Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักพระราชวังบักกิงแฮม ออกแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดีที่ 8 .. 2565 ระบุว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กษัตริย์ผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักรเสด็จสวรรคตแล้ว ที่ปราสาทบัลมอรัล ในสกอตแลนด์ สิริพระชนมพรรษา 96 พรรษา หลังจากทรงครองราชย์มายาวนาน 70 ปี 

ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 27 ปี เมื่อปี 1952 ตั้งแต่ยุคที่ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยการครองราชย์ที่ยาวนานนั่นทำให้พระองค์เผชิญความเปลี่ยนผ่านจากนานาเหตุการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์มากมาย และที่สุดควีนเอลิซาเบธที่ 2 ยังอยู่ในสถานะที่เป็นแบรนด์ไอคอนระดับโลกมายาวนาน และรับรู้กันดีว่า ภาพลักษณ์และความเป็นไอคอนป๊อปของพระองค์มีส่วนส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่ชื่นชอบและสนใจวัฒนธรรมขนบราชวงศ์อังกฤษเข้ามา และดึงเม็ดเงินได้มหาศาล จนอาจกล่าวได้ว่า หากฟุตบอลพรีเมียร์ลีกส์ วงดนตรี The Beatles คือ พลังแห่ง Soft Power ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ก็ทรงเป็นแบรนด์ไอคอนที่เป็นพลัง Soft Power ให้อังกฤษด้วยเช่นกัน

ในบทความเรื่อง Five reasons why the Queen is good for UK business ของศาสตราจารย์ ชิง หวาง (Qing Wang) ผู้สอนวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ Warwick Business School ได้ทำการวิจัยทางธุรกิจและการตลาดไว้ว่า ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ถือเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นในแง่ของมรดกและประวัติศาสตร์เชิงประเพณีของสหราชอาณาจักร และยังเป็นสิ่งได้เปรียบที่อังกฤษสามารถนำไปขยายประโยชน์ในการทำการตลาดสินค้าและบริการไปยังตลาดต่างประเทศได้ด้วย

บทความระบุว่า สมเด็จพระราชินีไม่เพียงแต่ทรงมีส่วนสำคัญในรายได้เข้าประเทศ 5 พันล้านปอนด์ต่อปีที่นักท่องเที่ยวนำมายังสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ศักยภาพความเป็นไอคอนป๊อปของพระองค์ยังมีส่วนสนับสนุนโปรดักส์และธุรกิจส่งออกของประเทศอีกด้วย 

โดยในการทำวิจัยกลุ่มตัวอย่างชาวจีน มีการสอบถามกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนว่ามีมุมมองอย่างไรเมื่อถามถึงสหราชอาณาจักร ปรากฎว่าอันดับหนึ่งเลยนึกถึงสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ที่ค่าเฉลี่ย 25.1 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อถามถึงอะไรคือปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีราคาสูง ปรากฎว่าผู้บริโภคชาวจีนมองเรื่องของการที่แบรนด์สินค้านั้น ๆ มีความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ ควบคู่ไปกับเรื่องคุณภาพสินค้าที่ยอดเยี่ยม ความหมายของแบรนด์ และสัญลักษณ์สถานะ 

อีกจุดสำคัญคือการที่แบรนด์สินค้า ธุรกิจ ห้างร้านหลาย ๆ แบรนด์ในสหราชอาณาจักรจำนวนหนึ่งได้รับตรารับรองพระราชทานหรือ Royal Warrant ที่นัยหนึ่งแสดงสถานะถึงหนึ่งในเกียรติสูงสุด และยังสามารถนำตรานี้ไปแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจที่เหล่าเชื้อพระวงศ์มีต่อแบรนด์ในการเลือกใช้งานสินค้าจากแบรนด์ ที่มีตั้งแต่เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า ข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ซึ่งตรานี้มีส่วนช่วยรับรองคุณภาพและแบรนด์ก็สามารถใช้โปรโมททางการตลาดได้ด้วย 

โดยมีแบรนด์ต่าง ๆ ที่ได้รับตรารับรองพระราชทานนี้มากกว่า 800 ราย มีตั้งแต่ช่างฝีมือรายบุคคลไปจนถึงบริษัทข้ามชาติ แน่นอนว่าได้ช่วยเพิ่มความสามารถทางการตลาดให้แบรนด์ต่าง ๆ และตรานี้ก็ถูกใช้เป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ ซึ่งงานวิจัยของศาสตราจารย์ ชิง หวาง ระบุว่า ผู้ซื้อชาวจีน 57% ให้ความเห็นว่า Royal Warrant มีความสำคัญในการเพิ่มความต้องการซื้อสินค้าที่เป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์สัญชาติอังกฤษ 

ควีนเอลิซาเบธที่ 2

จากการจัดอันดับ The Soft Power 30 โดยบริษัทประชาสัมพันธ์ Portland รวมทั้งสำรวจข้อมูลทางดิจิทัลของผู้บริโภคผ่านโซเชียลมีเดีย และการทำโพลโดย ComRes พบว่าอังกฤษอยู่ในลำดับต้น ๆ ของโลก 

