Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 2 พ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน ASEAN Business and Investment 2019 ซึ่งสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน หรือ ASEAN-Business Advisory Council (ASEAN-BAC) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดขึ้นควบคู่กับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปี 2562 ภาคเอกชนไทย ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีเสวนาระดับนานาชาติภายใต้หัวข้อหลัก “สร้างพลังอาเซียน 4.0” เพื่อติดอาวุธทางปัญญาและปูแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในยุคที่เรียกว่า 4.0 ซึ่งตนเป็นคนหนึ่งที่ให้ความสำคัญ เห็นได้จากการที่รัฐบาลได้ผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 ที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้น การค้า การส่งออก การลงทุนแบบ offline เพียงอย่างเดียว ไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ หรือ new business model ที่ผสมผสานระหว่างการค้า การลงทุน แบบ online และ offline ควบคู่กันไป

ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแล้ว โดยมีนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบันเป็นตัวช่วยยกระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและจุลภาคของประเทศ เป้าหมายสำคัญ คือ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมนำการผลิตเพื่อสร้างห่วงโซ่แห่งคุณค่าและมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและการมีประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในมิติด้านความมั่นคง เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในมิติด้านความมั่นคง ซึ่งในปัจจุบันครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง (cross-cutting Issues) อาทิ ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางพลังงานและความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนมีพันธกิจที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและทำให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นำปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมมาผนวกเข้าไว้ในนโยบายการสร้างความมั่นคงของประเทศ

ในมิติด้านเศรษฐกิจ การลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (Public and Private Partnership – PPP) ถือเป็นสิ่งที่มีความโดดเด่นอย่างยิ่งของความร่วมมือที่มีอยู่ในขณะนี้ การผลักดันโครงการ Eastern Economic Corridor หรือ EEC โดยมีโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ (Megaprojects) ที่สำคัญ 4 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนที่สุดของการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนองคาพยพทางเศรษฐกิจของไทย อุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้ รวมถึงอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ รถยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง และเศรษฐกิจ BCG

ในมิติด้านสังคม ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น ในด้านหนึ่ง โครงสร้างประชากรของไทยแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในเชิงบวกของคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และการสาธารณสุขของไทยที่มีมาตรฐานสูงในระดับสากล

ในอีกด้านหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างประชากรเป็นปัจจัยเร่งให้ประเทศไทยต้องปรับตัวด้วยการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้เข้ามารองรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจเกิดใหม่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการสร้างความสะดวกสบายในการเดินทาง การสร้างที่พักอาศัยเชิงอัจฉริยะ และการผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกประเทศจะต้องเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล การเชื่อมโยงทางดิจิทัล การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับสังคมดิจิทัล และการส่งเสริมภาคธุรกิจรวมทั้งต้องใช้เครือข่ายการประกอบธุรกิจในประเทศและระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง โดยภาครัฐต้องช่วยสนับสนุนและหาวิธีการทำให้ขั้นตอนในด้านการติดต่อ การนำเข้า-ส่งออก และการบริการ มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่สำคัญที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลักดัน คือ ACMECS RCEP และ GMS ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดสำคัญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียน ผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบของความร่วมมือ คือ การเชื่อมโยงกับประเทศและเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งทางบก ทางทะเล และน่านฟ้า

“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในการประชุมเสวนาที่จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อคิดเห็นในการประชุมสุดยอดในระหว่างสองวันนี้ อาทิ การหารือเรื่องอาเซียน 4.0 ในห่วงโซ่แห่งคุณค่าของโลกการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย และการพัฒนาและเสริมสร้างพลังทางความรู้ให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอพัฒนาการที่เกิดขึ้นในระบบการค้าและการลงทุนของโลก รวมถึงข้อเสนอแนะในการวางยุทธศาสตร์และแผนการรองรับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพร้อมให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีพลวัต สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะเศรษฐกิจของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า