Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผยหลักเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีแพ้วัคซีนโควิด-19 แจง จ่ายให้เฉพาะผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์จาดดารฉีดวัคซีนฟรีของรัฐเท่านั้น

วันที่ 24 มิ.ย. 2564 นายจิรวุสฐ์ สุขได้พึ่ง กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) สัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย เปิดเผยว่า ประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของรัฐหรือวัคซีนที่ รพ.เอกชน จัดหามาให้บริการโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หากเกิดความเสียหายขึ้นประชาชนสามารถยื่นคำร้องให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ของ สปสช. ยืนยันว่าจะมีการจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นให้ทุกกรณี ในส่วนของวัคซีนโควิด-19 ทางเลือกที่ทางโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้จัดหาและมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้นจะไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของ สปสช. ดังนั้นผู้รับบริการต้องไปเรียกร้องกับทาง รพ.เอกชน แทน

ส่วนกรณีของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เมื่อพิจารณาจากประกาศราชวิทยาลัยฯ ที่ต้องการให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรีโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายจากประชาชนนั้น หน่วยงานหรือองค์กรใดที่จัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จากราชวิทยาลัยฯ ก็จะต้องฉีดให้กับผู้รับบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากผู้รับบริการเกิดปัญหาจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 นั่นหมายความว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจากทาง สปสช. ตามเกณฑ์ แต่ถ้ามีหน่วยงานใดซื้อวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ จากราชวิทยาลัยฯ แล้วไปเรียกเก็บค่าใช้บริการ ค่าใช้จ่ายจากประชาชน ตรงนี้ทาง สปสช. จะไม่เกี่ยวข้อง

ในส่วนของซิโนฟาร์มที่มีประกันค่าเสียหายราว 1 ล้านบาท ตรงนี้จะถือว่าเป็นคนละส่วนกันกับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของ สปสช. ฉะนั้นสมมติว่ามีผู้เสียชีวิตจากการรับวัคซีนซิโนฟาร์ม ทาง สปสช. ก็จะต้องจ่ายในอัตราตามหลักเกณฑ์ เรายึดหลักว่าประชาชนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อไหร่ หน่วยงาน องค์กร หรือสถานพยาบาลที่ผู้รับบริการไปฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องรับผิดชอบ

ทั้งนี้ ในกรณีได้รับความเสียหายหรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนโควิด-19 ที่ภาครัฐจัดให้ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ คือ กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจะได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท และกรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งจะช่วยเหลือจำนวนเท่าใดนั้น เป็นการพิจารณาของอนุกรรมการฯ ตามภาวะความรุนแรง โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกับ สปสช. ได้ที่โรงพยาบาลที่ฉีด หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต โดยมีระยะเวลายื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. โทร 1330

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า