Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผยไทยติดโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง แต่ต้องเฝ้าระวัง จ.นครศรีธรรมราช ติดเชื้อสุงขึ้นสวนทางกับภาพรวมของประเทศ ขณะที่ผลการเปิดประเทศ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยแล้ว 13,397 ราย ในจำนวนนี้พบผู้ติดเชื้อรวม 10 ราย

วันที่ 5 พ.ย. 2564 พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยโฆษก ศบค. รายงานผลการรับผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้าไทย ความคืบหน้าการเปิดประเทศว่า ตั้งแต่วันที่ 1-4 พ.ย. 2564 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 2,086 ราย เป็นกลุ่ม Test & Go 1,864 ราย, กลุ่ม Sandbox 88 ราย และกลุ่ม Quarantine 683 ราย
รวมทุกสนามบินนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปไทย จำนวน 13,397 ราย ในจำนวนนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10 ราย คือ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ 9,210 ราย พบติดเชื้อ 3 ราย, สนามบินภูเก็ต 4,005 ราย พบติดเชื้อ 7 ราย และสมุย 182 ราย ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ

สำหรับกลุ่มเดินทางเข้ามามากที่สุดอันดับแรกคือจาก สหรัฐฯ เยอรมนี, UK, ญี่ปุ่น, สวิตฯ, สวีเดน, เกาหลีใต้, เนเธอแลนด์, อาหรับเอมิเรตส์ และจีน

พญ.สุมนี กล่าวว่า จากการประชุมช่วงเช้าที่ผ่านมา มีการขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่สายการบินต่างๆ ให้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยให้ครบถ้วน พร้อมกับย้ำขั้นตอนสำคัญคือการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย RT-PCR ของโรงแรมที่รับนักท่องเที่ยวไปจะต้องมีระบบจับคู่กับโรงพยาบาล ให้ตรวจนักท่องเที่ยวและให้ได้ผลภายใน 6 ชม.ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางต่อไป หรือเข้าสู่ Sandbox ขอให้ ททท.กำกับติดตาม สถานประกอบการ โรงแรม ให้ปฏิบัตตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ ที่ประชุมศปก.ศบค.มีความเป็นห่วงเรื่องการดำเนินงานในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในช่วงที่มีการผ่อนคลาย 2 เรื่อง คือ ขอเร่งรัดให้ร้านค้าสถานประกอบการร้านอาหารทำความเข้าใจและสร้างความร่วมมือให้ดำเนินการภายใต้มาตรการสาธารณสุข และฉีดวัคซีนให้กับพนักงาน เพื่อยกระดับสถานประกอบการโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อให้มีความพร้อมในการรองรับมาตรการผ่อนคลายอื่นๆที่จะตามมา

และการอนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้านอาหาร ขอให้เจ้าของกิจการและสถานประกอบการทั้งหมดช่วยดำเนินการภายใต้มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดตามเวลาที่กำหนดไว้ โดยที่ประชุมศปก.ศบค.จะมีการประเมินสถานการณ์ทุก 2 สัปดาห์

เมื่อถามว่าในการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามา ศบค.มีแผนรองรับอย่างไรบ้าง หากมีการระบาดเกิดขึ้น

พญ.สุมณี ชี้แจงว่า มีการเตรียมพื้นที่สำหรับแผนเผชิญเหตุเมื่อมีสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ ซึ่งในการทำแผนเผชิญเหตุดังกล่าวมีการจัดทำภายใต้หลักการตามคำสั่งศบค.ฉบับที่ 11 ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ข้อ คือ

  1. ความพร้อมในการรองรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่เป็นนักท่องเที่ยว
  2. ความพร้อมในการรองรับผู้ติดเชื้อที่เป็นประชาชนในพื้นที่
  3. ลักษณะการระบาดวิทยาของ โควิด-19 ในพื้นที่และการจัดระดับพื้นที่สถานการณ์ และทรัพยากรในการสอบสวนควบคุมโรค เมื่อมีการพิจารณาแล้วจะต้องมีการปรับว่าจะต้องมีการทำมาตรการอย่างไรเริ่มตั้งแต่ลดกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว จนถึงยุติการรับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องเป็นมติจากที่ประชุมคณะกรรมการจังหวัดนั้นๆในการดำเนินการซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์

สำหรับรายงานสถานการณ์โควิด-19 วันนี้มีติดเชื้อเพิ่ม 8,148 รายราย แบ่งเป็น โดยเป็นในประเทศ 7,528 ราย รายใหม่ตรวจพบระบบเฝ้าระวังและบริการ 7,415 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 113 ราย จากเรือนจำ 605 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 15 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,951,572 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 8,238 ราย รวมรักษาหายป่วยสะสม 1,834,730 ราย ผู้ป่วยรักษาอยู่ 97,300 ราย พบผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก 2,118 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 461 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 80 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 19,542 ราย โดยผู้เสียชีวิตเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง 51 ราย เพศชาย 29 ราย และภาคใต้มากที่สุดคือ 23 ราย

พญ.สุมณี กล่าวว่า ที่ประชุมศปก.ศบค. ได้วิเคราะห์ผู้เสียชีวิต ตั้งแต่การระบาดละลอกเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 4 พ.ย.2564 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 19,413 ราย โดยหักแบ่งในรายละเอียดจะเห็นว่าส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และอายุอยู่ในช่วงมากกว่า 70 ปีขึ้นไป รองลงมาอยู่ใน ช่วงอายุ 60 ปี ถึง 69 ปี และอยู่ในช่วงอายุ 50 ปี ถึง 59 ปี ซึ่งผู้เสียชีวิตกว่า 86.5% เป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว 3 อันดับแรก คือ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูงและโรคอ้วน และหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิตอีก 68 ราย และมากกว่า 80% ของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประมาณ 18% ได้รับวัคซีน 1 เข็มและเกือบ 2% ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

อย่างไรก็ตามแนวโน้มผู้ติดเชื้อทั่วประเทศยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นสัดส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด 63% กทม.-ปริมณฑล 17% และชายแดนใต้ 20% แต่ จ.นครศรีธรรมราช อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม จึงได้มีการจัดการด้วยมาตรการป้องกันแบบบูรณาการ โดย ศบค.ห้ามออกนอกเคหสถาน 23.00 – 03.00 น. จนถึงวันที่ 15 พ.ย.2564 แต่ จ.นครศรีธรรมราช ได้เพิ่มเวลาในการห้ามออกนอกเคหสถานเป็น 22.00 – 03.00 น. และมีการปิดชุมชนที่มีการระบาดเพิ่มขึ้น เพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาด

จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10 จังหวัดอันดับแรก ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ย.ประกอบด้วย กรุงเทพฯ 721 ราย สงขลา 493 ราย ปัตตานี 427 ราย เชียงใหม่ 403 ราย ยะลา 375 ชลบุรี 348 ราย นครศรีธรรมราช 294 ราย สมุทรปราการ 244 ราย นราธิวาส 213 และตรัง 205 ราย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า