Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

[ฟังสัมภาษณ์เต็มๆ คลิ๊ก https://youtu.be/EPCWfhfg1JQ?si=aU7MbN5fmdzhFwtD ]

หากพูดถึงคนข่าวที่มากไปด้วยประสบการณ์ เป็นอาจารย์ด้านข่าวของใครหลายๆ คนในแวดวงสื่อ และยังสามารถวิเคราะห์การเมืองได้อย่างเฉียบคม ก็คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ‘สุทธิชัย หยุ่น’ 

AIM HOUR ชวนทุกคนย้อนเวลาฟังเรื่องราวการทำข่าวและช่วงเวลาที่สำคัญของเดอะเนชั่น รวมไปถึงมุมมองทิศทางการเมืองในอนาคตและความหวังต่อคนรุ่นใหม่

เปิดประสบการณ์สัมภาษณ์บุคคลระดับโลกตัวจริงเสียงจริง

เป็นที่รู้กันว่าสุทธิชัยมีโอกาสได้พูดคุยบุคคลระดับโลก อย่าง จอร์จ ดับเบิลยู บุช อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา , ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร 

แต่สุทธิชัยเล่าว่าสิ่งที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นที่สุดคือ เวลาที่ได้สัมภาษณ์บุคคลระดับโลก จะพบว่าพวกเขาตอบจะมีวิธีการตอบคำถามที่น่าประทับใจ และส่วนที่ดีก็คือคุณสามารถท้าทายคำตอบพวกเขาได้ตลอด สามารถพูดว่า “ผมไม่เชื่อคำตอบคุณ” ซึ่งปกติแล้วจะทำแบบนั้นกับนักการเมืองไทยไม่ได้ แต่ตนก็ทำแบบนั้นกับนักการเมืองไทยเหมือนกัน

สุทธิชัยเล่าย้อนไปถึงวงการข่าวเมื่อก่อนว่า การแข่งขันในไทยตอนนั้นน้อยกว่า ถ้าพูดถึงแวดวงสื่อก็จะมีสื่อระดับชาติไม่กี่สื่อที่คนรู้จัก ส่วนเราทำ The Nation (เดอะเนชั่น) และ กรุงเทพธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองของสำนักข่าวที่รายงานเป็นภาษาอังกฤษ 

ดังนั้นเวลาที่มีการสัมภาษณ์ผู้นำต่างประเทศที่มาเยือนประเทศไทย ไม่ บางกอกโพสต์ ก็ เดอะเนชั่น จะได้เป็นคนสัมภาษณ์ แต่เพราะเรามีสถานีโทรทัศน์ด้วย เราเลยได้เปรียบบางกอกโพสต์ ที่ไม่มีสถานีโทรทัศน์ ดังนั้นผู้สื่อข่าวอย่าง เทพชัย หย่อง, โสภณ องค์การณ์ หรือ กวี จงกิจถาวร พวกเขาเหล่านี้จะมีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้นำระดับโลก และอย่าลืมว่าเดอะเนชั่นเป็นผู้บุกเบิกการทำข่าวในอาเซียน  

จุดเริ่มต้น ‘เดอะเนชั่น’ สู่การเป็นสื่อที่ดีที่สุดในอาเซียน

สุทธิชัยเล่าว่า เราเริ่มก่อตั้งเดอะเนชั่นแม้จะถังแตกกันมากๆ ในตอนนั้น เราไม่มีเงินทุนมากแต่เราก็ตัดสินใจว่าจะตั้งออฟฟิศเล็กๆ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม สุทธิชัยเล่าว่าตนบอกกับคุณเทพชัยและคุณกวีว่าเราไม่มีเงินนะ คุณพยายามเท่าที่คุณทำได้ ถ้าจะต้องเช่าห้องในโรงแรมเล็กๆ หรือต้องแชร์พื้นที่เช่ากับเพื่อนๆ ก็ทำเลย แต่ช่วยติดป้ายเล็กๆ ไว้ด้วยว่า ‘The Nation’ เพื่อที่เราจะได้บอกคนทั้งโลกว่าเรามีสำนักงานในต่างประเทศ 

