SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์โควิด-19 ไทยวันนี้พบผู้ป่วยเพิ่ม 230 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นชายอายุ 67 ปี มีประวัติเชื่อมโยงสถานบันเทิง กทม.

วันที่ 16 ม.ค.2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ประเทศไทยพบจำนวน ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 230 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 83 ราย การค้นหาเชิงรุกในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ 126 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 21 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 11,680 ราย พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 70 คน

สำหรับผู้เสียชีวิตรายใหม่ เป็นชายอายุ 67 ปี จ.กทม. ยังไม่ทราบประวัติโรคประจำตัว
วันที่ 21 และ 23 ธ.ค.63 ไปสถานบันเทิง
วันที่ 24-27 ธ.ค.63 มีอาการไข้ ไอ เสมหะ
วันที่ 29 ธ.ค. 63 ทราบว่ามีพนักงานสถานบันเทิงติดโควิด
วันที่ 30 ธ.ค.63 ไปตรวจพบติดเชื้อ มีการปอดอักเสบ
วันที่ 14 ม.ค.64 มีการปอดอักเสบ มีไตวายเฉียบพลัน และเสียชีวิต

นพ.ทวีศิลป์ สรุปสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 จาก 4 คลัสเตอร์ ดังนี้
1. กลุ่มเชื่อมโยงกับบ่อนการพนันในภาคตะวันออก
– พบผู้ป่วยทั้งหมด 702 ราย
– เสียชีวิตในกลุ่ม 2 ราย
– แนวโน้มพบลดลงเหลือน้อยแล้ว

2. กลุ่มสถานบันเทิงใน กทม.
– พบผู้ป่วย 197 ราย
– เสียชีวิตในกลุ่มนี้ 1 ราย
– ยังคงพบอยู่ประปราย

3. กลุ่มสนามชนไก่ อ่างทอง
– พบผู้ป่วย 129 ราย
– ยังไม่มีเสียชีวิตในกลุ่มนี้
– แนวโน้มลงมาแล้ว

4. กลุ่มเชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง ที่ไม่รวมยอดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัด กระจายไป 43 จังหวัด
– พบผู้ป่วย 564 ราย
– ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง

คำถาม : สถานการณ์ใน กทม.ที่ยังพบผู้ติดเชื้อรายวัน และใน กทม.จะมีมาตรการเพิ่มเติมหรือไม่

นพ.ทวีศิลป์ ยอมรับว่า ได้มีการพูดคุยกันในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก และยังมีความกังวล เนื่องจากยังมีเคสใน กทม. พบผุ้ป้วยมากที่สุดวันที่ 7 ม.ค.มีผู้ติดเชื้อ 49 ราย และค่อยๆ ลดลงมา แต่ก็ยังเป็นตัวเลข 2 หลักมาตลอด

จากกราฟยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ คาดว่าเมื่อครบระยะเวลา 14 วัน แนวโน้มน่าจะดีขึ้น แต่ตัวเลข 2 หลักก็ยังไม่น่าไว้วางใจ

ที่น่าห่วงคือ ผู้ที่มีการสัมผัสและมีประวัติเสี่ยงสูง บางครั้งตามและแจ้งเตือน แต่ก็ไม่ว่างมาตรวจและอาการไม่ออก ยังคงเดินทางไปทั่วทุกที่

ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้คนมีความเสี่ยงสูง อยู่กับที่และรีบไปตรวจหาเชื้อ แม้ว่าตรวจครั้งแรกยังไม่เจอ ก็ขอให้ไปตรวจซ้ำในช่วงระยะเวลา 5-7 วัน ระหว่างนั้นต้องไม่เดินทางไปไหน และแยกตัวออกจากคนในครอบครัว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า