Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก FB Sirianan Prasit

วันที่ 7 ต.ค. นพ.ศิริอนันต์ ประสิทธิ์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลยะลา ได้โพสต์ภาพในเฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นก้อนนิ่วที่ผ่ามาจากไตของคนไข้ ก่อนนำมาจัดเรียงเป็นคำว่านิ่ว โดยระบุว่า คนไข้รายนี้ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหลังและอาการไตเสื่อม ซึ่งหากไม่อยากเป็นนิ่วต้องดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน

นพ.ศิริอนันต์ ระบุด้วยว่า คนไข้รายนี้ได้รับการผ่าตัดโดยเครื่องมือผ่านิ่ว ที่ได้มาจากโครงการก้าวคนละก้าว ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มโดย อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม

ขณะที่เว็บไซต์ของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายเรื่อง นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ โดย ผศ.นพ.เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยอธิบายถึงอาการของผู้ป่วยว่า ปวดเป็นครั้ง ๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวด ๆ หาย ๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน

โดยผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะมีอาการค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งและการอุดตันของก้อนนิ่วนั้นๆ ว่ามีการอุดตันมากน้อยแค่ไหน ในกรณีที่เป็นมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณท้องหรือบริเวณหลังหรือในตำแหน่งที่นิ่วอุดตันอยู่ ซึ่งจะเจ็บปวดทุรนทุรายมากจนกระทั่งทำให้ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ หรือในผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่สามารถตรวจพบในกรณีที่ผู้ป่วยรับการตรวจสุขภาพ และได้พบว่า ไตได้สูญเสียการทำงานไปแล้ว หรือที่เราเรียกว่า ภาวะไตวาย

ส่วนการป้องกันเบื้องต้นไม่ให้เกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ อันดับแรก คือ ต้องบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่วในปริมาณที่ลดลง เช่น สารเนื้อแดง อาหารที่มีรสเค็ม เนื่องจากอาหารดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกิดสารก่อนิ่วในน้ำปัสสาวะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จะต้องดื่มน้ำในปริมาณเพิ่มขึ้น เพราะน้ำจะเป็นตัวที่ช่วยลดการตกตะกอนของสารก่อนิ่วได้เป็นอย่างดี โดยปริมาณน้ำดื่มที่แนะนำต่อวันคือประมาณ 2.5 – 3 ลิตร

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีกรณีที่ทีมแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีออกมาได้ถึง 1,898 เม็ด ด้วยวิธีส่องกล้อง ซึ่งทีมข่าวเวิร์คพอยท์เคยทำเสนอวิธีการสังเกต อาการของนิ่วในถุงน้ำดี

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีมีปัจจัยจาก
1.ความอ้วน
2.ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการกินอาหารหรือตั้งครรภ์ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
3.การใช้ยาลดไขมันบางชนิด
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากๆ
5.การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป
ปัจจุบันนิ่วในถุงน้ำดีรักษาโดยการผ่าตัด หากพบว่ามีนิ่ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ส่วนวิธีปกป้องนั้นคือลดการกินอาหารไขมันสูงและการออกกำลังกายเป็นประจำ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า