Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. เร่งแก้ปมเตียงไม่พอ ประสานเอกชนและทหาร เพิ่มเตียงได้กว่า 400 เตียง พร้อมดึงแพทย์จบใหม่กว่า 2,000 คน ช่วยดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมากขึ้น คาดเริ่ม ก.ค.นี้

วันที่ 25 มิ.ย. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิด-19 รายวันว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ 3,644 ราย ติดเชื้อในประเทศ 3,451 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 11 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 162 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 207,428 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 236,291 ราย หายป่วยแล้ว 1,751 ราย หายป่วยสะสม 165,680 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 44 ราย เสียชีวิตสะสม 1,725 ราย ผู้ป่วยรักษาอยู่ 41,366 ราย ในโรงพยาบาล 14,702 ราย โรงพยาบาลสนาม 26,644 ราย อาการหนัก 1,603 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 460 ราย สำหรับผู้ได้รับวัคซีนรวม 8,657,423 โดส สะสมเข็มที่หนึ่ง 6,206,353 ราย สะสม เข็มที่สอง 2,451,070 ราย

พญ.อภิสมัย เปิดเผยว่า ที่ประชุมศปก.ศบค. มีความกังวลเรื่องและพยายามขยายศักยภาพโรงพยาบาล โดยเฉพาะการรองรับเตียงในระดับความรุนแรงสีแดง โดยวันนี้มีรายงานแผนขยายศักยภาพโรงพยาบาลและเตียง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับ มณฑลทหารบกที่ 11 เชิญภาคเอกชนดูสถานที่เพื่อที่จะปรับเป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยระดับสีเหลืองและระดับสีแดง โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ปรับระดับสีเหลือง 70 เตียงระดับสีแดงเพิ่ม 16 เตียง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เพิ่มสีเหลือง 100 เตียง สีแดง 40 เตียง โรงพยาบาลธนบุรี เพิ่มเตียงสีเหลือง 200 เตียง สีแดง 55 เตียง คาดว่าในระยะเวลา 1 สัปดาห์จะสามารถปรับพื้นที่ และระดมบุคลากรเข้าประจำการและสามารถให้การบริการได้ นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือเอกชน ให้พยายามแบ่งเตียง เพิ่มจำนวนเตียงตามศักยภาพ และขอสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ทั้งบุคลากรด้านอื่นๆ เพื่อเข้าช่วยเหลือในส่วนของเตียงที่จะเปิดใหม่ในส่วน กทม.และ ปริมณฑล รวมไปถึงโรงเรียนแพทย์ โดยในที่ประชุมจะมีการเสนอแพทย์ประจำบ้าน หรือ แพทย์ที่จบใหม่กว่า 2,000 คน ที่จะสามารถช่วยระดมความช่วยเหลือในช่วงเดือน ก.ค.นี้ ด้วยความพยายามที่จะเพิ่มศักยภาพการขยายเตียงรับผู้ป่วยในระดับรุนแรงของพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่า ที่ประชุม ศปก.ศบค.มีการหารือในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลพบคลัสเตอร์ใหม่ ซึ่งคัดแยกตามลักษณะของการติดเชื้อจะเห็นได้ว่า แคมป์คนงาน โรงงาน ตลาด ชุมชนที่มีการเฝ้าระวังและมีการรายงานมาอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้ว่ามีกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์ ที่มีการแพร่ระบาดมากกว่า 28 วัน ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการจัดการ Bubble and Seal หรือการปิดพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดและมีการเฝ้าระวังจัดการให้เบ็ดเสร็จอยู่ในพื้นที่นั้นๆ มีความแตกต่างจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครที่เคยศึกษามาในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยปกติ มีการปิดโรงงานให้คนงานอยู่ในนั้น 16 – 28 วัน การแพร่ระบาดก็จะยุติ และจะสามารถทำให้คนกลุ่มนี้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

แต่มีการหารือกันว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ บริบทของแคมป์คนงาน ตลาด และโรงงาน มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิง จากการบับเบิ้ลแอนด์ซีน 28 วันในพื้นที่กรุงเทพฯไม่สามารถจบคลัสเตอร์หรือกลุ่มก้อนการติดเชื้อเหล่านี้ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของความร่วมมือ เนื่องจากแคมป์คนงานโรงงาน เมื่อสั่งปิดก็จะมีการเล็ดรอดออกไปยังพื้นที่ตลาด ชุมชน ทำให้ไม่สามารถปิดการแพร่กระจายเชื้อ ทำให้เห็นว่าในพื้นที่กรุงเทพฯยอดผู้ติดเชื้อสูงถึง 13 คลัสเตอร์ สะท้อนให้เห็นภาพของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่สามารถใช้การล็อกดาวน์ได้

หากแยกตามกลุ่มย่อยของการติดเชื้อ ถ้ามีลักษณะการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน โรงงานสถานประกอบการ ตลาด และชุมชน โดยข้อเสนอในสัปดาห์นี้ที่มีการถกเถียงกันคือ การปิดล็อคดาวน์กรุงเทพฯ ที่กระทรวงสาธารณสุขเองมีความเป็นห่วงการแพร่ระบาด ขยายวงกว้าง และทำให้เตียงหรือระบบสาธารณสุขที่ทำงานกันอย่างหนัก รองรับไม่ไหว โดยที่ประชุมมีการหารือกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเน้นย้ำว่า จะต้องรับฟังทุกฝ่ายเกี่ยวกับเรื่องเตียง ซึ่งมีความเป็นห่วง และพยายามที่จะขยายศักยภาพ โดยนายกรัฐมนตรีและย้ำมาตลอดและพยายามที่จะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาให้เร็วที่สุด โดยในช่วงสัปดาห์นี้ก็จะเห็นผู้ประกอบการสถานประกอบการต่างๆ มีการยื่นเรื่องข้อเสนอให้ทบทวนมาตรการการปิด หรือล็อกดาวน์

พร้อมยืนยัน ศบค.รับฟังทุกฝ่าย และเห็นใจลูกจ้างที่ทำงานประจำ โดยกรมควบคุมโรคมีการเสนอในลักษณะการล็อคเป็นจุด มีองค์ประกอบ 3 จุดคือ ปิดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง บุคคลกลุ่มเสี่ยง ช่วยในเฉพาะพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าว ความผิดเฉพาะคนกลุ่มเสี่ยง หรือปิดในกิจกรรมเสี่ยง มากกว่าการปิดทั้งหมดกรุงเทพฯ ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดจะเห็นภาพชัดเจนแทนที่จะปิดล็อกทั้งจังหวัดอาจจะมีการหารือว่า ตำบลไหน ตลาดใด หรือแคมป์คนงานก่อสร้างใดเสี่ยง ให้ล็อคเฉพาะพื้นที่ โดยสิ่งสำคัญมีความเป็นห่วงว่านอกจากการล็อกจะไม่ได้แก้ปัญหา แต่จะทำให้เป็นการจุดชนวนของปัญหามากขึ้น เช่นตัวอย่างแนวโรงเรียนมัรกัส ซึ่งมีการแพร่กระจายไปยังจังหวัดอื่นๆใน 11 จังหวัด ยืนยันว่ามีการหารือกันอย่างทุกแง่มุม

วันนี้เวลา 14.00 น จะมีการหารือเรื่องการล็อกดาวน์โดยมีนายกรัฐมนตรีร่วมกับคณะที่ปรึกษาทั้งตัวแทนด้านสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและมหาดไทย โดยขอให้ประชุมชนติดตามผลการประชุมในช่วงบ่ายวันนี้

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า