Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. เผยไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์ ‘เดลต้าพลัส’ 1 ราย ขณะนี้รักษาหายแล้ว ด้าน WHO ยังไม่ยกระดับ เพียงแต่จับตาใกล้ชิดโดยเฉพาะในอังกฤษ

วันที่ 25 ต.ค. 2564 นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรค และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวประจำวัน กล่าวถึง โควิดสายพันธุ์ย่อย  AY.4.2 หรือ เดลตาพลัส ยืนยันว่า องค์อนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้ยกระดับเฝ้าระวัง แต่เพียงจับตา โดยเฉพาะในอังกฤษ เนื่องจากพบว่า มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์นี้ 6 %

สำหรับในไทย จากการติดเชื้อสุ่มตรวจ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์กองทัพบก AFRIMF พบว่า มีคนไทย ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าพลัส 1 คน เป็น ชายอายุ 49 ปี  มีประวัติทำงานที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ตรวจพบเชื้อเดลต้าพลัส เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ขณะนี้รักษาหายแล้ว และไม่มีปัจจัยอื่นๆ อีกทั้งไม่เคยเดินทางต่างประเทศ โดยในวันพรุ่งนี้ ( 26 ต.ค. 2564) กรมวิทยาศาสตร์ฯ จะมีการแถลงรายละเอียด

“สายพันธุ์เดลต้าหลักยังเป็นส่วนใหญ่ แต่สายพันธุ์นี้ ก็อยู่ในช่วงที่มีการจับตามอง แต่ยังไม่ต้องมีความกังวลในแง่ที่ว่า สายพันธุ์นี้มีความรุนแรงกว่าปกติหรือไม่ หรือมีโอกาสจะดื้อยา ดื้อวัคซีนหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นอยู่ระหว่างการจับตามองและหารายละเอียดอยู่ ยังไม่ถึงกับต้อง กังวล เพราะว่าเปรียบเทียบกับเดลต้า และอัลฟ่าที่ผ่านมา ถ้าเห็นการแพร่กระจายที่ชัดเจนเราจะเห็นลูกคลื่นการระบาดที่เร็วและแรงมาก ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศก็มองว่า ตรงนี้เป็นการให้ความสำคัญของประเทศอังกฤษที่จะจับตามอง มีการติดตามข้อมูลสอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม ในขณะที่องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ยกระดับ” นพ.เฉวตสรร ระบุ

ขณะที่ สถานการณ์การติดเชื้อโควิด -19 ในไทย  มีแนวโน้มสูงขึ้นบางพื้นที่ และจับตาใกล้ชิดใน 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตาก ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ และขอนแก่น ส่วนกทม.และปริมณฑลลดลง โดยที่เชียงใหม่และขอนแก่น เป็นคลัสเตอร์ ตลาดและชุมชน จึงสั่งให้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด เร่งการฉีดวัคซีนสุ่มตรวจเชิงรุกด้วย ATK  และเพิ่มเตียงรองรับไว้ให้เพียงพอ

ส่วนที่พบการติดเชื้อโควิด จากการเล่นน้ำท่วม จากเดิมพบป่วย  52 คน แต่ขยายจนลุกลามจนเป็นคลัสเตอร์ป่วย รวม  109 คน ที่ จ.นครศรีธรรมราชนั้น นพ.เฉวตสรร ยืนยันว่า การเล่นน้ำในปริมาณมากๆ ไม่ใช่ประเด็นของการแพร่เชื้อ แต่จุดสำคัญอยู่ที่ประเด็นร่วม  มีการสัมผัสใกล้ชิด สัมผัสสารคัดคลั่ง เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากคนใกล้ชิดและทำกิจกรรมร่วมกัน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า