Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดทำเนียบฯ ต้อนรับ ‘ฮุน มาเนต’ ไทย-กัมพูชา เซ็น MOU 5 ฉบับวันนี้ จับตาหารือพื้นที่ทับซ้อน หลัง ‘เศรษฐา’ เคยระบุในที่ประชุมสภาฯ

(ภาพ เจมส์ วิลสัน / Thai News Pix)

สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา และภริยา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พร้อมภริยา และคณะรัฐมนตรี ให้การต้อนรับ ที่ทำเนียบรัฐบาล

โดยมีพิธีตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ณ บริเวณสนามหญ้า หน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น ได้ถ่ายภาพร่วมกัน ณ บันไดโถงกลาง ตึกไทยคู่ฟ้า

เวลา 11.40 น. นายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศ จะเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) 5 ฉบับ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของไทยกับกัมพูชา ประกอบด้วย

1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการรับมือเหตุฉุกเฉินระหว่างไทยกับกัมพูชา โดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ H.E. General Kun Kim รัฐมนตรีอาวุโส และรองประธานคณะกรรมการบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติกัมพูชา

2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กับกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกัมพูชา โดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ H.E. Hem Vanndy รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกัมพูชา

3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการผ่านแดนสินค้าระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทยและกรมศุลกากรและสรรพสามิตแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา โดยนายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร และ H.E. Dr. Kun Nhem รัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา

4. บันทึกความเข้าใจระหว่าง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยและหอการค้ากัมพูชา เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและกัมพูชา โดย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM Bank และNeak Okhnha Kith Meng ประธานหอการค้ากัมพูชา

5. บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้ากัมพูชา โดยนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทย และ Neak Okhnha Kith Meng ประธานหอการค้ากัมพูชา

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 6 ก.พ. 67 ได้อนุมัติร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการผ่านแดนสินค้าระหว่างกรมศุลกากรแห่งอาณาจักรไทยและกรมศุลกากรและสรรพสามิตแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 60 เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการผ่านแดนสินค้าระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทยและกรมศุลกากรและสรรพสามิตแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) เฉพาะการอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)

2. เห็นชอบในการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยอธิบดีกรมศุลกากรของประเทศไทยและกัมพูชา โดยไม่ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม ทั้งนี้ กรมศุลกากร จะดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการยินยอมลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยไม่ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานระหว่างทั้ง 2 ประเทศต่อไป

3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขภาคผนวกของร่างบันทึกความเข้าใจฯ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ การเปิดจุดผ่านแดนใหม่หรือด้วยเหตุผลอื่นใด ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กระทรวงการคลัง ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยจะมีการลงนามและรับรองร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในวันนี้

เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 นายเศรษฐา ได้กล่าวในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ถึงเรื่องของ OCA หรือพื้นที่ทับซ้อนว่า ประเทศไทยกำลังเจรจาอยู่อย่างต่อเนื่องกับประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี อยู่ใน Agenda ที่จะมีการพูดคุยกับนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในวันที่ 7 ก.พ. 67 ซึ่งเรื่องนี้ก็จะถูกขึ้นมาพูดคุยกัน

“เรานั่งอยู่บนขุมทรัพย์ที่มีมูลค่าอยู่หลายล้านล้าน ก็คิดว่าเราควรที่จะมีการพูดคุยกันได้และตรงกันได้” นายเศรษฐา กล่าวในวันนั้น

‘เศรษฐา’ เผย 7 ก.พ. 67 นัดเจรจา ‘ฮุน มาเนต’ เคลียร์พื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า