Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 เอไอเอสรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท โทรศัพท์มือถือ-แบตเตอรี่-สายชาร์จ-พาวเวอร์แบงก์-หูฟัง พร้อมจับมือ บ.เทส จัดการขยะถูกวิธี ทั้งนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่-เกิดมูลค่า

การรณรงค์ลดและแยกขยะในประเทศไทยมีความตื่นตัวกันมากขึ้น เนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจหลักของมนุษยชาติที่ต้องร่วมมือกัน และหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืน ในช่วงหลังๆ มานี้เราจึงได้เห็นประชาชนไปจนถึงองค์กรห้างร้านต่างๆ ที่ออกมารณรงค์ ซึ่งโดยมากจะเป็นการรณรงค์ลดขยะจำพวกพลาสติก

แต่ยังมีขยะอีกประเภทที่หลายคนอาจมองข้าม และกำลังเป็นปัญหาใหญ่ หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี และถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว นั่นคือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste (อีเวสต์) อาทิ โทรศัพท์มือถือ, หูฟัง, สายชาร์จแบต ฯลฯ เนื่องจากมีสารอันตรายหลากหลายอยู่ในอุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นต้องแยกทิ้ง แต่ที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากไม่ทราบว่าต้องแยกออกจากขยะจำพวกพลาสติก ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยก็ไม่ทราบว่าจะนำไปทิ้งได้ที่ไหน

ปัญหานี้เริ่มได้รับความร่วมมือในการเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไข จากผู้ให้บริการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง หนึ่งในนั้นคือ เอไอเอส ที่ได้จัดทำโครงการ #ทิ้งEWasteกับAIS เพื่อเป็นตัวกลางในการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่มือถือ สายชาร์จ พาวเวอร์แบงก์ และ หูฟัง โดยได้ร่วมมือกับ บริษัท เทส จำกัด ผู้นำด้านการจัดการรีไซเกิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก ซึ่งจะนำขยะที่ได้รับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเกิล

โดยขั้นแรกเทสจะทำการคัดแยกออกมาเป็นชิ้นส่วนต่างๆ หลังจากนั้นจะนำไปเข้ากระบวนการ Zero Landfill (ซีโร่ แลนด์ฟิล) หรือ กระบวนการจัดการขยะ ทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีก ซึ่งจะได้ผลผลิตเป็นวัตถุดิบมีค่า อาทิ ทอง เงิน เหล็ก โลหะ ทองแดง อะลูมิเนียม โดยวัตถุดิบที่ได้สามารถผลิตเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีชิ้นใหม่ รวมทั้งลดการฝังกลบที่เป็นมลพิษต่อโลกได้ในระยะยาว

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เอไอเอส

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เอไอเอส กล่าวว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่างจากขยะทั่วไป เพราะมีสารอันตรายเจือปนอยู่ ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เอไอเอสให้ความสำคัญอย่างมากเลยก็คือ หลังจากที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว ขยะพวกนี้จะไปไหนต่อ ถ้าปลายทางถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง มันจะกลับมาทำร้ายเรา ทั้งในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม บริษัทเทสจึงเป็นพาร์ตเนอร์ที่สำคัญในการกำจัดขยะเหล่านี้ เนื่องจากมีเทคโนโลยีและกระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง และไม่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม

“จริงๆ แล้วขยะพวกตู้เย็น คอมพิวเตอร์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ ก็อยู่ในข่ายที่เรียกว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ถ้านับโดยน้ำหนัก พวกนี้จะเยอะ แต่ถ้านับโดยปริมาณจริงๆ แล้ว ขยะจำพวก โทรศัพท์มือถือ เยอะมากที่สุด จำนวนซิมโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันในไทยมีอยู่ประมาณ 90 กว่าล้านซิม ซึ่งแน่นอนว่าจะมีเครื่องโทรศัพท์มือถือไม่ต่ำกว่า 80 กว่าล้านเครื่องที่หมุนเวียนอยู่ คำถามคือมือถือ 80 ล้านเครื่องนี้ สมมติว่าเราทิ้ง แล้วมันไปไหนต่อ นี่คือสิ่งที่เราเข้ามาให้ความสนใจ ซึ่งถ้าฝังกลบมันจะมีทั้งตะกั่ว แคดเมียม ปรอท เป็นต้น สารพวกนี้เป็นสารอันตรายที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพของเราและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงอยากให้มั่นใจว่า ผู้ที่รับต่อจากเอไอเอสอย่างเทส สามารถกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกวิธี”

