Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.เผยแผนจัดหาวัคซีนอีก 37 ล้านโดส รัฐบาลซื้อ 30 ล้านโดส เอกชนร่วมด้วยอีก 7 ล้านโดส เพื่อกระจายฉีดให้ครอบคลุมประชากร 70% หากทำได้ตามแผนภายในเดือน ก.ย. – ต.ค. 2564 จะได้ฉีดแล้ว พร้อมเตือนคิดรอบคอบหลังมีกระแสข่าวจัดทัวร์ฉีดวัคซีนต่างประเทศ

วันที่ 28 เม.ย. 2564 นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค แถลงความคืบหน้าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมแผนในการจัดหาวัคซีนของประเทศไทย ว่า แผนเดิมที่ได้จัดหาวัคซีน ไว้แล้วรวม 63 ล้านโดส แต่หากจะให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จึงจำเป็นต้องฉีดให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากร ซึ่งคนไทยมี 70 ล้านคน จึงต้องฉีดในจำนวน 50 ล้านคน โดยต้องใช้วัคซีนจำนวน 100 ล้านโดส

ทั้งนี้ รัฐบาลให้การสนับสนุนดำเนินการร่วมกันกับภาคเอกชน เพื่อช่วยกันหาวัคซีนเพิ่มอีก 37 ล้านโดส แบ่งเป็น การจัดหาของภาครัฐ 30 ล้านโดส โดยดูเทคโนโลยีวัคซีนอื่น ทั้งจากบริษัท ไฟเซอร์ ชนิด mRNA วัคซีนสปุตนิก และวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จะเป็นแพลตฟอร์มเดียวกันกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า อย่างไรก็ตาม จะต้องหาเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อให้เรามีทางเลือกมากขึ้น ส่วนวัคซีนซิโนแวค ก็จะมีการจัดหาเพิ่มเติมด้วย ส่วนของภาคเอกชนอีก 7 ล้านโดส ซึ่งทางเอกชนยินดีสนับสนุนทั้งงบประมาณและการจัดหาเข้ามาเอง เพื่อฉีดให้กับบุคลากรของตัวเอง ว่า ได้แก่ วัคซีนโมเดอร์นา ชนิด mRNA วัคซีนซิโนฟาร์ม และอื่นๆ จะมีการนำมาขึ้นทะเบียนประเทศไทยในอนาคต

“ตามแผน เราจัดหาเพิ่มได้ 37 ล้านโดส หากได้ตามที่กำหนดประมาณเดือนตุลาคม และขณะเดียวกัน ที่มีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในเดือนมิถุนายน เราก็จะสามารถฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากรได้เลย”

ส่วนสถานการณ์ระบาดโควิด-19 มาตรการป้องกันกำลังดีขึ้น ผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มชะลอตัว แต่กำลังพบปัญหาผู้ที่ติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงในช่วงนี้ บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่ตามโรงพยาบาลจึงต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อระดมการทำงานในพื้นที่ ซึ่งเราจะต้องช่วยกัน เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น

นพ.ทวีทรัพย์ ยังกล่าวถึง บุคลากรสาธารณสุขภาคเอกชน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนว่า ช่วงนี้ เป็นช่วงที่วัคซีนมีจำกัด กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายให้บุคลากรการแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้าทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน หากยังมีตกค้างอยู่ หากเป็นโรงพยาบาล หรือคลินิกในพื้นที่ใน กทม. สามารถประสานไปทางสำนักอนามัย กทม. ได้ ส่วนภูมิภาค ให้ประสานไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ

ทั้งนี้ ทาง กทม. จะมีการประสานงานโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้มีพื้นที่ให้บุคลากรสาธารณสุขภาคเอกชน สามารถไปรับวัคซีนได้ เบื้องต้น มีการประสานไปยังโรงพยาบาลวิมุตติแล้ว

ส่วนกระแสข่าวว่ามี บริษัททัวร์เอกชนของไทย สามารถจัดทัวร์เดินทางไปฉีดวัคซีนที่ต่างประเทศได้นั้น นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวว่า มีอยู่ 2 เรื่อง คือ เราสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่ ช่วงนี้เราปิดประเทศ และการเดินทางต่างประเทศเวลานี้ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ดังนั้นข่าวที่ออกมาเกรงว่า อาจจะเป็นการหาประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในรอบคอบ

ซึ่งในเดือน มิ.ย. ทุกคนจะได้รับวัคซีนแล้ว ไม่ช้าแน่นอน และอาจจะได้เร็วกว่านั้น เพียงแต่ช่วงแรกอาจจะเป็นผู้สูงอายุ และหากทำได้ตามแผนเชื่อว่า ภายในเดือน ก.ย. – ต.ค. 2564 ผู้ที่สมัครใจฉีด ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน และมีหลายยี่ห้อด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า