Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.เปิดข้อมูล เทียบประสิทธิภาพ 4 ยารักษาโควิดในประเทศไทย 

วันที่ 20 มีนาคม 2565 นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้อธิบายถึงยารักษาโรคโควิด-19 ทั้ง 4 ตัวที่มีการใช้และกำลังจะนำมาใช้ในประเทศไทย คือ ฟาวิพาราเวียร์ (Favipiravir) เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ปริมาณการใช้ รวมถึงค่าใช้จ่าย (ผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย)ว่าการรักษาโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญมีการติดตามข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง 

สำหรับยาฟาวิพิราเวียร์ มีการใช้มา 2 ปี โดยช่วงแรกศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศ โดยกลไกลการออกฤทธิ์ เป็นการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ RNA ไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไป โดยจากการทบทวนอย่างเป็นระบบ ข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับฟาวิพาราเวียร์ มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟาวิพาราเวียร์ โดยเฉพาะใน 14 วันสัดส่วนอาการดีขึ้นอยู่ที่ 86.9%  ปัจจุบันใช้ในผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง รวมถึงกลุ่มเสี่ยง ยังไม่ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แต่ช่วงไตรมาส 2-3 อาจพิจารณาให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้ ส่วนค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ 800 บาท

ขณะเดียวกันยังติดตามอาการใช้ยาอื่นๆ อย่างเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)  มีกลไกการออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งจริงๆ ช่วงเริ่มต้น ทางองค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้รับรอง กระทั่งมีการใช้ระยะหนึ่งทาง US FDA จึงได้ให้การรับรองใช้ยาตัวนี้สำหรับการรักษาในภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์กับคนไข้ที่ทานยาไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม และใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเมื่อศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมีอาการลดลง นอนรพ.ลดลง  โดยพบนอนรพ. 10 วัน ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอก นอนรพ. 15 วัน ค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ 1,512 บาท

ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) อยู่ในกระบวนการเตรียมพร้อมกระจาย หลังได้รับการอนุมัติจากอีโอซี กระทรวงสาธารณสุข และศบค. ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์จุดเดียวกัน และลดความเสี่ยงจะเกิดอาการรุนแรง ขนาดยารับประทานสำหรับผู้ใหญ่ 800 มก.  คือ แคปซูลขนาด 200 มก. จำนวน 4 แคปซูล โดยให้รับประทานทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน รวม 40 แคปซูลต่อคน  ซึ่งยาตัวนี้ต้องให้ภายใน 5 วันหลังได้รับการวินิจฉัยเริ่มมีอาการ  มีค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท

ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) กลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน จะออกที่เอนไซม์ ทำให้เชื้อลดจำนวนลง ไม่สามารถเกิดผลกับโรคได้  โดยยาตัวนี้ประกอบด้วยยา 2 ชนิด คือ Nirmatrelvir  และ Ritonnavir  ทำให้ลดความเสี่ยง 88% กรณีให้ภายใน 5 วันหลังมีอาการ ที่สำคัญยาตัวนี้พบว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการสำรองยาตัวนี้ โดยกลางเดือนหน้าจะนำเข้า และกระจายในลำดับถัดไป โดย ยาแพกซ์โลวิด เป็นยาแบบทาน ใช้ในผู้ป่วยอาการน้อยถึงปานกลาง เน้นในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง (เข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต) ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร มีค่ารักษาต่อคอร์สอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท

นพ.มานัส กล่าวต่อว่า การได้มาของแนวทางการรักษา จะมีการปรับเปลี่ยนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีการประชุมของผู้เชี่ยวชาญตลอด โดยล่าสุดมีการปรับปรุงไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2565 แต่ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุม และอาจมีการปรับปรุงแนวทางการรักษา ซึ่งมีการจำแนกความรุนแรงของโรค ยาตัวเลือกที่มีให้ใช้ การรักษาตามอาการ รวมทั้งฟ้าทะลายโจร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า