SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า แชมป์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกประจำฤดูกาล 2019-20 คือสโมสรลิเวอร์พูล ที่มีแต้มเหนืออันดับที่ 2 อย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ 23 คะแนน ในขณะที่เหลือการแข่งขันอีกเพียง 7 นัด ทำให้พวกเขาได้รับการการันตีว่าจะเข้าป้ายเป็นอันดับหนึ่งแน่นอน 100% แล้ว

ผลงานในสนามของพวกเขาเรียกว่าเกือบจะไร้เทียมทานเลยก็ว่าได้ แต่ผลงานนอกสนามที่ทำให้พวกเขาได้มายืนบนจุดสูงสุด ก็เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

แม้ฟุตบอลจะเป็นธุรกิจที่มีรายได้มหาศาล โดยเฉพาะสโมสรพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ที่มหาเศรษฐีทั่วโลกต่างอยากจะเข้ามาครอบครอง แต่ก็ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำกำไรได้ง่ายนัก และต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเฉพาะทางพอสมควรในการบริหารงานให้อยู่รอดได้

เฟนเวย์สปอร์ตกรุ๊ป หรือเรียกสั้น ๆ ว่า FSG คือกลุ่มทุนอเมริกันนำโดย จอห์น วิลเลี่ยม เฮนรี่ ที่ตัดสินใจเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรลิเวอร์พูลในปี 2010 ซึ่งในเวลานั้นเป็นทีมอันดับ 7 บนตารางคะแนนพรีเมียร์ลีก

ในเวลาไม่ถึง 10 ปี FSG (ที่ใช้ชื่อว่า NESV ในตอนนั้น) ได้เปลี่ยนหงส์แดงจากที่กำลังค่อย ๆ ร่วงลงอย่างช้า ๆ กลายมาเป็นนกที่บินสูงจนคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก รวมถึงแชมป์พรีเมียร์ลีกที่รอคอยมา 30 ปีได้สำเร็จ

แน่นอนว่าส่วนสำคัญที่ทำให้ยอดทีมแห่งเมอร์ซี่ย์ไซด์ประสบความสำเร็จ ต้องยกเครดิตให้ เยอร์เกน คล็อปป์ ที่ถูกดึงตัวมาคุมทีมในปี 2015 และก็ได้กลายเป็นฮีโร่ของผู้คนครึ่งเมืองไปเรียบร้อยแล้ว

แต่แค่ผู้จัดการทีมชาวเยอรมันเพียงคนเดียว อาจไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ หากปราศจากการสนับสนุนที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องข้อมูลสำหรับซื้อขายนักเตะ และเรื่องการเงิน

ในการดูแลเรื่องตลาดนักเตะ ไมเคิล เอ็ดเวิร์ดส์ ผู้อำนวยการด้านกีฬาของสโมสรเป็นผู้รับหน้าที่ในส่วนนี้ เขาได้เข้ามาดูแลและจัดการการซื้อขายผู้เล่น รวมถึงเจรจาเรื่องสัญญา จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ทำการประเมินมูลค่าของนักเตะได้ดีกว่าทีมอื่น ๆ ในลีก เขาจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยคล็อปป์สร้างทีมระดับโลกขึ้นมา

การดึงตัว เฟอร์กิล ฟาน ไดจ์ค (75 ล้านปอนด์) และ อลิสซอน เบคเกอร์ (66.8 ล้านปอนด์) ถูกนักวิจารณ์หลายคนค่อนขอดว่าเป็นการซื้อที่แพงเกินจริง แต่หลังจากทั้งคู่ได้โชว์ให้เห็นแล้วว่าสามารถเข้ามายกระดับทีมได้ขนาดไหน การซื้อนักเตะเข้ามาเป็นสถิติโลกสำหรับตำแหน่งกองหลังและผู้รักษาประตู กลับเป็นการลงทุนที่ถูกยกว่าคุ้มค่าขึ้นมาทันที

การจ้างคล็อปป์เข้ามาคุมทีม ก็เป็นอีกหนึ่งการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์เช่นกัน ไอเดียนี้เริ่มมาจาก ไมค์ กอร์ดอน ประธานของ FSG ที่นำโปรไฟล์ของอดีตกุนซือโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เข้าไปคุยกับ ทอม เวอร์เนอร์ ประธานสโมสรลิเวอร์พูล และ จอห์น เฮนรี่ ที่เป็นนายทุนเจ้าของเงิน

ทั้งสามคนเห็นตรงกันว่าคล็อปป์นี่แหละ คือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพที่โดดเด่น และประวัติการคุมทีม ที่นอกจากจะทำผลงานได้ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับทีมที่เคยคุมมาก่อนด้วย

หลังจากเลือกผู้จัดการทีมมารับผิดชอบเรื่องในสนามได้แล้ว ทาง FSG ก็หันไปมุ่งมั่นกับเรื่องนอกสนามเพื่อที่จะสนับสนุนให้คล็อปป์ทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะต่อให้คุณมีโค้ชที่เก่งระดับโลก แต่ถ้าปัจจัยเรื่องเงินและเรื่องการบริหารสัญญานักเตะไม่พร้อม ก็เปรียบเสมือนสิ่งที่ถ่วงทีมไว้ไม่ให้เดินเครื่องไปตามความเร็วที่ควรจะเป็นได้

ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นตัวถ่วงแล้ว การบริหารงานของ FSG ยังช่วยติดปีกให้กับทีมได้บินฉิวอีกด้วย
รายได้จากการค้า 2010 = 67.7 ล้านปอนด์ / 2019 = 188 ล้านปอนด์
รายได้จากวันแข่ง 2010 = 42.5 ล้านปอนด์ / 2019 = 83.3 ล้านปอนด์
รายได้จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด 2010 = 74.6 ล้านปอนด์ / 2019 = 263.8 ล้านปอนด์

เห็นได้ชัดว่าหลังผ่านไป 10 ปี รายได้ของลิเวอร์พูลในส่วนที่ยกมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนที่เพิ่มขึ้นมามากที่สุดคือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทั้งจากการแข่งขันพรีเมียร์ลีก ที่พวกเขาขยับจากการเป็นทีมกลางตารางมาเป็นทีมหัวตาราง อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งรายได้จากยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีกที่ปีนั้นไปถึงตำแหน่งแชมป์อีกด้วย

ส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาในวันแข่งขัน ส่วนสำคัญมาจากการตัดสินใจขยายที่นั่งผู้ชม ที่เปิดใช้งานในปี 2016 เพิ่มขึ้นอีก 8,500 ที่นั่ง ทำให้ในปี 2019 พวกเขามีรายได้รวมจากวันแข่งขันเป็นอันดับ 3 ของลีก เป็นรองเพียงแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ อาร์เซน่อล เท่านั้น

during the UEFA Champions League Quarter Final Leg One match between Liverpool and Manchester City at Anfield on April 4, 2018 in Liverpool, England.

เมื่อผลงานของทีมเริ่มดีขึ้น แฟนบอลเข้าสนามมากขึ้น ก็ทำให้มีรายได้จากการที่มีแบรนด์ดังเข้ามาสนับสนุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Standard Charter, Western Union, AXA, Nivea Men และ EA Sports ที่แต่ละเจ้าถือเป็นบริษัทใหญ่ที่มีการดำเนินกิจการไปทั่วโลก อีกทั้งยังมีพาร์ทเนอร์ที่อยู่ด้วยกันมายาวนานอย่าง Carlsberg

นอกจากบริษัทใหญ่ระดับโลกแล้ว ลิเวอร์พูลยังได้เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์กับแบรนด์ท้องถิ่นเช่นกัน ตัวอย่างเช่นการเซ็นสัญญาทางธุรกิจกับ Tatweer Misr ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ ALEXBANK ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์ ซึ่งเป็นการต่อยอดแบรนด์ด้วยการใช้สตาร์ดังของทีม โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ให้เป็นประโยชน์

นอกจากนี้ ยังมีการทำสัญญากับ Nike โดยขอค่าเซ็นสัญญาเพียง 30 ล้านปอนด์ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขเดิมที่ New Balance ผู้ผลิตชุดแข่งเดิมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับทีม แต่ในสัญญาใหม่กับ Nike ทางลิเวอร์พูลได้ขอส่วนแบ่งจากการขายเสื้อจำนวน 20% ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าลิเวอร์พูลจะได้เงินจากส่วนนี้อยู่ที่ 75-80 ล้านปอนด์ หากทำผลงานได้ดี และตอนนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่ถูกต้องอีกครั้ง

การที่สโมสรมีรายได้มากขึ้น ย่อมหมายถึงวงเงินใช้สอยที่ใช้จ่ายได้มากขึ้นด้วย จากปี 2015 ที่ลิเวอร์พูลจ่ายค่าเหนื่อยให้นักเตะเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 67,500 ปอนด์ ปัจจุบันในปี 2020 ทีมสามารถดึงนักเตะเกรด A มาร่วมทีมได้มากขึ้น และค่าเฉลี่ยดังกล่าวได้เพิ่มมาเป็น 106,500 ปอนด์

แม้การมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นอาจจะไม่ใช่เรื่องน่าพิสมัยเท่าใดนัก แต่ต้องไม่ลืมว่าในวงการฟุตบอลนั้น นักเตะแต่ละคนมีมูลค่าในตัวเอง ถ้าว่ากันตามหลักการบัญชีก็คือ สิทธิในการลงทะเบียนนักเตะถือเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่มีการเปลี่ยนมือได้

การจ้างนักเตะที่แพงขึ้น แต่ถ้าเป็นการเลือกทำสัญญากับนักเตะที่ทำผลงานได้ดีแล้วล่ะก็ มูลค่าของตัวนักเตะก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน และปัจจัยเหล่านี้เองก็ทำให้มูลค่าประเมินของสโมสรลิเวอร์พูลพุ่งทะยานขึ้น 112% ภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของยุโรป เป็นรองเพียงท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ เท่านั้น โดยในปี 2019 นิตยสาร Forbes ประเมินว่าสโมสรลิเวอร์พูลมีมูลค่าประมาณ 1,760 ล้านปอนด์

ในขณะที่เมื่อ 10 ปีก่อน FSG ซื้อสโมสรลิเวอร์พูลมาในราคา 300 ล้านปอนด์เท่านั้นเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า