Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิด 5 ผลงานล้ำค่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ภายใต้ ‘ชาย นครชัย’ รักษา สืบสาน มุ่งสร้างเอกลักษณ์ไทยสู่สายตาชาวโลก

 

‘ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีความรักในวัฒนธรรมไทย’ ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวเมื่อเข้ารับตำแหน่งช่วง 3 ปีก่อน เพื่อต้องการปลุกคนรุ่นใหม่สืบสานมนต์เสน่ห์ความเป็นไทยทุกรูปแบบเอาไว้ตลอดไป พร้อมนำเทคโนโลยีต่างๆ สอดรับกระแสนิยมไทยจากทั่วโลกให้ได้รับรู้ว่าเมืองไทยมีดี เป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากของไทยให้มั่นคงกระจายรายได้สู่ชุมชน

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2561 ได้กำหนดนโยบายชัดเจนมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 13 ปีที่คลุกคลีและปฏิบัติหน้าราชการ ด้านการส่งเสริม รักษา สานต่อวัฒนธรรมของชาติไทยได้เล็งเห็นคุณค่าของความเป็นไทยในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งอยากปลูกฝังและสนับสนุนเปิดช่องทางให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และมีความรักวัฒนธรรมไทยด้วย

สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นจนทำให้ทั่วโลกรู้จักประเทศไทยอย่าง การรำไทย ดนตรีไทย การละเล่นการแสดง โขน อาหารไทย รวมถึงชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาสัมผัสวัฒนธรรมบ้านเรากันอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับรายได้หลักของประเทศที่มาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่จนสามารถกระจายรายได้สู่คนไทย

ที่ผ่านมาอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ผุดไอเดีย นำเอกลักษณ์ของดีตามชุมชนพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค ยกระดับสู่การสร้างรายได้ทุกรูปแบบผ่านโครงการต่างๆ มากมาย

⚫️ โครงการ Thai Taste Therapy อาหารไทยเป็นยาที่อร่อยที่สุดในโลก

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชน ส่งออกวัฒนธรรมอาหารไทยมิติใหม่ ‘Thai Taste Therapy’ อาหารไทยเป็นยาที่อร่อยที่สุดในโลก เพื่อตอบโจทย์เทรนด์คนรักสุขภาพทั่วโลก นับว่าเป็นตัวแทนของความเป็นไทยที่สะท้อนถึงความประณีตของศาสตร์และศิลป์แห่งอาหารที่สั่งสมสืบทอดภูมิปัญญามาอย่างยาวนาน

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า การสืบสานรักษาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมให้ยั่งยืน ที่ผ่านมาได้ขึ้นทะเบียนอาหารไทย 20 รายการ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เช่น ต้มยำกุ้ง แกงเผ็ด แกงพุงปลา แกงเขียวหวาน ส้มตำ เป็นต้น ส่วนอนาคตตั้งใจจะขึ้นทะเบียนอาหารไทยอีกหลายรายการ การจะสืบสานวัฒนธรรมให้ยั่งยืนนั้นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น มรดกภูมิปัญญาก็ต้องมีชุมชนหรือชาวบ้านที่เป็นเจ้าของมรดกมาต่อยอดจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนที่ได้ร่วมกันจัดโครงการ Thai Taste Therapy ขึ้นเพื่อยกระดับวัฒนธรรมอาหารไทยสู่นานาชาติด้วยการนำเสนอคุณประโยชน์ของอาหารไทยในมิติของสรรพคุณทางยา

“อาหารไทยคือ Soft Power ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงนานาประเทศ ผมมั่นใจว่าโครงการ Thai Taste Therapy จะตอกย้ำให้ทั่วโลกเชื่อมั่นเรื่องความอร่อยของอาหารไทยและยังสร้างมุมมองใหม่ที่ว่า อาหารไทยเป็น ‘ยาที่อร่อยที่สุดในโลก’ ได้แน่นอน” นายชาย กล่าว

 

⚫️ แอปพลิเคชัน ‘Treasure Trip’ ในโครงการ”วิถีไทยในยุคดิจิทัล”

รูปแบบวิถีชีวิตมาเป็นแบบ new normal หรือชีวิตวิถีใหม่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป สวธ.จึงร่วมมือกับบริษัท เน็คซ์ทูบี จำกัด ปรับปรุง แอปพลิเคชัน Treasure Trip เวอร์ชั่นใหม่ใน โครงการ ‘วิถีไทยในยุคดิจิทัล’ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมดิจิทัล คือ Treasure Trip Bangkok และ Treasure Trip Pattaya ที่เพิ่มฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ วางแผนเดินทางท่องเที่ยวได้ง่ายๆ และยังห่างไกล โควิด-19

