Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“รองนายกฯ ประวิตร” ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มอบ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักบูรณาการทุกหน่วยงานน้ำ กำชับให้ทำฝนเทียมต่อเนื่องในพื้นที่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพื่อเติมน้ำในเขื่อน หลังพบว่าปริมาณน้ำยังน้อย

เมื่อวันที่ 7 ก.ย.62 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ และตรวจเยี่ยมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง พร้อมสั่งการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยชาวขอนแก่น ให้การต้อนรับ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยในปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศเนื่องจากอิทธิพลพายุ “โพดุล” และ “คาจิกิ” ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การลงพื้นที่ในวันนี้ จึงเป็นการเดินทางมาติดตามสถานการณ์ในพื้นที่จริง รวมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนทุกคน ทั้งนี้ ได้รับรายงานจาก สทนช. ว่า อิทธิพลพายุโซนร้อนโพดุลและคาจิกิที่ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่  ช่วงระหว่างวันที่ 29 ส.ค.-7 ก.ย.62 ส่งผลดีกับปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง

โดยคาดว่าจะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 7 พันล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น ภาคเหนือ 1,890 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,760 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 220 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 1,800 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 200 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 270 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่พ้นวิกฤติน้ำน้อยกว่า 30% ไปแล้ว 2 แห่ง คือ เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ทั้งนี้ ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลพายุทำให้พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งเริ่มคลี่คลายในบางจังหวัดแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ได้รับผลกระทบที่อำเภอบ้านไผ่ มีน้ำท่วมสูง 1-3 เมตร ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1,000 ครอบครัว ส่วนที่ ต.บ้านลาน ต.แคนเหนือ ต.หนองน้ำใส ต.ในเมือง ต.บ้านไผ่  มีน้ำท่วมสูง 2.50–3 เมตร ขณะที่ในบริเวณเขตเศรษฐกิจเมืองขอนแก่น เกิดน้ำท่วมบริเวณผิวถนนมะลิวัลย์และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันระดับน้ำได้ลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

ทั้งนี้ อิทธิพลของพายุส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยพบว่า มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 5 แห่ง ที่ยังมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ อย่างต่อเนื่องและต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำมาก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแก่งละว้า (109%) อ่างเก็บน้ำละเลิงหวาย (104%) อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (100%) อ่างเก็บน้ำห้วยยาง (97%) และอ่างเก็บน้ำหนองกรองแก้ว (84%) ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สทนช. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่ง ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) และไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างเพิ่มเติม นอกจากนั้น ยังให้เร่งให้ความช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายและกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

สำหรับที่เขื่อนอุบลรัตน์แม้ว่าอิทธิพลพายุในช่วงที่ผ่านมาจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำราว 159 ล้าน ลบ.ม. แต่ระดับน้ำยังคงต่ำกว่าระดับน้ำต่ำสุด (LRC) โดยมีปริมาณน้ำปัจจุบันอยู่ที่ 602 ล้าน ลบ.ม. (25%) มีปริมาณน้ำใช้การอยู่ที่ 21 ล้าน ลบ.ม. (1%) ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเพื่อการเกษตรได้ และมีความจำเป็นต้องนำน้ำจาก Dead storage มาใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศ หากน้ำยังคงน้อย ต้นฤดูแล้ง พ.ย. 2562 นี้ อาจมีผลทำให้ไม่สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้ นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังน้ำน้อยในอ่างฯ ขนาดกลางอีก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยลอมไผ่ (13%) และอ่างฯ ห้วยเตย (30%)

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ได้กำชับให้ สทนช. จะต้องเป็นหลักในการบูรณาการกับทุกหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย-ภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ จ.ขอนแก่น ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะต้องเพิ่มการคาดการณ์ถึงความเสี่ยงต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน พยายามเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงศักยภาพการระบายน้ำ สิ่งกีดขวางต่างๆ รวมทั้งความมั่นคงและปลอดภัยของอาคารด้วย หากสภาพอากาศเหมาะสมให้เร่งระดมการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อบรรเทาพื้นที่เกิดภัยแล้งและช่วยเติมน้ำในอ่างฯ และต้องจัดสรรน้ำให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ รวมทั้งต้องประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเกษตรกรล่วงหน้าให้รับทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และให้ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ ทดแทนรายได้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบด้วย

ด้าน นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สทนช. มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ทั้งแผนระยะกลางและระยะยาวโดยการขับเคลื่อนโครงการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 16 พื้นที่ เป้าหมายรวม 12.595 ล้านไร่ ประกอบด้วย 14 พื้นที่ (ท่วม+แล้ง 13 พื้นที่ และแล้ง 1 พื้นที่) 11.81 ล้านไร่ และ 2 พื้นที่พัฒนา 0.785 ล้านไร่ ในส่วนของ จ.ขอนแก่น ประกอบด้วย แผนงานปี 2562 จำนวน 277 โครงการ งบประมาณรวม  1,445 ล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มความจุเก็บกักรวมทั้งสิ้น 11 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 23,756 ไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกัน 5,125 ไร่ และประชาชนรับประโยชน์ 11,027 ครัวเรือน อาทิ โครงการสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำตำบลบ้านดง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะที่ 2 แก้มลิงบึงละหานนาพร้อมอาคารประกอบ และฝายลำน้ำพองเก่า  เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีแผนงานในปี 63 – 65 จำนวน 396 โครงการ วงเงิน 18,536.69 ล้านบาท อาทิ โครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ประตูระบายน้ำบ้านโนนเขวา และอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว สามารถเพิ่มความจุกักเก็บ 46.32 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 69,315 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 50,063 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน 32,000 ไร่ และป้องกันตลิ่ง 3,380 เมตร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า