Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วิเคราะห์การเมืองไทย ผ่านสายตา ‘เอก’ จักรภพ เพ็ญแข ในวัย 57 ปี ผู้ที่เคยมีหลายบทบาท ทั้งอดีตผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์หลายช่อง เข้าสู่แวดวงการเมืองไทย ในตำแหน่งรัฐมนตรี, โฆษกรัฐบาล และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับแกนนำของ ‘กลุ่มคนเสื้อแดง’ ที่เพิ่งกลับมาใช้ชีวิตในแผ่นดินเกิด หลังลี้ภัยทางการเมืองไปต่างแดนเป็นเวลา 15 ปี

จากปีแล้วปีเล่าประเทศไทยมีทั้งรัฐประหารและเลือกตั้ง ‘จักรภพ’ ยังคงติดตามความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในรายการ AIM HOUR by TODAY ที่เผยแพร่ในวันที่ 8 มิ.ย. 67 เขามาสนทนาภาษาอังกฤษ แลกเปลี่ยนความคิดความเห็น เทียบ ‘ประชาธิปไตย’ ในสังคมไทยปัจจุบัน กับเมื่อ 15 ปีก่อน

“ผมคงต้องบอกว่าดีขึ้นครับ แต่อาจจะไม่ใช่ถึงจุดที่ผมจะบอกว่าผมสบายใจ แต่ใช่ มันก้าวหน้าขึ้น เพราะเราก็เห็มความขัดแย้งอยู่ตรงหน้าและเราไม่มีสงครามกลางเมือง เราอาจรู้สึกเหมือนมันจะเกิดขึ้น แต่มันก็ไม่ได้เกิดในตอนนี้แต่เราไม่มีสงครามกลางเมือง ตอนนี้เรากำลังนั่งอย่างสงบและพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ดังนั้นผมคิดว่าเป็นความก้าวหน้าครับพื้นที่ ที่ให้เราได้ไตร่ตรองอย่างสันติเพื่อคิดอย่างผู้ใหญ่ มันขยายใหญ่ขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ‘จักรภพ’ ขยายความว่ามันดีกว่าแต่ก่อน แต่อาจจะยังไม่ดีไปทั้งหมดไม่ถึงขั้นที่ลงตัวแล้ว เรามีพรรคการเมืองใหม่ๆ ที่ผู้คนต้องการประกาศสิทธิ์ และกำหนดทิศทางที่อยากให้สังคมเป็น ในอดีตเราเคยมีพรรคการเมืองที่ก้าวหน้า แต่ตนไม่คิดว่าพรรคเหล่านั้นจะก้าวหน้ามากพอ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ ‘พรรคก้าวไกล’ ในปัจจุบัน หรือก่อนหน้านี้ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งตนมองว่า มันเป็นธงที่ปักอยู่ในที่ที่คนอยากจะไปให้ถึง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะไปถึงได้ หรือใครๆ ก็อยากไป หรือทุกวันนี้ยังไม่ใช่ทุกคน ดังนั้นนี่จึงเป็นสถานการณ์ที่ดูดีขึ้น ตนไม่ได้เห็นด้วยกับทุกสิ่งที่ ‘ก้าวไกล’ พูดแต่ดีใจที่มีพรรคนี้ เพราะนั่นเป็นปรากฏการณ์ที่ดีต่อสภาพการเมือง

[‘ก้าวไกล’ จะไม่มีวันได้อยู่ในอำนาจ แม้จะชนะการเลือกตั้ง?]

‘จักรภพ’ พูดถึงพรรคก้าวไกล ซึ่งถูกมองว่าเป็นเพียงความหวัง ไม่มีวันได้อยู่ในอำนาจทางการเมืองว่า ถ้าคนที่โหวตเริ่มชอบ‘ก้าวไกล’ ตอนอายุ 16 ปีและอยากให้เป็นรัฐบาลเมื่ออายุ 25 ปี พวกเขาอาจผิดหวัง เพราะเส้นทางการเมืองมันยาวไกลกว่านั้น บางครั้งผู้ริเริ่ม อาจไม่เคยได้รับอำนาจ บางครั้งอาจจะเป็นกลุ่มใหม่ในอนาคต ที่ได้รับอำนาจแทน ‘ก้าวไกล’ แม้ถูกลงโทษ แต่ความคิดนั้นยังอยู่ แล้วความคิดจะยังคงวนเวียนต่อไป