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันที่รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวในวิถีวัฒนธรรมไทยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าใน กทม. และท่องเที่ยวในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ที่ครบถ้วน เช่น แหล่งเที่ยวชุมชน ร้านอาหารยอดนิยม ที่พัก วัด พิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆ ด้วยตนเองได้ เพียงแค่ปลายนิ้วกดเลือกสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการบนแอปพลิเคชันนี้ จะช่วยนำทางพาไปถึงจุดหมายปลายทางตามที่ต้องการทั้งยังแสดงข้อมูลรายละเอียดของสถานที่นั้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนและตัดสินใจก่อนการเดินทาง และยังมีแผนการเดินทางแนะนำให้นักท่องเที่ยวได้เลือกเดินทางได้ง่ายๆ ตามเส้นทางที่ออกแบบไว้เป็นอย่างดี

 

⚫️ โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล

สร้างเครือข่ายทางศิลปวัฒนธรรมผ่าน ผ้าไทยไปสู่ชุมชนต้นแบบ ในปี 2562 จำนวน 7 ชุมชน ใน พ.ศ. 2563 เพิ่มอีก 7 แห่ง รวมเป็น 14 แห่ง จาก 11 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งแต่ละแห่งนั้น มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องการทอผ้า การออกแบบลายผ้า เส้นใยผ้า ตลอดจนวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ทอผ้า จนประสบความสำเร็จด้วยการขยายฐานลูกค้าออกไปสู่ต่างประเทศ มียอดสั่งผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาลวดลายบนผืนผ้าใหม่ๆ การวางลายผ้าให้มีความทันสมัย ไม่ดูเชย มีความโดดเด่นเพิ่ม มูลค่าให้กับผลงาน ได้รับเชิญเข้าร่วมงานแสดงเครื่องแต่งกายในงานแฟชั่นใน ต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสาธารณรัฐออสเตรีย และมีรายได้ทั้งจากงานหัตถกรรมและนำไปสู่การท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมผ่านมิติผ้าไทย จากการดำเนินงานตลอดระยะ 2 ปี สามารถเผยผ้าไทยสู่สายตาชาวโลกได้อย่างภาคภูมิใจ

1.ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยได้รับการเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ ชุมชน/กลุ่มที่ทอผ้า ผู้ประกอบการ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากนักออกแบบไปพัฒนาผ้าไทย ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอน กระบวนการผลิตใดก็ตาม

  1. การนำนวัตกรรมมามีส่วนในการสร้างสรรค์ผ้าไทย ให้มีความแปลกใหม่ ทำให้เครื่องแต่งกายผ้าไทย เป็นที่นิยมใน การสวมใส่เพิ่มมากขึ้น
  2. การเปิดตลาดแฟชั่นเครื่องแต่งกายผ้าไทยต้นแบบ ในต่างประเทศ ชุดผ้าไทยปรากฎสู่สายตาผู้ชมใน รันเวย์ประเทศ ญี่ปุ่น ได้อย่างสมศักดิ์ศรี เช่น Tokyo Fashion Week / Rakuten Tokyo Fashion Week ผ้าไทยจากฝีมือของชุมชน กลุ่มที่ทอผ้า ผู้ประกอบการเหล่านี้ จะก้าวต่อไปในต่างประเทศมากขึ้นในปีถัดไป เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลงานผ้าไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสา

⚫️ โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 – 2564 เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ ทรงเป็นต้นแบบ ของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ในเรื่องของการนำผ้าไทยมาออกแบบและตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกายที่มีความทันสมัย หรูหรางดงาม ซึ่งทรงสวมใส่ตามงานพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เป็นนิจ ด้วยทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการ ออกแบบแฟชั่นตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และในขณะที่ยังทรงศึกษา พระองค์ทรงเคยแสดงแฟชั่นโชว์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล นำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจ บนรากฐานของวัฒนธรรมในชุมชน

 

⚫️ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่มีเครื่อข่ายชุมชน กลุ่มทอผ้า ผู้ประกอบการด้านผ้าไทยมีศักยภาพพร้อมดำเนินงาน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าผืนเป็นเครื่องแต่งกายต้นแบบ จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ชุด/ผลงาน ผนวกกับ ความคิดสร้างสรรค์ สู่การต่อยอดตามแนวคิดทิศทางและแนวโน้มความต้องการของตลาดแฟชั่นทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดภาพลักษณ์ที่มีความทันสมัยให้แก่วงการ ผ้าไทย รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมกับ ชุมชนในท้องถิ่น นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างผลงานที่มีคุณค่าทั้งทางจิตใจและมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันยังได้ให้ความสำคัญชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มุ่งเน้นเข้าช่วยส่งเสริมการเติมความรู้ การจัดถนนสายวัฒนธรรม เพื่อให้ชาวชุมเข้มแข็งอยู่ได้ด้วยตนเอง ช่วยสร้างกิจกรรมเสริมงานประเพณีในแต่ละพื้นที่จังหวัด ช่วยเติมเต็มให้ประเพณีอันดีงามในท้องถิ่นเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลายๆ งานสามารถสร้างให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า