กรวิกา ชัยประทีป ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ จำกัด (Total Environmental Solution Ltd.) หรือ TES (เทส) กล่าวว่า เทสได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำระดับโลก เรื่องการจัดการรีไซเกิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ E-Waste โดยหลังจากที่เทสรับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากเอไอเอส บริษัทจะนำอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการรีไซเกิล

กรวิกา ชัยประทีป ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ จำกัด (เทส)

ขั้นตอนแรกก็คือ การคัดแยกส่วนประกอบต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือออกจากกันโดยการแกะ ซึ่งจะได้วัสดุ อาทิ พลาสติก Housing + Keypads, PCB Board, li-ion Battery เหล็ก อะลูมิเนียม และทองแดง หลังจากนั้นก็จะส่งวัสดุหลักประกอบไปด้วยเหล็ก พลาสติก และอะลูมิเนียม เข้าสู่โรงหล่อเพื่อเริ่มกระบวนการรีไซเกิล ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำที่เมืองไทยได้ ส่วนของวัสดุอื่น เช่น PCB Board และ li-ion Battery จะต้องเข้าโรงหล่อที่เทส สิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เพื่อสกัดโลหะมีค่าจากวัสดุนั้นๆ

“PBC Board จะสามารถสกัดออกมาเป็น ทอง เงิน และพัลลาเดียม ซึ่งโลหะมีค่าเหล่านี้ เทสก็จะขายคืนกับให้ผู้ผลิตเพื่อผลิตเป็นสินค้าใหม่ต่อไป หรือทองและเงินก็สามารถขายร้านจิวเวอรี่ เพราะเป็นทอง 99.99% เพื่อนำไปทำเป็นทองแท่ง ทองรูปพรรณ หรือเครื่องประดับต่างๆ ได้ ในขณะที่ li-ion Battery จะสามารถสกัดออกมาเป็นโคบอลต์และลิเทียม ซึ่งก็จะขายโลหะมีค่านี้คืนให้กับผู้ผลิต เพื่อผลิตเป็นสินค้าใหม่ต่อไป หรือขายให้กับผู้ประกอบการที่ประกอบอุตสาหกรรมประเภทยา เซรามิก หรือแก้ว ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และเพื่อให้สอดคล้องในกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือที่เรียกว่า Carbon footprint และเทสยังให้ความสำคัญเรื่องการรีไซเกิลโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยมุ่งเน้นการรีไซเกิลแบบ Zero landfill”

ปัจจุบันเอไอเอสได้ตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่ AIS Shop (ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ) และศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัล (CPN) เฉพาะในกรุงเทพฯ รวมถึงในอนาคต เอไอเอสจะจับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ นำถังขยะ E-Waste ไปตั้งในแหล่งศึกษาตามจุดต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้คนไทยถึงที่บ้าน โดยนำขยะที่ได้ไปส่งให้กับพาร์ตเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะเหล่านี้อย่างถูกวิธี และนำเงินที่ได้รับจากการขายขยะไปบริจาคให้กับมูลนิธิ

ทั้งนี้ ถังขยะ E-Waste วัสดุทำมาจากไม้อัดรีไซเคิล โดยเป็นการดีไซน์จากนิสิตนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดย AIS ได้ต่อยอดนำเทคโนโลยี IoT เข้ามามีส่วนช่วยในการนับชิ้นขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Real-time เพื่อ Convert ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ลดลงและแสดงบนเว็บไซต์ www.ewastethailand.com โดยทีมงานที่จัดทำ IoT คือ AIAP (AIS IoT Alliance Program) และ มหาวิทยาลัยรังสิต

โดยเอไอเอสได้ประกาศภารกิจ Mission Green 2020 โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2020 บริษัทจะสามารถลดค่า CO2 ได้จำนวน 1 ล้าน kgCO2e และจัดการกับขยะ E-Waste ได้ทั้งสิ้น 1 แสนชิ้น

ผู้สนใจสามารถดูจำนวนของขยะที่ถูกเก็บ และศึกษาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.ewastethailand.com

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า