Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หน.ศูนย์จีโนม เผยฮูยังไม่จัดอันดับโควิดสายพันธุ์ C.1.2 ด้านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ ยันยังไม่พบในไทย

 วันที่ 31 ส.ค. 2564 กรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลถึงการค้นพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ C.1.2 ซึ่งกลายพันธุ์มากกว่าทุกสายพันธุ์เกือบ 2 เท่า โดยพบในประเทศแอฟริกาใต้กว่าครึ่งประเทศ และแพร่ไปอีก 7 ประเทศ ทั้ง อังกฤษ จีน นิวซีแลนด์ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ คองโก และมอริเชียส นั้น

ล่าสุด ศ.เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เป็นข้อมูลที่มีนักวิจัยศึกษาและเผยแพร่ต่อสาธารณะได้ดู ซึ่งถูกแขวนอยู่ในฐานข้อมูลกลางโควิด-19 โลก หรือ GISAID ซึ่งการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการจะต้องผ่านคณะกรรมการพิจารณายืนยันก่อนจะถูกบันทึกใน GISAID อย่างเป็นทางการ

เท่าที่ดูตำแหน่งการกลายพันธุ์ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะส่งผลต่ออาการรุนแรงหลังรับเชื้อมากน้อยแค่ไหน มีบ้างที่อาจจะด้อยค่าแอนติบอดีสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกมากนัก เพียงแต่ดูจากรหัสพันธุกรรมที่เป็นคาดเดาได้บ้าง จึงมีความวิตกว่าจะส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นหรือไม่คงต้องพิจารณาองค์ประกอบปัจจัยต่างๆ รวมถึงการระบาดเป็นอย่างไร 

และขณะนี้ ทั้งองค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี (CDC) ยังไม่ได้ยืนยันความรุนแรงจนจัดลำดับความสำคัญกับสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์แอฟริกาใต้ไม่ค่อยระบาดมาถึงไทยจึงยังไม่มีอะไรบ่งชี้น่ากังวลใจ เพียงแต่เฝ้าจับตา

ศ.เกียรติคุณ วสันต์ กล่าวว่า โดยปกติไวรัสมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา เหมือนสายพันธุ์เดลตาพลัส ซึ่งก่อนหน้ามีข่าวออกมาว่าจะรุนแรงกว่าเดลตา แต่เวลาผ่านไปก็พบว่าเชื้อฝ่อลงและถูกจัดเป็นกลุ่ม AY.1 AY.2 จากนั้นก็ลดลงในที่สุด ก็ถูกถอดออกจากการจัดให้เป็นไวรัสที่ต้องเฝ้าระวัง

ส่วนที่ระบุ C.1.2 มีการระบาดไปถึง 7 ประเทศ โดยเฉพาะแอฟริกาใต้ระบาดครึ่งประเทศ ก็ต้องดูว่าสัดส่วนเท่าไรเมื่อเทียบกับสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ขณะนี้ อย่าง แอลฟา 6 เดือนที่แล้ว ระบาดเกือบ 100% แต่ตอนนี้เหลือน้อยกว่า 1% สำหรับประเทศไทย ขณะนี้สายพันธุ์แอลฟาเหลือเพียงประปรายถือว่าน้อยมาก เนื่องจากเดลต้าครองพื้นที่เกือบทั้งหมดแล้ว ส่วนเดลตากลายพันธุ์ หรือ AY.4 ขณะนี้ยังทรงตัวอยู่ต้องดูอีกสักเดือน 

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มชะลอตัวลดลง ก็ส่งผลดีถึงการกลายพันธุ์ก็อาจจะน้อยลงด้วย และหากสามารถกันคนจากข้างนอกเข้ามาก็จะยิ่งดี เพราะการกลายพันธุ์เกิดจากการติดเชื้อระหว่างคนสู่คนจำนวนมาก

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้สายพันธุ์ C.1.2 ยังไม่พบในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีการเฝ้าระวังเรื่องสายพันธุ์อยู่ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 3 หมื่นตำแหน่ง เฉพาะกรมวิทยาศาสตร์ฯ ตรวจได้สัปดาห์ละ 400 – 500 ตัวอย่าง ซึ่งยังไม่พบสายพันธุ์นี้ ส่วนสายพันธุ์เดลตา AY ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มในประเทศไทย และยังไม่พบข้อมูลว่ามีความรุนแรงมากขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า