เขาชี้แจงถึงเหตุผลที่ตัวเองยังอยู่กับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคลื่อนไหวช้ากว่าในบริบทการเมืองไทย แต่เราก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงนี้ พอๆ กับการที่เราต้องการสะพานให้เดินจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งก่อนที่เราจถึงจุดหมาย เพราะมันพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า “เราไม่สามารถ ก้าวกระโดดแบบสไปเดอร์-แมนไปยังจุดนั้นได้ทันที

“คนรุ่นใหม่อยากให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมาก ขณะที่พวกเขาก็เห็นความเป็นจริงว่ามันเกิดขึ้นได้ช้ามาก ดังนั้นความแตกต่างที่แท้จริงคือการเร่งของเวลา ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ที่เราคิดว่าเรามองเห็นช่วงเวลา กรอบเวลาแตกต่างกัน ฝั่งผู้ใหญ่อยากให้การเปลี่ยนแปลงช้าลงหน่อย พวกเขาอยากโอบกอดความมั่นคงของตัวเองไว้ หรือแม้กระทั่งพยายามเอาตัวรอด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง”

“หลายครั้งคนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจว่า การต่อต้านของผู้ใหญ่หรือคนยุคก่อนไม่ได้เกิดจากว่า ผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ แต่มาจากความกลัวว่าจะไม่มีที่ยืน ไม่มีบันได สำหรับพวกเขาที่จะปีนลงมาจากแท่นนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง บางทีคนรุ่นใหม่ควรศึกษาวิธีการทำให้คนใหญ่คนโตถอดหัวโขนในแบบสันติและมีเกียรติมากขึ้น บางทีพวกเขาอาจจะยอมก็ได้”

[‘อำนาจ’ มีสถานะ ‘ชั่วคราว’]

จากประสบการณ์ที่พบเจอคนที่มี ‘อำนาจ’ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ‘จักรภพ’ ให้ความเห็น ถึง ‘ผู้เล่น’ ทางการเมืองในไทย ที่คงอยู่มายาวนาน ราว 20-30 ปี ซึ่งบางคนปัจจุบันก็ยังคงอยู่ ว่า การอยู่ในอำนาจมายาวนานขนาดนั้น ทำให้คนเหล่านั้นไม่สามารถใช้ชีวิตแบบอื่นได้ ในประเทศไทย คนมีอำนาจไม่สามารถลงจากอำนาจได้ง่ายๆ ยกตัวอย่าง วันที่ 30 กันยายน ยังอยู่ในอำนาจ แต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันแรกของการเกษียณก็จริง แต่ยังจะใช้รถลีมูซีน มีคนขับรถให้ มีคนติดตาม เพราะพวกเขาไม่ยอมถูกมองว่าสูญเสียอำนาจไปทั้งหมด ดังนั้นการถือครองอำนาจแบบนี้ ที่ทำให้คนหนึ่งรู้สึกมีอำนาจ ค่อนข้างเป็นสิ่งที่ยึดติดมากเกินไปในประเทศไทย เราสามารถปรับตัวให้เข้ากับความจริงที่ว่ามนุษย์ก็คือมนุษย์ การจะแก้ปัญหานี้ก็คือการทำความเข้าใจว่า อำนาจคือสถานะชั่วคราว

“ไม่มีใครมีอำนาจตลอดไป ไม่มีใครอยากให้ใครคนหนึ่งมีอำนาจตลอดไป เพราะอำนาจคือภาระ อำนาจเป็นภาระผูกพันที่กระทบบางสิ่งในเชิงบวก… แต่อำนาจจะมีวันเสื่อมทรามอย่างแน่นอน หมายความว่า ถ้าคุณมีอำนาจและไม่ทำอะไรในเชิงบวกกับมัน มันจะลากคุณไปสู่ด้านมืดของมัน เพราะนั่นคือธรรมชาติของอำนาจ เราจึงต้องพยายามเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับอำนาจ เมื่อไหร่ที่มีอำนาจ แล้วเราออกจากมัน ผู้คนต้องเริ่มชื่นชมคนที่สามารถหันหลังให้อำนาจได้ เหมือนการถอดหัวโขนครับ”

