Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ไทยยังวิกฤต มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 15 ราย ติดเชื้ออีก 2,012 ราย ส่งผลยอดป่วยสะสม 61,699 ราย 

วันที่ 28 เม.ย. 2564  พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวัน พบว่า

  • ติดเชื้อเพิ่ม 2,012 ราย สะสม 61,699 ราย
  • รักษาหาย 815 ราย สะสม 34,402 ราย
  • กำลังรักษา 27,119 ราย (อาการหนัก 695 ราย)
  • เสียชีวิตเพิ่ม 15 ราย สะสม 178 ราย

สำหรับจำนวนผู้ได้รับวัคซีน สะสม 1,279,713 โดส หรือประมาณ 1.93% ของจำนวนประชากร ผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 : 26,527 ราย สะสม 1,038,960 ราย  ผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 : 26,109 ราย สะสม 240,753 ราย

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า รายละเอียดผู้เสียชีวิตทั้ง 15 ราย แบ่งเป็น เพศชาย 11 ราย เพศหญิง 4 ราย ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด ไตเรื้อรัง โรคอ้วน ไทรอยด์ และอัลไซเมอร์ ส่วนใหญ่มีประวัติการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า ซึ่งเป็นคนในครอบครัวถึง 10 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ติดเชื้อจากเพื่อนบ้าน จากเพื่อนที่ฟิตเนส จากที่ทำงาน และไปสถานบันเทิง ในจำนวนนี้ มี 2 รายที่เสียชีวิตก่อนทราบผลติดเชื้อ และมี 2 ราย เสียชีวิตในวันเดียวกับที่ทราบผลติดเชื้อ

 สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบว่ากรุงเทพมหานคร มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด 830 คน ขณะที่ผู้ติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศ มีอินเดีย ,สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,สาธารณรัฐเช็ก,กาตาร์,จีน ประเทศละ 1 คน ปากีสถาน 4 คน และกัมพูชา 2 คน ทั้งหมดเข้าอยู่ในสถานกักกันแล้ว

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า วัคซีนที่กระจายในตอนนี้ อยู่บนพื้นฐานของวัคซีนในภาวะฉุกเฉินที่ได้รับการอนุญาตโดยองค์การอนามัยโลก WHO จึงอยากจะรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนเพื่อลดอัตราการตาย และลดอัตราการใช้โรงพยาบาลเมื่อป่วยอาการจะไม่รุนแรง โดยแผนกระจายวัคซีนของภาครัฐ ต้องการให้ครอบคลุมประชากรในไทยรวม 70 ล้านคน ประชาชนจะต้องได้รับวัคซีนร้อยละ 70 หรือประมาณ 50 ล้านคนจึงจะเกิดภูมิคุมกันหมู่ ซึ่งกระทรวงสาธาณสุขจะเร่ง ทำแผนการกระจายวัคซีนเสร็จสิ้น ในเดือน ธ.ค. 2564

สำหรับตัวเลขผู้ป่วยที่กำลังรอเตียงรักษา โทรสายด่วนไม่ติด ผู้ช่วยโฆษก ศบค.เปิดเผยว่า ข้อมูล ณ วันที่ 27 เม.ย. มีผู้ป่วยอาการหนักถึง 255 คน ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 104 คน และมีแนวโน้มผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่สามารถไปรักษาในโรงพยาบาลสนามหรือฮอสพิเทลได้  ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือจากผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ให้ย้ายออกไปรักษาที่โรงพยาบาลสนาม และฮอสพิเทล เพื่อจัดสรรเตียงในโรงพยาบาลให้กับผู้ป่วยหนักให้ได้เข้ารับการรักษา ซึ่งการจัดลำดับผู้ป่วยที่จะได้รับเตียงในโรงพยาบาลมีความละเอียดอ่อนมาก แพทย์จะพิจารณาที่อาการของผู้ป่วย 

พญ.อภิสมัย อธิบายว่า หากมีเตียงว่างจำนวน 100 เตียงและมีผู้ติดเชื้อรอเตียง 100 คน ถ้าวันนั้นมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ป่วยหนักรดับสีแดงมา 5 คน แพทย์อาจจะพิจารณานำผู้ป่วยหนักเข้าเตียงก่อน ไม่ใช่ใครมาก่อนแล้วได้เตียงก่อน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า