Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปเวทีประชันวิสัยทัศน์ ผู้ว่าฯ กทม. “กรุงเทพแบบไหน ตอบโจทย์ โดนใจ” ที่จัดโดย MCOT ช่อง 9 อสมท ในวันที่ 12 พ.ค. 2565 มี 4 แคนดิเดต ผู้ว่าฯ กทม. ประกอบด้วย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หมายเลข 1, นายสกลธี ภัททิยกุล หมายเลข 3 , นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หมายเลข 4 และ น.ต.ศิธา ทิวารี หมายเลข 11 ร่วมดีเบต โดยมีคำถามหลักให้แคนดิเดตทั้ง 4 คน ได้แสดงวิสัยทัศน์ คนละ 4 นาทีในแต่ละรอบ ทั้งเรื่องการจัดการฝุ่นPM 2.5 มลพิษ, การฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19, จัดปัญหาขยะใน กทม.

จากนั้นคือคำถามให้โชว์วิสัยทัศน์ว่า “อะไรจะทำใน 1 เดือนทันทีโดยไม่ต้องรออนุมัติ หลังได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. และกรุงเทพมหานครในอีก 4 ปีข้างหน้าประชาชนจะเห็นอะไรเป็นรูปธรรม”

น.ต.ศิธา ได้เริ่มตอบคำถามนี้ก่อนว่า ในวันแรกที่ตนเข้าไปรับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. จะปฐมนิเทศข้าราชการ เพื่อบอกว่า ผู้ว่าฯ คนนี้จะเข้าไปทำงานร่วมกับเพื่อนข้าราชการ โดยจะเป็น ผู้ว่าฯ กทม. ที่ตัวเล็กที่สุด ตั้งแต่เคยเห็นมา จะเปลี่ยน Mindset ข้าราชการจากระบอบอุปถัมภ์ ที่เคยต้องทำงานเอาใจผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการ “เลื่อน ลด ปลด ย้าย” เปลี่ยนเป็นข้าราชการต้องทำงานรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งการจะเลื่อน ลด ปลด ย้ายคนจะมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ว่าได้ทำเรื่องที่ควรทำในความรับผิดชอบหรือยัง จากนั้นสัปดาห์แรก หลังการเลือกตั้ง ฝนจะมาแล้ว กทม. มีการลงทุนไปมาก โครงสร้างใหญ่ๆ เพียงพอแล้ว แต่การโยกย้ายข้าราชการที่ผ่านมาไม่เป็นธรรม บางครั้งข้าราชการในหน่วยงานจราจรต้องการโปรโมท มีการย้ายจราจรมาเป็นหัวหน้าฝ่ายระบายน้ำ เท่ากับเสียคนที่ชำนาญด้านการจราจร 1 คน แล้วได้คนที่ไม่รู้เรื่องการระบายน้ำมา ตรงนี้ต้องเปลี่ยน โดยเรื่องน้ำท่วม จะทดสอบระบบระบายน้ำทุกเขต และใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ ทำแก้มลิงจากคลองที่มีอยู่แล้ว ส่วนนโยบายปี 1-4 ปี จะมีนโยบายจัดการขยะ จะทำให้การศึกษาทัดเทียมกันทุกโรงเรียน รวมทั้งการเดินทางโดยรถไฟฟ้าที่จะต้องทำภายใน 4 ปี

วิโรจน์ ได้ตอบคำถามเป็นคนถัดมา เดือนแรกที่จะทำคือ ร่างสัญญาต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องมีความชัดเจน เริ่มต้นแก้ไขปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพงสำหรับคนกรุงเทพฯ ทุกคน ต่อมาคือเรื่องน้ำท่วม ต้องเตรียมการรับมือ โดยใช้งบกลางบำรุงรักษาให้ใช้ได้ และเตรียมระบบสาธารณสุข เพื่อเปิดเมืองเปิดเศรษฐกิจให้คนกรุงเทพฯ ทุกคน ส่วนภายใน 4 ปี จะยกระดับสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก 0-6 ปี และผู้พิการ ซึ่งถ้าเพิ่มตรงนี้จะไม่มีผู้ว่าฯ คนไหนมาเปลี่ยน นอกจากนี้จะกระจายงบประมาณ 4,000 ล้านให้ชุมชน และประชาชนที่อยู่นอกชุมชน 50 เขต ประชาชนจะได้เลิกไปติดต่อที่เขตแล้วถูกปฏิเสธว่างบไม่มี เพิ่มรอบความถี่จัดเก็บขยะ ทำทางเท้า คอรัปชั่นอยู่ยากอยู่ลำบาก รวมทั้งการจัดเก็บภาษีป้ายต่างๆ ในกทม. จะเข้าไปแก้เพื่อให้ความไม่เป็นธรรมยุติลงให้ได้ จะเป็นผู้ว่าฯ ที่ทำสถิติเก็บรายได้จากคนตัวใหญ่ มาอุดหนุนปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้คนตัวเล็ก โดยเฉพาะรถเมล์ที่มีคุณภาพ ซึ่งคาดว่าจะใช้ปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท

