Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เบทาโกร’ (BETAGRO) หนึ่งในแบรนด์อาหารที่คนไทยหลายคนคุ้นเคย กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันพรุ่งนี้ (2 พ.ย. 2565) หลังจากที่ทำธุรกิจมานานกว่า 50 ปี

แต่ก่อนจะเข้าเทรด TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เบทาโกร (BTG) ถึงความเป็นมา และแผนธุรกิจหลังจากที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

[ รู้จักเบทาโกรในวันที่ยังไม่เข้าตลาดหุ้น ]

ซีอีโอของเบทาโกรเท้าความว่า เบทาโกรทำธุรกิจมานานกว่า 55 ปีแล้ว ที่ผ่านมาทำธุรกิจด้วยความตั้งใจว่าจะต้องช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยอาหารที่มีคุณภาพที่มากกว่า มีความปลอดภัยสูง และมีราคาที่เป็นธรรม

ในยุคแรกก็เน้นการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาผลิตเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และอาหารแปรรูปต่างๆ รวมถึงอาหารแปรรูปพร้อมทาน ภายใต้แบรนด์ ‘เอสเพียว’ (S-Pure) และ ‘เบทาโกร’ (Betagro)

ปัจจุบันมีการพัฒนาแบรนด์สินค้าต่างๆ มากขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่สินค้าต้นน้ำไปจนถึงสินค้าปลายน้ำ รวมถึงมีการขยายธุรกิจไปยังพื้นที่ใหม่ๆ เช่น ธุรกิจอาหารสัตว์ และการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เป็นต้น

ในไตรมาสล่าสุด (ครึ่งแรกของปี 2565) เบทาโกรมียอดขายรวมกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท โดยมาจาก 4 ธุรกิจหลัก คือ 1. ธุรกิจอาหารและโปรตีน 2. ธุรกิจเกษตร 3. ธุรกิจต่างประเทศ และ 4. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง

[ 2 เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจเข้าระดมทุน ]

ถึงจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ แต่ถ้าอยากยกระดับคุณภาพอาหารให้ดีขึ้นไปอีก จะต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยีและการสร้างความแตกต่าง จึงตัดสินใจระดมทุนเพื่อนำเงินมาเติมเต็มวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ

อีกหนึ่งเหตุผลที่ตัดสินใจระดมทุน คือ ถึงจะเดินทางมานานกว่า 55 ปีแล้ว แต่การจะทำให้ธุรกิจยั่งยืนจริงๆ จะต้องสร้างองค์กรให้มีความเป็นสถาบันมากขึ้น และต้องเป็นมากกว่าธุรกิจครอบครัว

นอกจากนี้ เชื่อว่าการเข้าตลาดหุ้น น่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ดึงดูดคนที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานด้วย ซึ่งเบทาโกรก็อยากได้คนที่มีความเชี่ยวชาญ และคนใหม่ๆ ที่มีความสามารถเข้ามาร่วมทีม

สำหรับแผนการใช้เงินหลังเข้าระดมทุน แบ่งเป็น 1 ใน 3 ก้อนแรก จะถูกใช้ไปกับการลงทุน อีก 1 ใน 3 ก้อนถัดไป จะถูกใช้ชำระคืนหนี้ระยะสั้นและระยะยาว และ 1 ใน 3 ก้อนที่เหลือ จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

[ วางแผนลงทุนเพิ่มทุกปีใน 4 ธุรกิจหลัก ]

เมื่อถามถึงแผนธุรกิจหลังจากเข้าตลาดหุ้น ซีอีโอบอกว่า เบทาโกรยังเน้นการทำธุรกิจอาหาร และมั่นใจว่าบริษัทฯ จะโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสามารถในการแข่งขันที่สูง

สำหรับแผนระยะสั้น เบทาโกรจะเน้นการนำข้อมูลมาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร (Data Driven) การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต และการสร้างรายได้การจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพขึ้นจากทุกผลิตภัณฑ์

ส่วนระยะกลาง เตรียมตัวเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยตั้งเป้าหมายว่าใน 4-5 ปีต่อจากนี้ เบทาโกรจะสามารถนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาองค์กรและยกระดับการจัดการต่างๆ