ซึ่งเราก็ทำแบบนั้นจริงๆ คนก็พูดกันว่าเดอะเนชั่น ไปทำอะไรกันที่ฮานอยและพนมเปญ เราก็บอกว่าเรามีสำนักงาน ซึ่งในความจริงเราแค่เช่าพื้นที่เล็กๆ แต่เราก็ทำข่าวจากตรงนั้น พวกเราทะเยอทะยานกันมาก เราพยายามจะเป็นหนังสือพิมพ์และเป็นสำนักข่าวระดับภูมิภาค และคุณกวี, คุณโสภณ , คุณเทพชัย และผู้สื่อข่าวคนอื่นๆ ในตอนหลังก็สามารถตั้งคำถามกับ ลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ หรือผู้นำอาเซียนคนอื่นๆ ที่มาเยือน 

พวกเขาเหล่านี้จะอยู่แถวหน้าเลยเพราะผู้สื่อข่าวในไทยคนอื่นๆ เหนียมอายเกินกว่าจะตั้งคำถาม และในเวลานั้นในแง่ของอิสรภาพของสื่อเราเป็นหนึ่งในสื่อที่ทำได้ดีที่สุดในอาเซียน และเราสามารถตั้งคำถามที่นักข่าวจาการ์ตาหรือสิงคโปร์ทำไม่ได้

ประสบการณ์รายงานข่าวสงครามลับในลาวกับการเลี่ยงถูกเซนเซอร์

เราชวนคิดว่ามันดูชัดเจนมากว่าความฝันของคุณสุทธิชัยมีความทะเยอทะยานมาก สุทธิชัยตอบอย่างรวดเร็วว่า ‘มากครับ ใฝ่สูงมากเกินไป’ แต่หากย้อนกลับไปตอนนั้นไม่รู้สึกว่าทะเยอทะยาน ตอนนั้นบ้าคลั่งมาก เราเป็นนักข่าวไฟแรงที่อยากจะเทียบเท่า วอชิงตันโพสต์ หรือ นิวยอร์กไทมส์ มันก็สนุกมากเพราะตอนนั้นยังใหม่มาก มันไม่มีกรอบ ไม่มีข้อจำกัดว่าเราทำได้แค่ไหนหรืออะไรที่ทำไม่ได้ เราเลยทำได้ทุกอย่าง 

และในตอนนั้นรัฐบาลยังไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่เราทำคืออะไร ซึ่งก็เป็นข้อดีข้อหนึ่งที่เราเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เราจึงสามารถเขียนบทความวิจารณ์ได้มากกว่าสำนักข่าวภาษาไทยเพราะผู้นำตอนนั้นอย่าง ถนอม กิตติขจร และ ประภาส จารุเสถียร ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น กลุ่มผู้อ่านของเราเล็กมากแต่ก็เป็นนักการทูต นักศึกษา ชาวต่างชาติ 

คนที่ชอบอ่านก็จะถามว่าเราสามารถเขียนวิจารณ์รัฐบาลทหารได้อย่างไร ก็จะตอบว่าทำได้สิ ตราบใดที่พวกเขาไม่อ่านบทความของเรา แต่รู้ไหมว่าสำนักข่าวต่างประเทศก็อ้างอิงงานของเรานี่แหละ มันเลยสนุกมากกับการพยายามท้าทายอำนาจแบบเป็นนัยๆ เพราะเราไม่ได้ปะทะกับพวกเขาโดยตรงแต่เราพยายามรายงานข่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

สุทธิชัยเล่าถึงช่วงเวลาที่เดอะเนชั่นพยามยามเลี่ยงการถูกเซนเซอร์ว่า ตอนนั้นมีการส่งทหารไทยไปรบที่ลาวซึ่งจริงๆ ผิดกฎหมาย ในทางราชการเราไม่เห็นว่ามีทหารของไทยในลาว แต่ซีไอเอก็หาทางเอาทหารไทยเข้าไปแล้วสู้ในนามของพวกเขา ซึ่งทหารไทยก็ต้องทำลายบัตรประชาชนแล้วทำตัวเป็นคนลาว 

คือจริงๆ เรารู้ว่ามีทหารไทยเกี่ยวข้องกับการสู้รบในลาว แต่เราไม่สามารถเขียนข่าวตรงๆ ได้ ตอนนั้นจะได้รับรายงานจากสำนักข่าวยูพีไอ,เอพี และรอยเตอร์สว่ามีทหารไทยเสียชีวิต 3 คน แต่ไม่สามารถรายงานโดยตรงได้ จึงโทรหาโฆษกของกองทัพไทยและบอกว่าได้รับงานการเสียชีวิตมาจากสำนักข่าวยูพีไอ ซึ่งโฆษกตอบว่า ไม่จริง ไม่มีทหารไทยในลาว จากนั้นเราก็เขียนในข่าวว่า