ด้าน สกลธี บอกว่า ภายในเดือนแรก จะไปค้นเรื่องร้องเรียน 1555 ว่ามีเรื่องไหนค้างอยู่บ้าง จะเร่งทำเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนรอไม่ได้ นอกจากเห็นด้วยว่าเดือนแรกที่รับตำแหน่งเข้าสู่หน้าฝน ต้องเร่งรัดการบริหารจัดการลอกท่อ เร่งคืนความชอบธรรมการโยกย้ายที่ผิดฝาผิดตัว ส่วนปีแรกตาม “สกลธีโมเดล” ต้องดูเรื่องการหาเงิน นอกจากรอเงินจากรัฐบาล เช่น การเปลี่ยนขยะให้เอกชนเข้ามาแทน เพื่อที่กทม. ไม่ต้องจ่ายเงิน 5,000-7,000 ล้านบาทต่อปี หรือเรื่องภาษีโรงแรม ที่ต่างประเทศเก็บ 5% 8% แล้วแต่รัฐ ทำไม กทม. จะเก็บไม่ได้ เก็บแค่ 100 บาท คืนแรกเท่านั้น ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท ในสมัยผู้ว่าฯ สกลธี จะมีเงินเพิ่มประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท แล้ว 4 ปี 30,000 ล้านบาท ขณะที่ 4 ปีข้างหน้า ตนตั้งใจจะดูแลคนกรุงเทพฯ ตั้งแต่เกิดยันแก่ ทำโรงเรียนดีใกล้บ้านให้ได้ เพิ่มสวนสาธารณะรอบๆ เมือง รวมทั้งพื้นที่สาธารณะอื่นๆ “โค เวิร์คกิ้งสเปซ” ศูนย์สาธารณสุขปรับให้เป็นโรงพยาบาล จ้างงานคนสูงอายุปีต่อปี จะดูแลคนกรุงเทพฯ ทั้งระบบ

ปิดท้ายคำถามนี้ด้วย สุชัชวีร์ บอกว่า ไม่ว่าระยะสั้น ระยะกลาง หรือ 4 ปี ผู้ว่าฯ คนเดียวทำงานไม่ได้ ต้องมาพร้อมกับ ส.ก. ทั้งนี้ใน 1 เดือนที่จะทำคือการเตรียมพร้อมให้ กทม. เปิด เพราะวันนี้ โควิด-19 เริ่มน้อย แต่ถ้าเปิดแล้วโควิดกลับมาจะทำอย่างไร ระบบการเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติ โรคระบาด เดือนแรกถ้าเปิดเมืองแล้ว โควิดพุ่งจะรับมืออย่างไร ส่วนเรื่องน้ำท่วมต้องทำ ไม่กล้ามาเป็นผู้ว่าฯ หาเสียงด้วยการลอกท่อ ลอกคลอง จะเป็นผู้ว่าฯ ที่หาจุดนั้นให้เจอ ไว้ใจเพราะตนถนัดที่สุดจริง ส่วน 4 ปีข้างหน้าจะเห็นคนกรุงเทพฯ ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี ไม่ต้องไปติดต่อที่เขต โรงเรียนที่ดีที่สุดคือโรงเรียนใกล้บ้าน อย่างน้อยต้องมีโรงเรียนต้นแบบ 1 เขต 1 โรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุขของกทม. พึ่งพาได้ โรงพยาบาลของกทม. สามารถดูแลได้ครบจบในตัว ฝุ่น PM2.5 หายไปครึ่งหนึ่ง มีไฟฟ้า กล้องวงจรปิด กทม. จะเป็นเมืองที่ปลอดภัย ต้องการเปลี่ยนกรุงเทพฯ จริงๆ เป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียนให้ได้จริงๆ

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามจาก วีระ ธีรภัทร เรื่องการแบ่งผู้สมัครออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรก ประกอบด้วย ชัชชาติ, วิโรจน์, น.ต. ศิธา ส่วนกลุ่มที่ 2 มี พล.ต.อ.อัศวิน, สกลธี, สุชัชวีร์ และรสนา มีการเรียกร้องถ้าจะแพ้ให้เลือกคนใดคนหนึ่งจากในกลุ่นนั้นแทน เพื่อให้ฝ่ายนั้นชนะการเลือกตั้ง โดยทั้ง 4 แคนดิเดต ยอมรับว่าโอกาสมีการแบ่งกลุ่มเช่นนั้นจริง เนื่องจากครั้งนี้มีแคนดิเดตหลายคน แต่ทั้ง 4 คนก็มองว่าต้องก้าวข้าม และไม่ควรเลือกแบบนั้น

นอกจากนี้ ทั้ง 4 คน ยังวิเคราะห์คะแนนเสียงของแคนดิเดตตัวหลัก และเห็นว่าผู้ที่จะชนะเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ต้องได้คะแนนเสียงเกิน ตั้งแต่ 700,000 ถึง 850,000 คะแนน ซึ่งอันดับ 1 และ อันดับ 2 อาจจะชนะกันไม่มาก โดยทั้ง 4 คน เห็นว่าคะแนนจะเบียดกันมากๆ  วิโรจน์ ใช้คำว่า “เฉือนหวิว” เพราะแคนดิเดตเยอะ มีคนที่ยังไม่ตัดสินใจอีกมาก เชื่อโพลไม่ได้

ชมคลิปเต็มๆ ที่นี่ : 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า