ขณะที่แผนระยะยาวในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ จะเห็นการลงทุนต่อเนื่องทุกปีใน 4 ธุรกิจหลัก เช่น การลงทุนในโรงงานอาหารสัตว์ การทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง การลงทุนในโรงงานอาหารแปรรูป ฯลฯ

นอกจากการเติบโตจากธุรกิจเดิม (Orgุanic Growth) เบทาโกรยังขยายการลงทุนออกไปในธุรกิจใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การลงทุนในธุรกิจอาหารจากพืช (Plant-based Food) ภายใต้แบรนด์ ‘มีทลี่!’ (Meatly!)

หรือการร่วมทุนกับพันธมิตร ‘เคอรี่’ (KERRY) ในการทำธุรกิจขนส่งด่วนแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Distribution) ภายใต้แบรนด์ ‘เคอรี่คูล’ (KERRY COOL) เป็นต้น

betagro-from-day-1-to-the-1st-day-trade

[ อนาคตธุรกิจอาหาร ต้องไม่ผลักภาระให้คนกิน ]

เมื่อถามถึงแนวโน้มของตลาดอาหารต่อจากนี้ ซีอีโอของเบทาโกรบอกว่า เทรนด์อาหารตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. อาหารที่มีความปลอดภัยสูง เช่น อาหารพร้อมขาย (Pre-packaged Food) อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) และอาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook)

กลุ่มนี้ได้รับความนิยมมากจากผู้บริโภค ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีนี้ (2563-2565) จากผลกระทบโควิด-19 ทำให้คนต้องการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงตอยโจทย์เรื่องสุขภาพด้วย

2. ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จากภาวะสงครามที่ทำให้ห่วงโซ่อาหารสะดุด

เมื่อภาพใหญ่เป็นแบบนี้ จะเห็นว่าธุรกิจอาหารยังมีโอกาสอีกมาก แต่ในอีกด้านหนึ่งที่คนทำธุรกิจอาหารต้องระวัง คือ ‘ภาวะราคาอาหารเฟ้อ’ (Food Inflation) ทำอย่างไรจึงจะลดภาระต้นทุนผู้บริโภคให้น้อยที่สุด เพื่อรักษาสมดุล

ซึ่งการบริหารผลิตภาพ (Productivity) เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ต้นทุนต่อหน่วยน้อยลง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระผู้บริโภค

[ โปรตีนทางเลือก ทางรอดของมนุษย์ในอีก 30 ปีข้างหน้า  ]

นอกจาก 2 เทรนด์ข้างต้นแล้ว ‘โปรตีนทางเลือก’ (Alternative Protein) ก็เป็นอีกเทรนด์อนาคตสำคัญของธุรกิจอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารจากพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Cell Culture) โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์ (Mycoprotein) หรือโปรตีนทางเลือกจากแมลง (Insect Protein)

ทั้งหมดนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มีโปรตีนเพียงพอต่อการบริโภคของคนทั้งโลกในระยะข้างหน้า โดยผลการวิจัยพบว่า แหล่งโปรตีนในปัจจุบัน เพียงพอเลี้ยงคนเพียง 7,000 ล้านคนเท่านั้น

แต่ในปี 2030-2050 (2573-2593) หรืออีกประมาณ 30 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะขยายตัวแตะ 10,000 ล้านคน

ถึงตอนนั้นโปรตีนแบบเดิมจะเพียงพอเลี้ยงประชากรโลกได้แค่ 50-55% เท่านั้น ส่วนอีก 45% ที่เหลือต้องถูกชดเชยด้วยโปรตีนทางเลือก

แม้นักวิชาการจะคาดการณ์ว่าในปี 2030 โปรตีนทางเลือกจะมีสัดส่วนในตลาดเพียง 8% เท่านั้น แต่ก็เชื่อว่าจะขยายตัวต่อเนื่องมาเติมเต็ม 45% ได้ภายในปี 2050

ในส่วนของเบทาโกรคงต้องมองหาโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาโปรตีนทางเลือกให้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจอาหารมากขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า