Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วิป 3 ฝ่าย ได้ข้อสรุปใช้เวลา 18 ชั่วโมงอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากการเข้าชื่อ 150,921 รายชื่อ ‘ปิยบุตร-ไอติม พริษฐ์’ นำทีมเข้าชี้แจง

วันที่ 11 พ.ย. 2564 นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นายณัฐกานต์ ชูชนะ เลขานุการคณะทำงานประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยผลการประชุมร่วม วิป 3 ฝ่าย ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ภาคประชาชนเสนอ ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 16 พ.ย.นี้ ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปให้เวลาอภิปรายทั้งหมด 18 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ วุฒิสภา ส.ส.รัฐบาล และ ส.ส.ฝ่ายค้าน ฝ่ายละ 5 ชั่วโมง และภาคประชาชนเจ้าของญัตติ 3 ชั่วโมง

เมื่ออภิปรายครบ 18 ชั่วโมงแล้ว จะหยุดการประชุม โดยจะลงมติในวันที่ 17 พ.ย. เวลา 10.00 น. โดยการขานชื่อเป็นรายบุคคล จากนั้นในช่วงบ่ายจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามปกติ

ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก Re-Solution ถึงเวลารัฐธรรมนูญใหม่ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า จากกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับรื้อระบอบประยุทธ์ ซึ่งประชาชน 150,921 รายชื่อ ได้เข้าชื่อเสนอต่อสภาไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 กำลังจะถูกบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาในวันอังคารที่ 16 พ.ย.นี้ ทางกลุ่มเตรียมจะส่งตัวแทนเข้าไปชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภา เพื่อนำเสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ อภิปราย และตอบข้อซักถาม โดยตัวแทนทั้ง 4 คน ประกอบไปด้วย ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า, พริษฐ์ วัชรสินธุ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า (ConLab), ณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ ชลธิชา แจ้งเร็ว นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทั้งหมดมีรายชื่อเป็นผู้เชิญชวนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 20 คนแรกด้วย

เพจเฟซบุ๊ก ได้เชิญชวนให้ประชาชนติดตามการประชุมร่วมกันของรัฐสภาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเนื้อหาของร่างแก้รัฐธรรมนูญรื้อระบอบประยุทธ์มีข้อเสนอที่มุ่งจัดการปัญหาที่ต้นตอวิกฤติการเมืองไทย อาทิ

1) ล้ม ส.ว. เดินหน้าสภาเดี่ยว เอา ส.ว. 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ออกไป เพื่อใช้ระบบสภาเดี่ยว

2) โละ ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ – ปฏิรูปที่มา อำนาจ การตรวจสอบ จัดการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการองค์กรอิสระทุกองค์กร เพื่อให้ได้คนที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ไม่ใช่คนที่ ส.ว. 250 คนเป็นคนแต่งตั้ง

3) เลิก ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูป – ปลดโซ่ตรวนอนาคตประเทศ ไม่ให้ คสช. มีเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงข้าม

4) ล้าง มรดกรัฐประหาร – หยุดวงจรอุบาทว์ขวางประชาธิปไตย เช่น ยกเลิกมาตรา 279 ทำให้คำสั่ง คสช. ไม่ได้ชอบด้วยกฎหมายแบบอัตโนมัติเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

“ดังนั้นการอภิปรายร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คงจะดุเดือดไม่แพ้ครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเนื้อหาในร่างฯ ต้องการตัดแข้งตัดขาและทลายเสาค้ำยันระบอบประยุทธ์ มาจับตาดูกันว่า องคาพยพของระบอบประยุทธ์ จะกอดอำนาจของตัวเองแน่นแค่ไหน พวกเขาจะยกเหตุผลอะไรมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 60 ส่วนผู้ชี้แจงทั้ง 4 คนก็พร้อมจัดเต็มทั้งลีลาวาทะศิลป์ การใช้เหตุผล หลักการประชาธิปไตย หลักธรรมภิบาล สิทธิมนุษยชน และกฎหมายรัฐธรรมนูญ”

พร้อมทิ้งท้ายว่า กลุ่ม Re-Solution ได้ทำการรณรงค์เข้าชื่อประชาชนแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับรื้อระบอบประยุทธ์ ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2564 จนได้รับเสียงสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนทั่วประเทศร่วมเข้าชื่อกว่า 150,921 คน รายชื่อทั้งหมดถูกยื่นเข้าสู่สภาในวันที่ 30 มิ.ย. 2564 ต่อมาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าชื่อจนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 จาก 150,921 ชื่อ พบว่ามีรายชื่อที่ผ่านการตรวจสอบว่าเป็นผู้มีสิทธิเข้าชื่อและมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนทั้งหมด 135,247 ชื่อ ปัจจุบันร่างนี้จะเข้าสู่การพิจารณาวาระแรกของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันอังคารที่ 16 พ.ย. ที่จะถึงนี้

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า