Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์แนะรู้สึกป่วยกักตัวทันที หากรอ ATK ขึ้น 2 ขีด เชื้อแพร่อาจกระจายให้คนใกล้ตัวไปแล้ว ขณะที่ สธ.เพิ่มช่องทางเข้าถึงการรักษา สแกน/โทร-แจก-จบ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงประสบการณ์โอไมครอน BA.4 และ BA.5 พร้อมให้คำแนะนำคือ หากไม่สบาย แยกตัวทันที อย่ารอสองขีด เพราะเมื่อสองขีดมา หมายความว่า แพร่ให้คนใกล้ตัวเรียบร้อยหมดแล้ว ราคา ATK 40 บาท PCR 2,000 บาท ต้องเข้าใจข้อจำกัด

  • ฟ้าทะลายโจร เริ่มทานทันทีเมื่อติด แต่ละยี่ห้อมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่เท่ากัน กินเมื่อติด 5 วัน ใช้ถูก ใช้เป็น ตามขนาดกระทรวงสาธารณสุข ไม่เกิดตับอักเสบ
    ผู้ใหญ่ 60 มก. เช้า กลางวัน เย็น หนึ่งวันได้ 180 มก.
    เด็ก 10 มก. เช้า กลางวัน เย็น หนึ่งวันได้ 30 มก.

หากฟ้าทะลายโจรเอาไม่อยู่ เข้าวันที่สอง ติดต่อการรักษาตามสิทธิ ปัญหาคือ เตียงเต็ม และกลุ่มอาการมาก แม้จะไม่ใช่ 608 เช่น อายุ 30-40 ปี อาการหนักก็มี และก็ต้องการการรักษาเช่นกัน แต่ติดขัดเข้าไม่ถึงการประเมินและยา

สำหรับยาโมลนูพิราเวียร์ 1 กระปุก มี 40 เม็ด ราคา 10,000 กว่าบาท ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ ก็มีราคาเช่นกันและมีแนวโน้มดื้อได้ แต่ยังใช้ได้ทั้งสองตัว ต้องให้แต่เริ่มมีอาการถ้าอาการยกระดับแล้ว ช้าไปประสิทธิภาพจะจำกัด

  • สธ.เพิ่มช่องทาง ‘สแกน/โทร-แจก-จบ’ รักษาโควิดกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว

ก่อนหน้านี้นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กรมการแพทย์ได้ประสานงานการบริหารจัดการการรักษาร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย UHosNeT กรุงเทพมหานคร กลาโหม โรงพยาบาลเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อยอดระบบการดูแลจากเดิมเจอ-แจก-จบ สู่ สแกน (หรือโทร) -แจก-จบ ซึ่งเป็นการจัดทำ QR code หรือโทรศัพท์ติดต่อสถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่มีโทรศัพท์ เพื่อเพิ่มช่องทางให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้โดยไม่ต้องมาสถานพยาบาลในกลุ่มที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 24 วันที่ 11 ก.ค. 65 แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ

1.กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation)

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน

4. กลุ่มที่มีอาการปอดอักเสบต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน

การระบาดของโควิด-19 ขณะนี้มีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ส่วนมากเป็นกลุ่มอาการสีเขียว การรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเป็นรูปแบบแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation : OPSI) โดยในกลุ่มที่ 1 ตามแนวทางแล้วไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า