Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมชลฯ เร่งระบายน้ำท่วมขังพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หวังบรรเทาผลกระทบให้ได้มากที่สุด ล่าสุด เขื่อนเจ้าพระยา ปรับการระบายหลังพื้นที่ตอนบนฝนตกหนัก

ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สืบเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักและหนักมากในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือก่อนที่ปริมาณน้ำจะไหลมารวมกับน้ำที่มาจากเเม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขา ลงสู่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ในระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพน้ำฝนและน้ำท่า กรมชลประทาน จะทยอยปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเป็นลำดับ ในอัตรา 2,680 ลบ.ม./วินาที จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำในระยะนี้อย่างใกล้ชิด

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับอิทธิพลของ “พายุโนรู” ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวทั่วประเทศ ส่งผลให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวมทั้งสิ้น 50 จังหวัด เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 20 จังหวัด ยังคงเหลือจังหวัดที่ประสบอุทกภัยอยู่อีก 30 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง พิจิตร สุโขทัย ตาก เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ ชลบุรี ปราจีนบุรี ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี และนครปฐม

กรมชลประทาน ได้เข้าไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เร่งเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อผลักดันน้ำออกจากพื้นที่ อาทิ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระดับแม่น้ำปิงเริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำ รวมถึงบริเวณถนนช้างคลาน ถนนเจริญประเทศ หมู่บ้านป่าพร้าวนอก หมู่บ้านเวียงทอง กรมชลประทาน ได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำป่าแดด ประตูระบายน้ำดอยน้อย ประตูระบายน้ำวังปาน และประตูระบายน้ำแม่สอย พ้นน้ำทุกบาน เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เศรษฐกิจตัวเมืองเชียงใหม่โดยเร็ว

สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา 11 จังหวัด

สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มเจ้าพระยาที่จังหวัดอยุธยา ปัจจุบันมีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำ รวม 10 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.วังน้อย อ.นครหลวง อ.อุทัย อ.ท่าเรือ อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.บางไทร

ล่าสุดกรมชลประทานได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 11 จังหวัด ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมเข้าติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ในเขตพื้นที่โครงการที่รับผิดชอบ อาทิ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 8 เครื่อง เร่งสูบจากคลองระบายใหญ่มหาราช 3 ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ประตูระบายน้ำบางกุ้ง, โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 5 เครื่อง เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 3 เครื่อง และรถสูบน้ำเคลื่อนที่ชนิดไฟฟ้า 5 คัน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 15 เครื่อง บริเวณแม่น้ำน้อย ที่ประตูระบายน้ำกุฎี 3 เครื่อง ประตูระบายน้ำวัดใบบัว 3 เครื่อง ประตูระบายน้ำคลองตานึ่ง 1 เครื่อง ประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด 2 เครื่อง บริเวณคลองตาแย้ม 2 เครื่อง บ้านใหญ่ 1 เครื่อง ประตูระบายน้ำลาดชะโด 1 เครื่อง และ ประตูระบายน้ำบางกุ้ง 1 เครื่อง เร่งระบายน้ำในพื้นที่ลงสู่อ่าวไทยให้เร็วที่สุด

ส่วนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ธัญบุรี และ อ.ลำลูกกา ได้เร่งระบายน้ำลงพื้นที่ตอนล่าง ออกทางสถานีสูบน้ำเสาวภาผ่องศรี และ สถานีสูบน้ำสมบูรณ์ ไปลงแม่น้ำนครนายก รวมถึงระบายน้ำลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ผ่านคลองซอยที่ 14-17 พร้อมทั้งเดินเครื่องสูบน้ำที่ปากคลองรังสิตฯ จำนวน 20 เครื่อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากทางตอนบน

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนเดือนสุดท้ายให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญยังคงเดินหน้าให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หรือจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝน หากประชาชนหรือหน่วยงานใด ต้องการความช่วยเหลือสามารถร้องขอไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ หรือโทร 1460 สายด่วนกรมชลประทาน ได้ตลอดเวลา

