Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เพราะชีวิตต่างมีจังหวะและท่วงทำนองของมัน และนั่นคือสิ่งที่ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ได้สำรวจ เฝ้ามอง และถอดออกมาเป็นแพทเทิร์นของชีวิตที่เชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง เราจะเกิดคำถามต่อความหมายของตัวเอง และสำหรับเขา สิ่งนี้เกิดขึ้นทุกๆ 6 ปี

หากใครเป็นแฟนคลับของ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เราอาจได้เห็นเขาผ่านรายการมากมายที่ดูจริงจัง ซีเรียส และหนักแน่น แต่วรรณสิงห์ในวัยใกล้เลข 4 กลับมีเรื่องที่เขาต้องเรียนรู้ และเติบโตผ่านความเจ็บปวด ผ่านช่วงเวลาใจสลาย และกลายเป็นคนที่ไม่รู้ว่าตื่นมาแล้วต้องทำอะไร

และนี่คือเรื่องราวชีวิตที่ผ่านมาของ หลังจากออกมาจากสิ่งที่วรรณสิงห์นิยามว่าเป็นช่วงดักแด้ และตอนนี้ได้กลายเป็นผีเสื้อที่พร้อมจะเดินทางต่อในวัย 40 แล้ว 

#ช่วงเวลาที่ดีคือการเติบโตและผ่านความเจ็บปวด

หนึ่งในบทเรียนวัยใกล้เลข 4 ของวรรณสิงห์คือการได้มองเห็นแพทเทิร์นการเติบโตของตัวเขาเอง

เขาค้นพบว่าโมเมนต์ที่ดีที่สุดในชีวิตที่ผ่านมาคือการได้เติบโตและการพบเจอความเจ็บปวด ซึ่งวรรณสิงห์มองเห็นช่วงเวลาวัฏจักรของเขาว่าในทุกๆ  6 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวตนของเขาเสมอ ในวันที่รู้สึกว่าทุกอย่างลงตัว สุดท้ายแล้วสิ่งเหล่านั้นก็จะพังทลายลง และเป็นช่วงเวลาที่ต้องเคาะตัวเองคนเก่าทิ้ง แล้วก็นั่งหาวิญญาณของตัวเองใหม่ 

แน่นอนว่าในช่วงเวลาเหล่านั้นเป็นเรื่องทรมาน แต่วรรณสิงห์เทียบชีวิตกับดักแด้ว่า พอผ่านช่วงดักแด้และกลายเป็นผีเสื้อได้ เขาเหมือนได้ตัวตนใหม่ที่มีความสุขมากขึ้น แต่สิ่งที่เขารู้สึกได้คือสุดท้ายแล้วเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่จะเกิดภาวะเหล่านี้อีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

#ชีวิตที่ปล่อยวางได้ครั้งแรกในวัยก่อน40

หลังจากผ่านช่วงเวลาที่ได้ทบทวนตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง สิ่งหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้คือในช่วงอายุ 38 – 39 ปี เขาเพิ่งได้สัมผัสกับคำว่า ‘ปล่อยวาง’ ได้จริงๆ ครั้งแรก 

แม้ว่าที่ผ่านมาเขาจะรู้จักคอนเซ็ปต์นี้มาโดยตลอด โดยที่ผ่านมาตัววรรณสิงห์พบว่า ในวันที่เกิดปัญหา เกิดความผิดหวังในชีวิต การปล่อยวาง และไม่มองย้อนกลับไปเป็นเรื่องยากกว่าที่คิด 

ซึ่งก่อนจะรู้จักการปล่อยวาง เขากลายเป็นคนที่ตื่นมาแล้วไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรงขับเคลื่อนอะไร ซึ่งวรรณสิงห์ยอมรับว่ากว่าจะสัมผัสกับคำว่าปล่อยวางได้ แต่ละชั่วโมงที่ผ่านไปเป็นเรื่องยากจนเขาไม่คิดว่าจะผ่านไปได้เสียด้วยซ้ำ

แต่ด้วยความทุกข์เหล่านั้น ทำให้เขาตัดสินใจลุกขึ้นมาทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะไปพบนักจิตบำบัด อยู่กับเพื่อน กับครอบครัว และได้ค้นพบการปล่อยวางครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเขาพบว่าประโยค ‘เวลาจะเยียวยาทุกสิ่ง’ เป็นประโยคที่จริงมากสำหรับเขา แต่มันไม่ใช่การปล่อยให้เวลาผ่านไปแล้วดีขึ้นเอง แต่ผ่านการตกตะกอน ให้เวลาตัวเองได้คิด ได้เคลียร์ขึ้น