แม้การวัดพลังและประเมินว่าบทบาทของควีนเอลิซาเบธนั้นมีผลต่อ Soft Power จะบอกออกมาเป็นตัวเลขเป๊ะๆไม่ได้ เพราะยากที่จะวัด แต่ด้วยบทบาทและภาพลักษณ์ของพระองค์ตลอดจนสมาชิกราชวงศ์ชั้นสูงกับความสัมพันธ์ทางการทูตนั้นได้ช่วยส่งเสริมพลัง Soft Power และสร้างแบรนด์ให้อังกฤษอย่างปฏิเสธไม่ได้

Investment Monitor ระบุว่า แม้อังกฤษจะไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจเช่นในอดีต จากยุคจักรวรรดิได้เปลี่ยนเป็นเครือจักรภพ แต่ในบทบาทของการใช้ Soft Power แล้วประเทศนี้โดดเด่นที่สุด หากพูดกันแบบรัฐศาสตร์การปกครอง Hard Power ถูกพูดถึงและนำไปใช้ในรูปแบบของการบีบบังคับ การใช้กำลัง การคุกคาม การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เป็นต้น แต่ Soft Power นั้นเกี่ยวข้องกับการดึงดูดและการโน้มน้าวใจเชิงบวกให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายต่างประเทศ ซึ่งในดัชนี Global Soft Power Index 2022 จัดทำโดย Brand Finance อังกฤษอยู่ในอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น 

เวลาพูดถึงว่าประเทศไหนมี  Soft Power เด่น ๆ จะวัดกันใน 3 เรื่องหลัก คือ นโยบาย ค่านิยมทางการเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งสหราชอาณาจักรนั้นโดดเด่นเรื่องวัฒนธรรมมายาวนาน มีนักเขียนที่เป็นป๊อปคัลเจอร์ระดับโลกในอดีตตั้งแต่เช็คสเปียร์, ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ จนถึงยุคเจ.อาร์.อาร์.โทลคีน เจ้าของนวนิยาย The Lord of the Rings เจ.เค.โรว์ลิง ผู้แต่ง Harry Potter มีวงดนตรี The Beatles ยุค 60, Spice Girls ยุค 90 จนถึง เอ็ด ชีแรน, อะเดล รวมทั้งอินฟลูเอนเซอร์แวดวงวิทยาศาสตร์อย่าง สตีเฟ่น ฮอว์คิง, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, อลัน ทัวริ่ง, ไมเคิล ฟาราเดย์ หรือแม้กระทั่ง เดวิด เบคแฮม ก็เข้าข่ายตัวอย่าง Soft Power และแน่นอนว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2 และราชวงศ์ก็ถูกนับในข่ายนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพิจารณาว่าสิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรมอังกฤษที่เข้าไปอยู่ในทั่วทุกมุมโลก 

ควีนเอลิซาเบธที่ 2

เราจึงได้เห็น ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เข้าไปอยู่ในกระแสวัฒนธรรมป๊อปในอีเวนต์ใหญ่ระดับประเทศ อาทิ พิธีเปิดโอลิมปิกที่กรุงลอนดอนปี 2012 ที่พระองค์เข้าฉากร่วมแสดงพร้อมกับสายลับเจมส์บอนด์ 007 (แดเนียล เคร็ก) จนเป็นไวรัลและได้รับเสียงตอบรับที่ดี

ล่าสุดในงาน Platinum Jubilee ที่จัดเฉลิมฉลองถวายแด่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่ทรงครองราชย์ครบ 70 ปี เมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา พระองค์ได้ร่วมแสดงในหนังสั้นที่โยงเข้าสู่การแสดงคอนเสิร์ตเพลง We will rock you ที่หน้าวังบัคกิ้งแฮม โดยพระองค์เข้าฉากกับหมีแพดดิงตันที่มาร่วมดื่มน้ำชาในวัง และทรงเคาะถ้วยน้ำชาตามจังหวะอินโทรของเพลงดัง ซึ่งหนังสั้นนี้ก็ได้กระแสตอบรับอย่างดี โดยในวาระเฉลิมฉลองนี้รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นช่วงวันหยุดยาว มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งพิธีสวนสนาม คอนเสิร์ต ผับบาร์เปิดฉลอง มีการจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆที่เกี่ยวกับควีนเอลิซาเบธตั้งแต่ชุดชา แก้วน้ำ ตุ๊กตาบาร์บี้ล้อเลียนควีน ขนมปัง ช็อคโกแลตรูปสุนัขพันธุ์คอร์กี้ ที่เป็นพันธุ์โปรดของควีน โดยมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอังกฤษกว่า 6 พันล้านปอนด์

และนั่นก็เป็นอีเวนต์ประวัติศาสตร์สุดท้ายที่แสดงให้เห็นถึงพลัง Soft Power ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แบรนด์ไอคอนแห่งสหราชอาณาจักร ผู้มีชีวิตข้ามผ่านยุคสมัยตั้งแต่คร้ังที่ยังต้องนั่งเรือกลไฟข้ามไปอเมริกา จนถึงยุคที่นั่งเครื่องบินได้ง่ายๆ ได้ดูทีวีตั้งแต่ยุคแรกขาวดำ จนอาจได้เห็นละครชีวิตพระองค์เองในสตรีมมิ่ง Netflix

ควีนเอลิซาเบธที่ 2

อ้างอิง

https://www.wbs.ac.uk/news/five-reasons-why-the-queen-is-good-for-uk-business/

https://www.investmentmonitor.ai/comment/uk-soft-power-influence-investment

https://www.bangkokbiznews.com/world/1007741

https://www.mendetails.com/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า