Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทัพจีนและอินเดียปะทะกันบริเวณชายแดนพื้นที่พิพาทบนเทือกเขาหิมาลัย ครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี หลังทั้งสองฝ่ายพยายามลดความตึงเครียด จากเหตุการณ์ปะทะครั้งใหญ่ จนคร่าชีวิตทหารไปอย่างน้อย 24 นาย เมื่อปี 2563

กองทัพอินเดียออกมาระบุเมื่อวันจันทร์ (12 ธ.ค.) ว่า ทหารของตนได้ปะทะกับทหารกองทัพจีนในพื้นที่พิพาทตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ ทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจำนวนหนึ่ง 

การปะทะครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ (9 ธ.ค.) ในพื้นที่เมืองตาวัง รัฐอรุณาจัลประเทศ ซึ่งเป็นพรมแดนทางตะวันออกสุดของอินเดีย 

โดยกองทัพอินเดียระบุในแถลงการณ์ว่า ทั้งสองฝ่ายได้ถอนกำลังออกนอกพื้นที่ในทันทีหลังเกิดการปะทะ ในขณะที่ผู้บัญชาการของทั้งสองได้จัดการเจรจาขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อรื้อฟื้นสันติภาพและความสงบสุขในพื้นที่ 

อย่างไรก็ตาม จากรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ทางการจีนยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียงแหล่งข่าวจากกองทัพอินเดียที่เปิดเผยว่า มีทหารอินเดียได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากการปะทะครั้งนี้อย่างน้อย 6 นาย 

เกิดอะไรขึ้นที่พรมแดนจีน-อินเดีย 

จีนและอินเดียมีพรมแดนร่วมกันเป็นระยะทางยาว 4,056 กิโลเมตร แต่ในระยะทางดังกล่าวมีอยู่ราว 3,440 กิโลเมตร เป็นจุดที่ไม่สามารถกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นแนวแม่น้ำ ทะเลสาบ และหิมะบนภูเขา ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 

จุดเขตแดนที่ทั้งสองยังไม่สามารถตกลงกันได้ ถูกเรียกว่า LAC หรือ ‘แนวเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง’ (Line of Actual Control) ซึ่งกำหนดขึ้นหลังจากสงครามจีน-อินเดียในปี 2505 อันมีชนวนเหตุมาจากความขัดแย้งเพื่อแย่งชิงพื้นที่บริเวณเทือกเขาหิมาลัย เนื่องจากทั้งสองต่างมองว่าพื้นที่ดังกล่าวนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ 

นับตั้งแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียก็ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์เปราะบางมาโดยตลอด เกิดการปะทะกันขึ้นบ้างเป็นระยะๆ เนื่องจากไม่เคยมีการเจรจากำหนดจุดชัดเจนของเส้น LAC อย่างเป็นทางการ ทำให้ทั้งสองยึดถือขอบเขตของเส้นต่างกัน โดยอินเดียอ้างว่าเส้น LAC มีระยะทางยาว 3,488 กิโลเมตร แต่จีนระบุว่าขอบเขตของเส้น LAC ที่ตนยึดถืออยู่ยาวเพียงประมาณ 2,000 กิโลเมตรเท่านั้น  

ความขัดแย้งยืดเยื้อกว่าครึ่งศตวรรษ

สถานการณ์ตึงเครียดครั้งใหญ่ล่าสุดบริเวณชายแดนจีน-อินเดีย เกิดขึ้นเมื่อปี 2563 หลังจากอินเดียเริ่มสร้างถนนเลียบเส้นแบ่งเขตแดน LAC ทำให้จีนไม่พอใจ เพราะมองว่าการสร้างถนนจะทำให้อินเดียเข้าควบคุมพื้นที่ และใช้เป็นเส้นทางขนส่งทางยุทธศาสตร์หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น จึงส่งทหารหลายพันนายพร้อมอาวุธเข้าไปประจำการบริเวณพื้นที่พิพาท จนเกิดการเผชิญหน้ากับทหารอินเดียที่หุบเขากาลวานในภูมิภาคลาดักห์ แคว้นแคชเมียร์ 

การปะทะดังกล่าว ทำให้ทหารอินเดียเสียชีวิตไป 20 นาย ขณะที่มีรายงานว่าทหารจีนเสียชีวิตไปอย่างน้อย 4 ราย โดยถือเป็นการเผชิญหน้าระหว่างกองทัพจีนและอินเดียรุนแรงสุด และเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปีที่มีการสูญเสียจากความขัดแย้งระหว่างจีนและอินเดีย 

ต่อมาในช่วงต้นปี 2564 ทั้งสองฝ่ายมีการปะทะกันอีกครั้งบริเวณพรมแดนรัฐสิกขิมของอินเดีย ส่งผลให้มีกำลังพลได้รับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ก่อนที่จะมีการเจรจาตกลงกันถอนทหารออกจากพื้นที่ยุทธศาสตร์บริเวณทะเลสาบปันกอง หนึ่งในพื้นที่พิพาทบนเทือกเขาหิมาลัยที่ทั้งสองต่างอ้างกรรมสิทธิ์ 

ส่วนการถอนกำลังออกจากพื้นที่พิพาทอื่นๆ ยังคงไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างกล่าวโทษกันไปมาว่าไม่ให้ความร่วมมือ จึงยังคงมีทหารของทั้งสองประจำการอยู่ตามแนวชายแดน แต่ไม่มีรายงานการปะทะเกิดขึ้นมาเป็นเวลามากกว่า 1 ปีแล้ว

อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดเริ่มส่งสัญญาณปะทุขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมปรากฏให้เห็นว่าจีนกำลังก่อสร้างสะพานในพื้นที่ทะเลสาบปันกอง ซึ่งทางอินเดียก็ได้รีบออกแถลงการณ์ว่าจะเฝ้าจับตาการก่อสร้างดังกล่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมกับยืนยันว่าจะยังคงจัดทหารประจำการอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ  

ความขัดแย้งระหว่างจีนและอินเดียตกเป็นเป้าสนใจและถูกจับตาจากประชาคมโลกมาตลอด เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างเป็นประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ ซึ่งหมายถึงประเทศที่มีนิวเคลียร์อยู่ในครอบครองกันทั้งคู่ ทั้งยังเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากที่สุดในโลก และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่าหากสถานการณ์ความขัดแย้งบานปลายกลายมาเป็นสงครามย่อมส่งผลกระทบต่อทั่วโลกอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

 

ที่มา 

https://indianexpress.com/article/explained/line-of-actual-control-where-it-is-located-and-where-india-and-china-differ-6436436/

https://www.bbc.com/news/world-asia-63953400

https://www.bbc.com/news/world-asia-53062484

https://www.voathai.com/a/india-china-hold-talks-on-border-disengagement-/6393918.html

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า