‘โฆษกทหารไทยกล่าวว่า ที่สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่ามีทหารไทย 3 คนเสียชีวิตในลาวไม่เป็นความจริง และรัฐบาลไทยไม่ยอมรับว่ามีทหารไทยในประเทศลาว ในขณะเดียวกันก็มีรายงานของสำนักข่าวยูพีไอ…’ 

แล้วเราก็โชว์รายงานนั้นทั้งหมด ดังนั้นผู้อ่านจะรู้ทันทีและจะเมินประโยคแรกแล้วอ่านที่เหลือ นั่นก็เป็นวิธีที่เรารายงานผู้อ่านด้วยเรื่องจริงโดยมีแถลงการณ์จากรัฐบาลที่ปฏิเสธเรื่องนี้อยู่ด้วย

เมื่อเดอะเนชั่นถูกแบน-สั่งห้ามเขียนข่าว

สุทธิชัยเล่าถึงความตั้งใจอีกว่า เดอะเนชั่นได้แรงบันดาลใจในการทำงานมากจากวอเตอร์เกท ได้แรงบันดาลใจจากการรายงานแบบสืบสวนของสำนักข่าวตะวันตกและเราคิดว่า ‘ถ้าเขาทำได้ เราก็ทำได้’ ตอนนั้นเราเป็นนักข่าวเลือดใหม่จอมฉุนเฉียวที่พยายามพิสูจน์ว่าเราสามารถต่อสู้เพื่ออิสรภาพของนักข่าวได้ เราไม่รู้จักคำว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ 

แน่นอนว่าก็มีช่วงที่ยากลำบาก มีช่วงที่มีรัฐประหารและห้ามไม่ให้สื่อทำงาน และเดอะเนชั่นถูกแบนเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฝั่งซ้าย เข้าข้างคอมมิวนิสต์ ทั้งที่ความจริงเราแค่ต้องการวิจารณ์รัฐบาลและพยายามนำเสนอข่าวที่เป็นความจริง 

หลังจากที่โดนแบนเราก็พยายามจะขอใบอนุญาตใหม่แบบอ้อมๆ จนเราได้ใบอนุญาตใหม่ แต่ก็มีคำสั่งห้ามจากตำรวจว่าเรารู้ว่าพวกคุณคือเดอะเนชั่น คุณแค่ใช้ชื่อใหม่ ถ้าคุณต้องการทำงานสื่อต่องานเขียนในกองบรรณาธิการต้องไม่มีคนชื่อ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ ซึ่งตนก็ใช้นามปากกาอื่นเขียนแทน ต้องทำงานโดยที่ไม่โชว์หน้าหรือชื่อผู้เขียนในคอลัมน์ 

เราก็ผ่านไปได้เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อ่าน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะผู้อ่านรู้ว่าเรานำเสนอข่าวและนำเสนอความจริงอย่างยากลำบาก นั่นจึงเป็นครั้งแรกที่คนได้อ่านเรื่องเมืองไทยในภาษาอังกฤษ 

คิดว่านั่นเป็นจุดแข็งของพวกเราและเราก็สามารถอยู่รอดมาได้อีกหลายปี และเมื่อมีวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาเราก็กลายเป็นสำนักข่าวแรกๆในประเทศไทยที่สามารถทำได้ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ตนเองคิดว่านี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เดอะเนชั่นสามารถสร้างทีมผู้สื่อข่าวที่เป็นมืออาชีพในทุกๆ ด้าน 

‘วงจรอุบาทว์ ต้นตอใหญ่ทำประเทศไทยติดกับดัก

“ความล้มเหลวในการปฏิรูปการศึกษา”  คือคำตอบของสุทธิชัยต่อคำถามที่ว่า มุมมองภาพรวมประเทศไทยในช่วง 30 ปี หรือ 40 ปี ในมุมมองนักข่าว อะไรที่ทำให้ประเทศไทยย่ำอยู่กับที่หรืออะไรที่ทำให้ประเทศไปได้ไกลมากกว่านี้

สุทธิชัยอธิบายเพิ่มเติมว่า คิดว่าถ้าเราไม่ยกเครื่องระบบการศึกษาใหม่ทั้งระบบการคิด การตระหนักรู้ของคนในทุกระดับ เราจะติดอยู่กับความคิดในปัจจุบันและอย่างที่รู้ว่าเรายังเป็นรองอยู่ ยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอาเซียนที่เหลือเราเลยเป็นอย่างที่เป็นอยู่ นี่คือดีที่สุดที่เราทำได้แล้ว 