สถานการณ์น้ำในลำน้ำชี ลำน้ำมูล

ด้านสถานการณ์น้ำในลำน้ำชี ลำน้ำมูล อาทิ ที่จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.ชุมแพ และ อ.ภูผาม่าน กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำในแม่น้ำชี โดยการยกบานระบายน้ำที่เขื่อนชนบทและเขื่อนมหาสารคามขึ้นทุกบาน รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมประจำจุดเสี่ยงอีกจำนวน 6 จุด พร้อมเดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ประตูระบายน้ำ D8(ห้วยพระคือ) จำนวน 22 เครื่อง ที่ประตูระบายน้ำห้วยใหญ่ จำนวน 6 เครื่อง และที่ประตูระบายน้ำคลองระบาย D.9 อีกจำนวน 2 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น

ที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ กรมชลประทาน ได้ทำการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 30 เครื่อง บริเวณท้ายเขื่อนร้อยเอ็ด และติดตั้งผลักดันน้ำอีกจำนวน 10 เครื่อง บริเวณใต้สะพานค้อเหนือนางาม อ.เสลภูมิ รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำอีก 5 เครื่อง ที่ท้ายประตูระบายน้ำห้วยดางเดียว อ.ทุ่งเขาหลวง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง ที่ ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6 เครื่อง ที่ ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 17 อำเภอ กรมชลประทาน ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่บริเวณอำเภอพิบูลมังสาหาร จำนวน 130 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบบไฮโดรโฟล์ที่บริเวณหน้าแก่งสะพือ 3 เครื่อง และหาดทรายแก้วอีกจำนวน 8 เครื่อง ส่วนที่บริเวณอำเภอโขงเจียม ได้ทำการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 56 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบบไฮโดรโฟล์ อีก 4 เครื่อง เร่งระบายน้ำจากแม่น้ำมูล ลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในตัว อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ

สถานการณ์ลุ่มน้ำยม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ – เตรียมรับมือระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น

ระดับน้ำแม่น้ำยมที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565 เวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,186 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ระดับน้ำอยู่ที่ +63.97 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำที่สถานี Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองฯ และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิราม และบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่าม และโพทะเล จังหวัดพิจิตร

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แจ้ง 3 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มการระบายน้ำ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำตามริมแม่น้ำติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมถึงแจ้งเตือนผู้ประกอบกิจการในแม่น้ำ อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะ ตลอดจนแจ้งจังหวัดประสานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

ประชาชนในพื้นเสี่ยงภัยขอให้ติดตามข้อมูลปริมาณน้ำอย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ โดยสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2565 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังน้ำระดับน้ำบริเวณแม่น้ำยม เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนรู” ในช่วงวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 เกิดฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำยมที่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย

จังหวัดสุโขทัย (Y.14) วันที่ 2 ตุลาคม 2565 เมื่อเวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,186 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ +63.97 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำ ที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิรามและบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่ามและโพทะเล จังหวัดพิจิตร

2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (Gistda) กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการกองทัพไทย และกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อติดตามสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และการคาดการณ์ โดย พื้นที่ประสบภัย และการให้ความช่วยเหลือ การสร้างการรับรู้ประชาชนในทุ่งรับน้ำ จากนั้นได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และผลกระทบการยกตัวระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณจุดคันบ้านท่าข้าวโพด ต.บ้านกล้วย วัดลัดเสนาบดี (วัดเกาะ) อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท และบริเวณเกาะเทโพ จ.อุทัยธานี

3. สถานการณ์น้ำท่วม ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565 จากสถานการณ์พายุโซนร้อนกำลังแรง “โนรู (NORUJ)” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อย เคลื่อนผ่านสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง พายุเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นส่งผลให้มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและเกษตรกรรม รวม 32 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงรายพะเยา ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก และพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ภาคกลาง จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครปฐม ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และปราจีนบุรี ภาคใต้ จังหวัดพังงา

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า