Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรุงเทพฯ เมืองที่ชาวต่างชาติมองว่าค่าครองชีพราคาไม่แพง แต่สำหรับคนไทยอาจเห็นต่างออกไป เพราะระดับรายรับสวนทางกับรายจ่าย โดยเฉพาะค่าครองชีพพื้นฐานที่กำลังปรับขึ้นหลายรายการด้วยกัน ในขณะที่รายรับยังเท่าเดิมหรือลดลงจากสภาพเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดี

ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานในปี 2564 ระบุว่าค่าจ้างรายวันขั้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันจะอยู่ที่วันละ 331 บาท ส่วนเงินเดือนเริ่มต้นของปริญญาตรีจบใหม่ จะเริ่มที่ 15,000 บาท

เทียบกับ 10 ปีที่แล้ว ในปี 2554 ค่าจ้างรายวันขั้นต่ำอยู่ที่ 215 บาท ส่วนเงินเดือนเริ่มต้นของป.ตรีจบใหม่อยู่ที่ 12,000 บาท ปัจจุบันระดับค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ปรับขึ้นราว 54% และเงินเดือนเริ่มต้น ป.ตรีจบใหม่ ปรับขึ้นราว 25% โดยที่บางปีไม่ได้มีการปรับขึ้นเลย แต่ระดับเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้นทุกปี

ส่วนทางด้านฐานเงินเดือนเฉลี่ยของของประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22,353 บาทต่อเดือน ข้อมูลนี้อ้างอิงจากเว็บไซต์ numbeo ฐานข้อมูลเปิดที่อัปเดตค่าครองชีพในเมืองใหญ่ทั่วโลก

ระดับรายได้ขั้นต่ำและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนในกรุงเทพฯ เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่หากพิจารณาเฉพาะค่าครองชีพที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ สามารถคำนวณได้เบื้องต้นและพบว่า คนในกรุงเทพฯ เหลือเงินในแต่ละเดือนเพื่อใช้จ่ายส่วนอื่นๆ หรือเก็บออมในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย

[ส่องสารพัดค่าใช้จ่ายปรับขึ้น ค่าครองชีพคนกรุงพุ่ง]

ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมีการปรับขึ้นทุกๆ ปี ตามระดับเงินเฟ้อและปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวดี เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 แม้ขณะนี้จะมีการคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว แต่คนไทยก็ยังต้องเผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ปรับขึ้นหลายอย่าง

1.) ค่าเดินทาง จากราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้น้ำมันของตลาดโลก และการฟื้นตัวของหลายประเทศหลังโควิด 19 รวมถึงการเข้าสู่ฤดูหนาว โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงถึง 14% ภายในเดือนเดียว

นอกจากนี้ปัจจัยราคาน้ำมันของไทยยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างราคาน้ำมันที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และเงินสมทบกองทุนน้ำมัน จนมีการเรียกร้องจากสมาคมผู้ประกอบการขนส่งให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน แม้จะมีการใช้เงินกองทุนน้ำมันเดือนละ 6 พันกว่าล้านบาทเข้ามาช่วยแล้ว แต่งบประมาณอาจไม่เพียงพอในระยะยาว

สิ่งที่ตามมาคือราคาน้ำมันสูงขึ้น เป็นภาระหนักต่อผู้ใช้รถทั้งเพื่อการขนส่งและการเดินทาง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อก็ปรับเพิ่มขึ้นด้วย สวนทางกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี อาจนำไปสู่ภาวะ Stagflation ได้

ส่วนค่าเดินทางอื่นๆ ก็มีการปรับขึ้น อย่างทางด่วนศรีรัช วงแหวนรอบนอก เตรียมขึ้นค่าผ่านทาง 15-35 บาทจากราคาเดิมในปลายปีนี้ โดยเป็นการปรับตามวงรอบราคาทุก 5 ปี ของสัญญาสัมปทาน รวมถึงผู้ใช้รถไฟฟ้า BTS ยังต้องรับภาระค่าเดินทางต่อเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก BTS ได้ยกเลิกการใช้ตั๋วรายเดือนไปก่อนหน้านี้

2.) ค่าไฟฟ้า คาดกันว่าในปีหน้าอาจจะมีการปรับขึ้น โดยทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน คาดการณ์ว่าต้นปี 2565 มีโอกาสที่ค่าไฟจะปรับขึ้น 70 สตางค์ต่อหน่วย สาเหตุจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอย่างก๊าซธรรมชาติปรับสูงขึ้น โดยประเทศไทยมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมากถึง 57.55%

3.) ค่าสินค้าอุปโภคบริโภค มีการปรับขึ้นหลายรายการด้วยกัน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนตุลาคม 2564 จากกระทรวงพาณิชย์ สูงขึ้นร้อยละ 2.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 จากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและอาหารสดมีการปรับขึ้นหลายรายการ