#ให้เวลาในการเรียนรู้ตัวเองใหม่

สำหรับวรรณสิงห์ เขานิยามตัวเองว่าเป็นคนบ้างาน และมีเป้าหมายใหญ่ๆ ที่อยากไปให้ถึง แต่เมื่ออายุมากขึ้น เขาจึงค้นพบว่า รสชาติของการได้ผจญภัย ของการสร้างความสำเร็จต่างๆ มันไม่ได้เข้มข้น กลมกล่อมอีกต่อไปแล้ว 

อย่างไรก็ตามด้วยนิสัยความเป็นคนซีเรียสกับทุกเรื่องของเขา ก็ทำให้การมองหาชีวิตธรรมดา กลายเป็นความตั้งใจ ความทุ่มเทที่ใส่ไปเต็มกำลัง จนกระทั่งชีวิตไม่เป็นไปตามที่หวัง นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาสัมผัสกับคำว่า ‘ใจสลาย’ 

ในช่วงเวลานั้นเองที่ทำให้เขาได้ลองกลับมาทำความรู้จักตัวเองใหม่อีกครั้ง และใช้เวลานานในการเรียนรู้ตัวเองใหม่ จนกระทั่งค้นพบว่าชีวิตไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นบทๆ เป็นขั้นบันไดที่ต้องทำตามไปทีละสเต็ป แต่ชีวิตในทุกมิติสามารถเดินทางไปพร้อมๆ กันได้ เขามองเห็นว่าชีวิตคือการพัฒนาตัวเองที่แข็งแรง ไปพร้อมๆ กับสร้างบ้าน สร้างครอบครัว สร้างสิ่งรอบตัว แบบไม่ต้องเร่งรีบก็ได้

#เราต้องกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันที่พ่อแม่กลายเป็นเด็กอีกรอบ

แน่นอนว่าในวัยใกล้ 40 สิ่งที่เขารู้สึกคือเรื่องของพ่อแม่ วรรณสิงห์มองว่าในช่วงอายุนี้มีความกดดันหลายทาง ทั้งจากการดูแลทีมที่อาจจะมีอายุเด็กกว่า บางคนต้องดูแลลูก ในขณะที่อีกฟากก็มีพ่อแม่ที่ต้องดูแล ซึ่งเขากำลังแก่ชรา และอาจพูดได้ว่ากำลังจะกลายไปเป็นเด็กอีกรอบ 

สำหรับตัวเขาเองเขาให้ความสำคัญกับพ่อแม่เป็นอันดับต้นๆ ถ้าเขาต้องการ วรรณสิงห์มองว่าตัวเขาต้องไปอยู่ตรงนั้น เพราะสิ่งที่รู้สึกได้คือพ่อแม่มีเวลาที่จำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ และเขาเพิ่งตระหนักถึงความแก่ชราของพ่อแม่ได้เมื่อตัวเองเข้าสู่วัยกลางคน ซึ่งในทางหนึ่งวรรณสิงห์มองว่าเหมือนต้องสลับบทบาท จากที่เราเคยเป็นคนต้องถูกดูแล วันนี้เรากลายเป็นคนที่ดูแลเขา ในขณะที่เขาเคยเป็นผู้ใหญ่ที่ดูแลเรา แต่วันนี้เขาคือคนที่เราต้องดูแล

#ความรักที่ดีคือการนั่งด้วยกันเฉยๆก็สบายใจ

นอกจากเรื่องพ่อแม่ อีกสิ่งหนึ่งที่วรรณสิงห์ให้ความสำคัญคือเรื่องความสัมพันธ์ ในมุมมองความรักของวรรณสิงห์วัยเกือบ 40 ปี พบว่า คุณค่าของความรักที่เขามองหาคือการที่อยู่ด้วยกันแล้วสบายใจ ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะทำอะไรให้เขาไม่พอใจ หรือครอบครัวเขาจะคิดยังไงกับเรา หรือรู้สึกว่าเราทำดีไม่พอตลอดเวลา

จากประสบการณ์ความรักที่ผ่านมาทำให้ตัวเขาเองก็ได้บทเรียนว่า ถ้ารู้จักคุณค่านี้ก่อน ก็คงทำให้ตัวเขาเองเห็นคุณค่าในความรักที่ผ่านมาได้ดีขึ้น เห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาเป็นอยู่แล้วมากกว่ามานั่งบอกว่าเขาต้องเป็นยังไง เพราะความรักที่ดีการที่ไม่ต้องบังคับให้คนรักเป็นแบบที่อยากให้เป็น แต่เป็นการทำให้เรามีพลังงานไปเป็นคนที่ควรจะเป็น หรืออยากจะเป็นในแบบตัวเองได้

ติดตามสัมภาษณ์สิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ในรายการ First Things First ได้ที่ : https://youtu.be/azyf5MtJY5A?si=OAuI0QZEm5tz6JFp 

#FTFxสิงห์วรรณสิงห์
#FirstThingsFirst
#AIMHOUR
#สำนักข่าวทูเดย์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า