SHARE

คัดลอกแล้ว

 

วันนี้ (11 กุมภาพันธ์ 2564) แอมเนสตี้ประเทศไทยแถลง ชี้การคุมขังก่อนพิจารณาคดีในคดี 112 เป็นการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมมิชอบ ย้ำให้ทางการไทยทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวถึงกรณี4 แกนนำผู้ชุมนุมถูกคุมขังระหว่างรอการพิจารณาคดีว่า  “ทางการไทยยังคงใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมโดยมิชอบ เพื่อปิดปากไม่ให้บุคคลวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและปัญหาสังคม  และเป็นส่วนหนึ่งในการยืนยันถึงรูปแบบการคุมขังอย่างยาวนานก่อนพิจารณาคดีของผู้ถูกกล่าวหาในคดี 112 ภายใต้บริบทของความมั่นคงของรัฐ” 

แถลงการณ์ดังกล่าวออกมาหลังวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 อัยการสั่งฟ้อง พริษฐ์ ชิวารักษ์ อานนท์ นำภา สมยศ พฤกษาเกษมสุข และปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และข้อหาอื่น จากการชุมนุม “19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” ณ สนามหลวงเมื่อวันที่ 19 – 20 กันยายน 2563 โดยพริษฐ์ถูกสั่งฟ้องมาตรา 112 อีกหนึ่งคดีจากการชุมนุม “ม็อบเฟส” ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 

ต่อมาศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว แกนนำทั้ง 4 คนจึงถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างรอการพิจารณาคดี จนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ประกันตัวหรือจนกว่าคดีจะจบ ซึ่งยังไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอน 

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ยังคงเน้นย้ำให้ว่าการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งทางการไทยได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ อีกทั้งการใช้เสรีภาพดังกล่าวยังถูกระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2560 อีกด้วย”

การพิจารณาคดีมีลักษณะ ‘เร่งรัด’

การสั่งฟ้องของอัยการครั้งนี้นับเป็นการสั่งฟ้องความผิด ม.112 ครั้งแรกหลังมีคลื่นการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลมาตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2564 โดยนายนรเศรษญ์ นาหนองตูม ทนายความประจำศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า อัยการใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 วันเท่านั้น

“ผู้ต้องหาจะขอให้ตำรวจสอบสวนพยานเพิ่มเติมแต่อยู่ระหว่างประสานงาน ก็ถูกเร่งรัดสั่งฟ้องคดี ผู้ต้องหายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้สั่งสอบสวนพยานฝ่ายผู้ต้องหาเพิ่มเติมบ้าง พนักงานอัยการก็แจ้งว่าหนังสือขอความเป็นธรรม ไม่มีเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งฟ้อง และยืนยันจะยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดในวันนี้” นรเศรษฐ์ระบุผ่านเฟสบุ๊ก

กระแสความกังวลว่าจะมีการฝากขังและสั่งขังระหว่างพิจารณาคดี เกิดขึ้นหลังจากที่พลเอก หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคลโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ตั้งคำถามว่าเหตุใดตุลาการจึงให้ประกันตัวผู้กระทำผิดตามมาตรา 112

ขณะที่วานนี้ ( 8 ก.พ. 63) ผู้รายงานพิเศษและคณะทำงานแห่ง

สหประชาชาติออกจดหมายแสดงความกังวลต่อการใช้ ม.112 ต่อผู้วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะการลงโทษอย่างรุนแรงและการดำเนินคดีที่เพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่เดือนต.ค. 2563

จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 58 ราย ใน 44 คดี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า