Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงเกษตรฯ เสนอคลัง เคาะจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ครัวเรือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน 

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 22 เมษายนว่า เตรียมเสนอมาตรการเยียวยาเกษตรก ตามจำนวนทะเบียนเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 9 ล้านทะเบียนเกษตรกร วงเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน หรือ 15,000 บาทต่อทะเบียนเกษตรกร

โดยเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ในวันที่ 23 เม.ย.นี้ ซึ่งมาตรการเยียวยาเกษตรกรคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 135,000 ล้านบาท ผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สำหรับการลงทะเบียนขอรับการเยียวยาผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน มีการระบุว่า ผู้ที่ลงทะเบียนมากกว่า 10 ล้านคนเป็นเกษตรกร มีการชี้แจงระบบการลงทะเบียนเกษตรกรว่า การลงทะเบียนผู้ที่เป็นเจ้าของทะเบียน ได้ลงชื่อลูกหลานเข้าไปด้วย ทำให้ใน 10 ล้านคน ระบบระบุว่า มีอาชีพเกษตรกร แต่ในจำนวนนั้นมีประมาณ 3-4 ล้านคนเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของทะเบียน เพื่อที่กระทรวงเกษตรฯ จะช่วยเหลือเอง ดังนั้นอีกประมาณ 6-7 ล้านคน หากมีการอุทธรณ์ หรือกระทรวงการคลังให้ทบทวนสิทธิ์ กลุ่มนี้ต้องได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน

หากพิจารณาโดยลึกแล้วจะเห็นว่า เกษตรกรเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนอยู่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 อาจจะดูเหมือนไม่ได้รับผลกระทบ แต่แท้จริงแล้ว ทำให้พืชผลเหลือค้างจำหน่ายไม่ได้เป็นจำนวนมาก หากไม่ได้รับการช่วยเหลือเลยก็จะไม่เป็นธรรมเมื่อเทียบกับอาชีพกลุ่มอื่น

ดังนั้นต่อไปนี้การช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรฯ ในมาตรการดังกล่าว จะช่วยตามรายทะเบียนที่มีประมาณ 9-10 ล้านทะเบียนเท่านั้น ไม่นับเป็นราย ซึ่งจะมีมากกว่า 16-17 ล้านราย แบ่งเป็นที่ขึ้นกับกรมส่งเสริมการเกษตร 6.1 ล้านทะเบียน ประมงไม่เกิน 1 ล้านทะเบียน ปศุสัตว์ 3 ล้านทะเบียน ซึ่งจะปรับปรุงจำนวนทุกรอบการผลิต

อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือดังกล่าวเป็นภาวะที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการประกันรายได้เกษตรกร ทั้งชาวสวนปาล์ม ยาง ข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งยังเดินหน้าตามการประกันรายได้ต่อไป นอกจากนี้เกษตรกรอาจได้รับมาตรการฟื้นฟูเพิ่ม ในกรณีที่ผลผลิตได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติและอื่นๆ ที่เป็นมาตรการช่วยเหลือปกติตามสถานการณ์

ล่าสุด กระทรวงเกษตรฯ แจ้งให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกร และเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้วต้องปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนเกษตรกร เพื่อรับสิทธิเยียวยาจากผลกระทบโควิด-19 และมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ของรัฐ

เพราะหากไม่มีการปรับปรุงสถานะในระบบติดต่อกัน 3 ปี ตามที่นายทะเบียนประกาศให้ปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร (ในปี 2561 นายทะเบียนประกาศให้ปรับปรุงข้อมูล เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560) สถานภาพเกษตรกรจะสิ้นสุดลง ทำให้ไม่สามารถรับสิทธิต่างๆได้

ปัจจุบัน มีข้อมูลทะเบียนเกษตรกรในระบบทั้งประเทศ 7,522,003 ครัวเรือน และมีผู้ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแล้ว 6,196,346 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 130 ล้านไร่ คิดเป็นสมาชิกครัวเรือนรวม 16,332,997 คน

ช่องทางการตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร ที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร www.farmer.doae.go.th สำหรับเกษตรกรรายเดิม-แปลงเดิม สามารถใช้แอปพลิเคชั่น FARMBOOK เพื่อปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ตามรอบการผลิต

ทั้งนี้ ข้อมูลในการขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร จะต้องกรอกตามความเป็นจริง หากแจ้งข้อมูลเท็จจะมีความผิดตามกฎหมาย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า