Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายคนเมื่อเริ่มรู้สึกป่วยไม่สบายต่างวิตกกังวลกันว่าจะติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่จึงพากันไปตรวจ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดกระแสสังคมตั้งคำถามว่าทำไมไม่ได้รับการบริการฟรี โดยกรมควบคุมโรคได้ออกหลักเกณฑ์ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการตรวจรักษาโควิด-19 แบบไหนตรวจรักษาฟรี แบบไหนต้องเสียค่าใช้จ่าย

ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท หากมีอาการเข้าข่ายสงสัยเป็นโควิด-19 ให้โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 หรือรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล โดยต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ แจ้งประวัติ ไม่ปกปิดข้อมูลใด ๆ เพื่อตรวจเชื้อ หากพบว่าป่วยเป็นโรคโควิด-19 จะได้รับการรักษาตามขั้นตอนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเร่งด่วน โดยทางโรงพยาบาลตามสิทธิของท่านจะประสานส่งตัวเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สรุปการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท คือ

1. หากมีอาการเข้าข่ายสงสัยป่วยโรคโควิด-19 โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 หรือรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิของท่าน กรณีไปต่างจังหวัดให้ไปที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยต้องสวมหน้ากากอนามัย แจ้งประวัติ ไม่ปกปิดข้อมูลใด ๆ เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 จะถูกส่งตัวรักษาตามกระบวนการของกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2. หากอาการไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ แต่สงสัยเองว่าจะป่วยเป็นโรคโควิด-19 แล้วต้องการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เอง โดยที่แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยให้ ต้องจ่ายเงินเอง ทั้งนี้ขอย้ำว่า ในกรณีนี้ไม่แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อขอตรวจเอง แม้จะจ่ายเงินเอง แต่การไปโรงพยาบาลโดยไม่มีความจำเป็น จะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้อจากโรงพยาบาล และเพิ่มภาระให้บุคลากรสาธารณสุขโดยไม่จำเป็น

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ขณะที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกหลักเกณฑ์ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สามารถตรวจหาโควิด-19 ฟรี ต้องเข้า 4 หลักเกณฑ์ ดังนี้

1.ผู้ป่วยที่มีประวัติไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก) และมีประวัติในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มมีอาการ

  • มีการเดินทางไปหรือมาจากประเทศ หรือ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดต่อเนื่องของเชื้อโควิด-19
  • เป็นผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดต่อเนื่องของเชื้อโควิด-19
  • มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19

2.ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

3.ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และเป็นบุคลากรทางการแพทย์

4.ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้ และมีประวัติใกล้ชิดผู้ป่วยต้องสงสัยโควิด-19, เป็นบุคลากรทางการแพทย์, เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น, และเป็นผู้ป่วยปอดอักเสพที่หาสาเหตุไม่ได้

 

สำหรับรายชื่อห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) ในประเทศไทย ที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ปัจจุบันมีทั้งหมด 35 แห่ง ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยห้องปฏิบัติการเหล่านี้ จะสามารถตรวจหาเชื้อผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การสอบสวน (PUI หรือPatient Under Investigation) ที่ประเมินโดยแพทย์

1.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (ส่วนกลาง) 1 แห่ง

2.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ดังนี้
2.1 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
2.2 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย
2.3 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก
2.4 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
2.5 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม
2.6 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี
2.7 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น
2.8 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี
2.9 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา
2.10 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
2.11 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี
2.12 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต
2.13 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา
2.14 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง

ห้องปฏิบัติการเครือข่าย 20 แห่ง
1.คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
2.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
3.คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.โรงพยาบาลราชวิถี
5.สถาบันบำราศนราดูร
6.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
7.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
8. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
10.คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
11.โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12.ศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโกล ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
13.โรงพยาบาลลำปาง
14.โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
15.บริษัทไบโอ โมเลกุลาร์ แลบบอราทอรีส์ (ประเทศไทย)
16.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย)
17.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
18.สำนักป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง
19.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี
20.โรงพยาบาลนครปฐม

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า ถ้าอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังของ กรมควบคุมโรค หรือ PUI ตรวจฟรี 35 แห่งนี้ แต่ถ้าไม่เข้าข่าย ต้องการตรวจเอง จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองโดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน

แบบประเมินความเสี่ยงก่อนมาโรงพยาบาลต่อการติดเชื้อ COVID-19

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า