– ราคาผักมีการปรับขึ้นถึง 17 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักชี ขึ้นฉ่าย ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ฯลฯ โดยเฉพาะผักชีราคาพุ่งสูงสุดไปแตะเกือบ 400 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากบางพื้นที่เกษตรกรรมถูกน้ำท่วม

– ส่วนเนื้อหมูก็มีการปรับขึ้นถึงกิโลกรัมละ 160 – 180 บาท (จากเดิมกิโลกรัมละ 150 บาท) เนื่องจากมีการปรับราคาขายสุกรมีชีวิต ท่ามกลางความต้องการบริโภคเนื้อหมูเพิ่ม ราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารและการขนส่งก็เพิ่มขึ้นด้วย

– ส่วนราคาเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปมีแนวโน้มปรับขึ้นอีก 10-15% เนื่องจากต้นทุนการผลิตอย่าง ‘ฝ้าย’ ราคาปรับขึ้นสูงสุดถึง 60% ในรอบ 10 ปี จากการที่จีนกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนพลังงาน กระทบต่อการผลิตสินค้าและวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไปทั่วโลก

– ทางด้านราคาเหล็กก็สูงขึ้นเช่นกัน จากแนวโน้มความต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างโครงการใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านอุปทานที่ขาดแคลน วัตถุดิบการผลิตราคาสูง และต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น กระทบต่อราคาผลิตภัณฑ์เหล็กไปจนถึงช่วงปีหน้า

[รายได้และค่าใช้จ่ายของคนกรุง ที่ไม่สอดคล้องกัน]

ที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นว่ารายรับและรายจ่ายในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนัก ข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ Numbeo ได้ระบุว่าดัชนีชี้วัดอัตราค่าครองชีพที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของกรุงเทพฯ อยู่ที่อันดับ 334 จาก 572 เมืองทั่วโลก โดยเงินเดือนเฉลี่ยของคนในกรุงเทพฯ ที่หักภาษีแล้ว อยู่ที่ประมาณ 22,353 บาท

เมื่อนำมาหักลบกับค่าครองชีพที่จำเป็นรายเดือน 5 รายการ ได้แก่ ค่าเช่าที่พัก ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทางไปกลับในแต่ละวัน ค่าอินเตอร์เน็ตและค่าอาหาร 3 มื้อต่อวันในร้านอาหารระดับปกติ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ) ก็พบว่าคนในกรุงเทพฯ จะมีเงินเหลือราวๆ 4,700 บาท หรือ 21% ต่อเดือน

ถือเป็นระดับที่น้อยกว่าเมืองหลวงในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งมีระดับค่าครองชีพใกล้เคียงกรุงเทพฯ หรือถ้าเทียบกับเมืองที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ และโซล ประเทศเกาหลีใต้ แม้ค่าครองชีพจะแพงกว่ากรุงเทพฯ แต่ระดับรายได้ของประชากรที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีสัดส่วนเงินเหลือที่มากกว่า

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ จะทำอย่างไรให้ค่าครองชีพควรสมเหตุสมผลและสมดุลไปกับรายได้เฉลี่ยของประชาชน หนึ่งในทางออกคือความช่วยเหลือจากภาครัฐ แม้ที่ผ่านมาจะมีการช่วยเหลือผ่านมาตรการเยียวยาต่างๆ แต่อาจจะยังไม่ตรงจุดนัก หากยังไม่ควบคุมค่าครองชีพ ปล่อยให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆ อยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้การปรับระดับรายได้ขั้นต่ำให้เพิ่มขึ้น ก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนตั้งหน้าตั้งตารอคอย เพราะประเด็นนี้เคยเป็นนโยบายที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในช่วงของการเลือกตั้งใหญ่ครั้งล่าสุด อย่างนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำรายวันและเงินเดือนเริ่มต้นของปริญญาตรีจบใหม่ รวมถึงระดับปวส. ถึงตอนนี้ยังไม่ได้ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริง

ในที่สุดจะถามหาเงินเก็บ เงินออมกับคนไทยที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางก็คงยาก เพราะปัจจัยค่าครองชีพที่สูงกลายเป็นอุปสรรคต่อการสะสมความมั่งคั่ง โดยเฉพาะกับคนหาเช้ากินค่ำหรือมนุษย์เงินเดือนทั่วไปที่ใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน ปัญหานี้อาจลุกลามไปสู่ภาวะหนี้ครัวเรือนและความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้นในอนาคต

 

อ้างอิงข้อมูล :
https://workpointtoday.com/bangkok-is-no-1-workation…/
https://workpointtoday.com/expressway-2/
https://www.youtube.com/watch?v=RSNYjNd5P5M
https://www.numbeo.com/cost-of-living
https://www.price.moc.go.th/…/file…/indices_all.pdf

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า