[ไม่ดีกว่าหรือ? ถ้าการเมืองไทยจะมีคนกลุ่มใหม่ แทนที่ ‘ระบบอุปถัมภ์’]  

เมื่อถูกถามถึงการเปลี่ยนหน้าผู้เล่นทางการเมืองที่สอดคล้องกับการปล่อยมือจาก ‘อำนาจ’ โดยยกตัวอย่างการเมืองสหรัฐอเมริกากับไทย จะดีกว่าหรือไม่หาก ‘ผู้เล่น’ ทางการเมืองไทย เปลี่ยนหน้าเป็นกลุ่มคนใหม่ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ‘ระบบอุปถัมภ์’

โดยสรุป ‘จักรภพ’ ได้อธิบายเรื่องนี้ว่า สหรัฐอเมริการนั้นไม่มีใครเชื่อถือรัฐบาล เพราะทุกคนมาในฐานะผู้อพยพ ซึ่งเรียกว่าโลกใหม่ แล้วก่อตั้งระบบการเมืองตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีรัฐบาลและประธานาธิบดีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยไม่ต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์ของตัวเองให้คนเหล่านี้ กระบวนการทั้งหมดคือความพยายามเลือกตัวแทนมา และยังจับตาดูตัวแทนอย่างใกล้ชิด จะไม่ยอมให้มีอำนาจทั้งหมดแต่เลือกให้ฐานะคนที่เหมาะสม

แต่ในประเทศไทยที่เราเป็นอยู่ ไม่มีอะไรนอกจากเหล่านักรบต่อสู้เพื่อยึดครองดินแดนและรวบรวมมัน และกลายเป็นกลุ่มตระกูลขุนนาง คนเหล่านี้คือคนที่ผูกพันกับดินแดน ที่ภายหลังมีอำนาจเข้ามาในราชอาณาจักร แนวคิดเรื่องการอุปถัมภ์ จึงฝังรากลึกสังคมไทยมาตลอด ประวัติศาสตร์ทำให้เราแตกต่างกัน เราจึงไม่สามารถเรียกร้องให้เป็นแบบเดียวกัน แต่เราสามารถพยายามเปลี่ยนแปลงได้ให้ไปอีกทางหนึ่ง

ทางสายกลางจึงจะเกิดขึ้นได้ แล้วเราก็จะรับรู้ได้เองว่ามันดีขึ้น เขาย้ำด้วยว่า รูปแบบของระบบอุปถัมภ์ เป็นระบบสังคมเดียวที่คนไทยรู้สึกคุ้นเคย เช่น ถ้าวันนี้คุณใช้โทรศัพท์มือถือไม่เก่ง คุณก็ต้องพึ่งพาให้คนอื่นมาช่วยคุณ แต่ถ้าคุณอายุ 15 และคุณใช้โทรศัพท์มือถือจนเก่ง คุณก็จะรู้สึกว่าไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ก็ได้ สองคนอาจแตกต่างกันมาก แต่ประเด็นสำคัญของการเมืองคือ จะทำให้คนสองกลุ่มอยู่ร่วมกันได้อย่างไร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่พูดเรื่องการสร้างสะพานเปลี่ยนผ่าน

‘จักรภพ’ ยังแสดงความเห็นถึง ‘ผู้เล่นทางการเมือง’ ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยตอนนี้ ไล่เรียงรายบุคคล ตั้งแต่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์, ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ทักษิณ ชินวัตร และเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

พร้อมระบุถึง 3 คุณสมบัติ ที่ ‘นายกรัฐมนตรีไทย’ จะต้องมี เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญแรก คือการยอมรับว่าเรายังต้องอยู่ในระบบอุปถัมภ์ รู้ขอบเขตของระบบประสิทธิภาพ และต้องมีแพชชั่น (Passion) อย่างมาก เพราะสังคมไทยไม่สามารถใช้แค่อำนาจในการค้ำจุนผู้คน ต้องมีความโอบอ้อมอารีและใจดีด้วย เพราะถ้าไม่มีคนก็จะไม่ชอบ

ชมคลิปบทสนทนาภาษาอังกฤษ ‘จักรภพ’ ฉบับเต็ม ที่นี่ :

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า