัน เช่น การเปิดประเด็นในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม หรือใครบ้างที่มีสิทธิ์นำเรือลงแม่นำ้เจ้าพระยาได้ และคนเหล่านั้นได้รับอนุญาตและทำตามระเบียบอย่างไร มีความหละหลวมในการควบคุมการใส่เสื้อชูชีพหรือไม่ การสืบสวนและทำประเด็นใหม่ๆ จะทำให้สังคมได้คิดอะไรที่มันแหลมคมหรือกว้างขึ้น

หนุ่ม-กรรชัย เห็นด้วยกับข้อเสนอของ รศ.ดร.ยุกติ โดยรับปากจะนำไปปรับปรุง พร้อมสะท้อนเพิ่มเติมว่า “ผมก็พยายามสอดแทรกเรื่องราวเหล่านี้เข้าไปในแต่ละครั้งเหมือนกัน ต้องยอมรับอย่างนึงว่าบางครั้งพอเราสอดแทรกเรื่องราวพวกนี้เข้าไป บางทีมันเหมือนเสียงมันไม่ได้ดัง”

“ในมุมของผม ผมก็พยายามที่จะปรับเปลี่ยนให้คนหรือประชาชนได้เสพข้อมูลที่เป็นความรู้บ้าง แต่เชื่อไหมครับว่าในทุกๆ ครั้งที่ทำไป ส่วนใหญ่แล้วคนไม่ค่อยจะดูเลย มันไม่ค่อยอิมแพค มันไม่ค่อยเป็นประเด็นเกิดขึ้น แต่อันนี้ขอโทษนะ ผมพูดตามหลักความเป็นจริงเลยนะ เมื่อไหร่ที่ผมเอาเรื่องผัวเมียมาออกนะ โอ้โห เชื่อไหมว่าปีนี้ผมได้รางวัลของ YouTube ยอดวิวคนดูเยอะที่สุดคืออะไรรู้ไหมฮะ ผัวเมียตีกัน” กรรชัยกล่าว

รศ.ดร. ยุกติ ทิ้งท้ายว่าควรเกิดการเรียนรู้ทั้งสองทาง คือทั้งสื่อมวลชนและสังคม โดยสำหรับสื่อมวลชนควรจะมีกรอบหรือขอบเขตบางอย่างในการทำข่าวที่มีความละเอียดอ่อน เกี่ยวกับความสูญเสีย และมีความกำกวมในมิติต่างๆ เนื่องจากสื่อมวลชนมีส่วนที่จะประคองให้เรื่องเช่นนี้ ไม่ให้กลายเป็นดราม่าไปมากขนาดนี้

workpointTODAY พูดคุยหาทางพัฒนาแวดวงสื่อมวลชนกับ ผศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีข้อเสนอ 3 เรื่องให้สื่อถอดบทเรียนจากการนำข่าวคดี ‘แตงโม’

1. สื่อต้องเป็นผู้กำหนดวาระ – ผศ.ดร.วิไลวรรณ ชี้ว่าสื่อต้องรู้ตัวเองว่าเป็นสื่อวิชาชีพ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดวาระทางสังคม แต่เมื่อครั้งนี้สื่อเป็นคนเล่นประเด็นตามสื่อออนไลน์ กลายเป็นผู้กำหนดวาระคือสื่อโซเซียลมีเดีย นำมาสู่คำถามว่าเมื่อเป็นเช่นนี้สื่อกระแสหลักจะแตกต่างอย่างไร หากหาความแตกต่างไม่ได้ สื่อกระแสหลักก็ไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว

2. สื่อต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล – ในครั้งนี้สื่อกำลังทำบทบาทของนักสืบสวน ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การทำเกินหน้าที่ทำให้ละเมิดสิทธิของผู้เสียชีวิตและละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สื่อทำให้คนที่ยังไม่ใช่ผู้ต้องหากลายเป็นจำเลยของสังคมไปแล้ว

3. สื่อต้องแข่งเรื่องการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างมากกว่าแข่งเรื่องเรทติ้ง – ผศ.ดร.วิไลวรรณ มองว่านักข่าวไทยยังคงกลัวเรื่อง “ตกข่าว” หวังเรทติ้งและเอนเกจเมนท์ การนำเสนอข่าวคดี ‘แตงโม’ นี้ สื่อไม่ได้แข่งกันเลยที่จะเสนอคอนเทนท์ที่แตกต่าง ไม่ได้หาเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร

“อันนี้คือน่าเศร้า ทั้งๆ ที่เราอยู่ในยุคดิจิทัล เรามีแพลตฟอร์มเยอะแยะมากมายแล้ว กลุ่มเป้าหมายมัน Niche (เฉพาะทาง) มากขึ้นแล้ว แต่ท้ายสุดเรื่องแตงโมครั้งนี้ก็สะท้อนว่าสื่อก็ยังตกอยู่ในกรอบวัฒนธรรมการทำข่าวเดิมๆ ที่ไม่กล้าที่จะนำเสนอสิ่งที่แตกต่าง ไม่กล้านำเสนอข้อมูลที่หลากหลายภายใต้คำว่ากลัวตกข่าว” ผศ.ดร.วิไลวรรณ กล่าว พร้อมเสนอทางออกว่าทุกวันนี้องค์กรสื่อเปิดรับสมัครงานนักข่าวโดยดูจาก Hard Skill เป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วองค์กรข่าวควรเห็นความสำคัญของการรับนักข่าวที่มีความรู้เฉพาะทางมากขึ้น เพื่อให้เกิดเนื้อหาเชิงลึกที่หลากหลายต่อผู้รับสาร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า