Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯ กทม. เปิดตัวเลขติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.เข้ารับบริการ เจอ-แจก-จบ ในช่วง 7 วัน รวมกว่า 3,297 ราย ย้ำตรวจ ATK ผลเป็นบวกสามารถติดต่อศูฯย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง รพ.สังกัด กทม. 11 แห่ง

วันที่ 10 มี.ค. 2565 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ กล่าวถึงแนวโน้มของโรคโควิด-19 กำลังจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) โดยปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบการรักษาโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” คือ เจอการติดเชื้อโควิด 19 แจกยาตามอาการ และผู้ป่วยเข้าระบบการรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ กับแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการแยกกักตัวที่บ้าน (Outpatient with Self Isolation) ซึ่งเป็นการดูแลรักษาทางเลือกที่ผู้ติดเชื้อสมัครใจประเมินอาการแล้วรับยาที่คลินิกคัดกรองโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (ARI) โดยจะพิจารณาให้ยาตามอาการ เนื่องจากแต่ละคนมีอาการไม่เท่ากัน บางคนไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย

จากการรายงานจำนวนผู้ป่วยคลินิก Covid Self Isolation ตั้งแต่วันที่ 1-7 มี.ค. 65 พบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับบริการแล้วทั้งสิ้น 3,297 ราย ทั้งนี้ให้ผู้ที่ตรวจพบว่าตนติดเชื้อโควิด-19 นำหลักฐานยืนยันผลตรวจ ATK พร้อมวันที่ตรวจ และนำบัตรประชาชนมามาติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง หรือโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 11 แห่ง เพื่อลงทะเบียนเข้ารับบริการ โดยผู้ป่วยจะต้องทำการสังเกตอาการตัวเอง หากมีอาการมากขึ้น เช่น เด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง ผู้ใหญ่มีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียสมากกว่า 24 ชั่วโมง หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% หรือโรคประจำตัวมีอาการรุนแรงขึ้น หรือแพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยง ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ก็จะส่งต่อผู้ป่วยไปยัง Hospitel โรงพยาบาลสนาม หรือโรงพยาบาลหลักต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาโดยติดต่อ สายด่วน สปสช. โทร. 1330 กด 14 สายด่วนศูนย์เอราวัณ โทร. 1669 กด 2 หรือสายด่วน EOC 50 เขต ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับการคัดกรองเข้ารับบริการโควิค-19 แบบผู้ป่วยนอก ได้แก่ 1. หากมีอาการของระบบทางเดินหายใจ มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อ ให้ประเมินอาการด้วยตนเอง 2. ถ้าเข้าข่ายสงสัย ตรวจ ATK ด้วยตนเอง 3. ผลเป็นบวกติดต่อสายด่วน โทร. 1330 หรือ ARI/PUI Clinic ประเมินภาวะเสี่ยงและความพร้อม กรณีไม่มีภาวะเสี่ยง และมีความพร้อม สามารถรับบริการแบบผู้ป่วยนอก และแยกกักตัวที่บ้านได้ 5. กรณีมีภาวะเสี่ยง และอาการไม่มาก สามารถเข้าระบบดูแลแบบ Home Isolation(HI), Community Isolation(Cl), Hotel Isolation หรือ Hospitel ตามความสมัครใจของผู้ติดเชื้อ 6. กรณีมีภาวะเสี่ยง อาการมากและอาการรุนแรง จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ส่วนความแตกต่างของรูปแบบการรักษา แบบ Home Isolation และ Outpatient with Self Isolation คือ Home Isolation (HI) เป็นประเภทการรักษาแบบผู้ป่วยใน (In patient department : IPD) มีการแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการทุกวัน มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน และมีบริการอาหาร ในขณะที่ Outpatient with Self Isolation ประเภทการรักษา OPD จะเหมือนระบบ HI เกือบทั้งหมด ยกเว้นจะไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน และไม่มีบริการอาหาร และจะมีการโทรศัพท์ติดตามอาการเพียง 1 ครั้งคือหลัง 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดต่อได้ตลอดเวลาหากมีอาการ หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม

  • กทม. เร่งแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโควิดตกค้างเข้าสู่ระบบการรักษา

ด้าน พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานการประชุมซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของ EOC เขต ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยมี นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกทม. พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ผ่านระบบประชุมทางไกล ในที่ประชุม ได้มีการหารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโควิด-19 ตกค้าง โดยมอบหมายทุกหน่วยงานเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ อาการไม่รุนแรง หรือที่เรียกว่ากลุ่มสีเขียว สามารถเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ ดังนี้

1. สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิกปฐมภูมิหรือโรงพยาบาลในระบบ โดยไม่จำกัดพื้นที่

2. สิทธิประกันสังคม สามารถรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลที่ตนมีสิทธิอยู่

3. สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ สามารถรับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่งที่อยู่ในระบบของกรมบัญชีกลาง

ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องทางการรักษาในรูปแบบการรักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) และแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” (Outpatient with Self Isolation : OPSI) ด้วยวิธีการ Walk in ไปยังสถานพยาบาล รวมทั้งบริการออนไลน์ผ่านช่องทางของ สปสช.1330 และศูนย์ EOC 50 สำนักงานเขต

กรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 โทรเข้าระบบดูแลรักษาผ่านสายด่วน สปสช. 1330 ไม่ติด หรือเข้าระบบการรักษาแบบ HI แล้ว แต่รอหน่วยบริการติดต่อกลับนาน ในส่วนของศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง จะได้เร่งดำเนินการโทรสอบถามประเมินอาการผู้ป่วยที่รอการตอบรับอยู่ในระบบ HI Portal และรับผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาพยาบาล (OPSI/HI) ตามความเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยข้ามเขตพื้นที่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับบางเขตที่มีจำนวนผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้จัดบุคลากร จำนวน 200 คน เพื่อโทรสอบถามประเมินอาการผู้ป่วยที่ตกค้างในระบบ จำนวนกว่า 7 พันราย และจัดส่งยาให้เบื้องต้น กรณี OPSI รายที่เหลือจะประสานแจ้งหน่วยบริการให้เร่งรับผู้ป่วยเข้ารับการดูแลต่อไป ในส่วนของศูนย์ EOC 50 สำนักงานเขต จะให้การสนับสนุนการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงเครื่องผลิตออกซิเจน จากหน่วยบริการไปยังที่พักอาศัยของผู้ป่วย การรับ-ส่ง เครื่องผลิตออกซิเจน จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขไปยังที่พักอาศัยของผู้ป่วยในกรณีเร่งด่วน รวมทั้งบูรณาการทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมดำเนินการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยตกค้างและเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็วที่สุด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า