แต่ถ้าเราเอาจริงกับการปฏิรูปการศึกษาเราจะสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่อายุน้อยให้สามารถคิดวิเคราะห์ได้ เรื่องการวิเคราะห์จะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด ทำไมนักเรียนสิงคโปร์ถึงเป็นอันดับหนึ่งของโลกในด้านการสอบ PISA เพราะเขาได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เด็กๆ ให้รู้จักการให้ความสำคัญคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทักษะการอ่านที่ไม่ใช่แค่การอ่านเฉยๆ แต่หมายถึงการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดแข็งของประเทศไทย ในด้านหลักสูตรการศึกษา คุณภาพของผู้สอน ความเท่าเทียมกันของโอกาสทางการศึกษายังต่ำมาก ดังนั้นสภาพการเมืองเราก็สะท้อนถึงระดับการศึกษาของเรา

“ผมจึงค่อนข้างมั่นใจว่าในช่วง 50 ปีที่ทำงานเป็นผู้รายงานข่าวต้นตอหลักของปัญหาคือ ‘วงจรอุบาทว์’ ของการรัฐประหาร การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ความยุ่งเหยิงทางการเมือง กลับมาที่รัฐประหาร แล้วก็วนลูปเป็นวงจรซึ่งตอนนี้เราก็ยังติดอยู่ในวงจรอุบาทว์” 

“ผมรู้สึกว่ามีความหวังมากขึ้น โดยเฉพาะตอนที่เห็นนักการเมืองหน้าใหม่ลงเล่นการเมืองในแบบที่ต่างออกไป พวกเขาเริ่มทำในสิ่งที่ผมคิดว่ามันเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาสักพักแล้ว แต่ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานี้เราได้เห็นก้าวไกลแสดงให้เห็นถึงวิถีการเมืองของคนรุ่นใหม่อย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องอาศัยเงิน นักการเมืองท้องถิ่น หรือวิถีการเมืองแบบเก่า…”

สุทธิชัยยังเล่าถึงความหวังทางการเมืองต่อพรรคก้าวไกลว่า ยังรู้สึกเปราะบางอยู่ เพราะก้าวไกลเองก็ยังมีปัญหาของตัวเองเช่นกัน 

ตนจึงเชื่อว่าด้วยผู้คนที่โหยหาการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน ถ้าไปถามคนที่โหวตให้ก้าวไกลเขาบอกไม่ได้ด้วยซ้ำว่าต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เขาต้องการการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถติดอยู่กับวิถีเดิมๆ การศึกษาเดิมๆ การคอร์รัปชั่นแบบเก่า หรือความคิดแบบเก่าที่ว่านั่งหลังห้องไม่กล้ายกมือถามคำถาม เพราะเราเป็นคนไทยจึงต้องสุภาพ จะไม่ก้าวร้าว ไม่ถามคำถามยากๆ 

แต่ตนเชื่อว่าความที่คนหนุ่มสาวต้องการการเปลี่ยนแปลง และด้วยความที่ผู้สูงอายุเป็นประชากรจำนวนมากของประเทศ คนหนุ่มสาวจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าความมีประสิทธิภาพคือเกมของพวกเขา คนเหล่านี้ร้องหาการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่พวกเขาจะได้มีความหวังในการยกระดับมาตรฐานประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติหรือระดับภูมิภาค 

แม้ตนเองจะค่อนข้างผิดหวังกับการเมืองไทย แต่ตอนนี้เริ่มจะมีความหวังครั้งใหม่ว่าคนรุ่นใหม่จะจัดการกับการเมืองอย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น เพื่อที่การเมืองไทยจะหลุดออกจากวงจรเดิมๆ ได้ ในอีกแง่หนึ่งก็ค่อนข้างเศร้าที่สังคมเราไม่สามารถหลุดออกจากกับดักทางความคิดได้ 

แต่ในเวลาเดียวกันตอนนี้เราถูกบังคับให้เปลี่ยนจากแรงผลักดันภายนอก ซึ่งเราก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงๆ และหวังว่าการเลือกตั้งอีก 1 หรือ 2 ครั้งข้างหน้าเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้จริงๆ

‘ผมคิดว่าในรุ่นของผมเรามีหน้าที่แค่ส่งต่อปัญหาให้รุ่นของคุณ เราทำดีที่สุดแล้วในรุ่นของเรา แต่ยกโทษให้เราด้วยที่ไม่สามารถทำให้ดีกว่านี้ได้’

#AIMHOURxSuthichai

#AIMHOUR

#สำนักข่าวทูเดย์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า