Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังเกิดกรณี ‘วิล สมิธ’ ขึ้นไปตบหน้า ‘คริส ร็อก’ บนเวทีประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 94 เพราะล้อเลียนทรงผม ‘เจดา พิงคิตต์ สมิธ’ ภรรยา ที่ต้องโกนศีรษะเนื่องจากป่วยด้วยโรค Alopecia Areata ที่ผมร่วงเป็นหย่อม

workpointTODAY ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาไว้ โดยพบว่าสามารถเกิดขึ้นได้หลังหายป่วยจากโควิด-19 ด้วย

สาเหตุของโรคผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia

เว็บไซต์โรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า อาการผมร่วงเป็นหย่อมเกิดขึ้นกับเส้นขนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งศีรษะ คิ้ว หนวด เกิดจากการอักเสบใต้ผิวหนัง ซึ่งการอักเสบนี้ไม่ได้ทำลายรูขุมขนเป็นการถาวร ซึ่งหมายความว่าเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งอาการอักเสบหายไป ผมหรือเส้นขนที่หลุดร่วงไปจะสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิด ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทางการแพทย์ระบุเพียงว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ทำงานผิดปกติมาทำลายรูขุมขน โดยโรคที่อาจพบร่วมกับโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ คือ ต่อมไทรอยด์อักเสบ ด่างขาว หรือ กลุ่มโรคภูมิแพ้ โดยร้อยละ 20 ของผู้ป่วยจะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้

ลักษณะของโรค ผมร่วงเป็นหย่อม

มีผมร่วงเป็นหย่อม ลักษณะกลม ขอบเขตชัดเจน อาจเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง โดยมากมักเกิดภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ แต่อาจมีอาการคันหรือแสบมาก่อนในบริเวณที่จะเกิดโรค และอาจพบผมหักเป็นตอสั้นๆ ติดหนังศีรษะในบริเวณขอบของรอยโรคที่กำลังจะขยาย นั่นเป็นเพราะว่าเส้นผมที่สร้างขึ้นใหม่เปราะบางและผิดปกติ ผู้ป่วยบางคนอาจมีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย โดยอาการที่เล็บอาจเกิดนำมาก่อน เกิดพร้อมกัน หรือเกิดภายหลังจากภาวะผมร่วงได้ ความผิดปกติของเล็บที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การพบหลุมเล็กๆ บนผิวของแผ่นเล็บ

โรคผมร่วงเป็นหย่อม มีหลายระดับ แบ่งตามตำแหน่งและความรุนแรง ได้ดังนี้

Alopecia areata (AA) ลักษณะอาการคือ มีผมร่วงเป็นหย่อมๆ ที่ศีรษะหรืออาจมีหย่อมขนร่วงที่บริเวณคิ้ว หนวด หรือขนบริเวณใบหน้า ลำตัว

Alopecia totalis (AT) ลักษณะอาการ คือ ผมที่ศีรษะร่วงทั้งหมด

Alopecia universalis (AU) ผมที่ศีรษะ ขนที่ตัว ขนรักแร้ ขนหัวหน่าว ร่วงทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีผลกระทบต่อผู้ที่ป่วยในเรื่องของความมั่นใจ เรื่องความสวยงามค่อนข้างมาก นั่นอาจทำให้มีผลกระทบทางด้านจิตใจได้ โดยเฉพาะในระดับ Alopecia universalis ซึ่งรุนแรงที่สุด ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการระดับนี้มักตอบสนองต่อการรักษาได้น้อย

โอกาส ความเสี่ยง ที่จะป่วยโรคนี้

โรคผมร่วงเป็นหย่อมเกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงในสัดส่วนเท่าๆ กัน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นที่ช่วงอายุใดก็ได้ โดยมีอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ที่ช่วงอายุ 30 ปี ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในสัดส่วน 1 : 1,000 หรือประมาณ ร้อยละ 2

โรคผมร่วงเป็นหย่อม พบได้หลังหายป่วยโควิด-19 และ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

ขณะที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เคยออกมาเปิดเผย ในช่วงเดือน ก.ย. 2564 ระบุว่า อาการผมร่วงเป็นหย่อม พบได้ในผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 เนื่องจากโควิด-19 ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานภายในร่างกาย

นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 บางคน ซึ่งยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดแพทย์อยู่ระหว่างศึกษาและติดตาม ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นวงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร

รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป อาจารย์ประจำแผนกผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า “ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 และเกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อมควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยการให้ยาสเตียรอยด์ชนิดทา หรือฉีดเฉพาะที่ หรือยารับประทานในกลุ่มปรับระดับภูมิคุ้มกัน จะช่วยบรรเทาอาการผมร่วงให้ทุเลาลงและผมกลับมางอกขึ้นใหม่เป็นปกติ

ที่มา : คณแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า